Motion Graphic Production for Dangers of Diet Pills
จัดทำโดย ทิวาพร ทองสงค์;นารีรัตน เดชา และ จิราภรณ์ โคตรสมบัติ
หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อผลิตโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความ อ้วน 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน ก่อนและหลังรับชมสื่อ
โดยมีวิธีการศึกษา คือ ทําการประเมินคุณภาพของสื่อผ่านแบบประเมินคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ และด้านเสียง ด้านละ 1 ท่าน รวม ทั้งสิ้น 3 ท่าน และแบบประเมินพฤติกรรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจ ก่อนและหลังรับชมสื่อจาก กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ 15-25 ปี จํานวน 45 คน
ผลการประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน พบว่าคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลด ความอ้วน ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.75 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.28 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.75 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.28 ซึ่งอยู่ในระดับ ดีมาก ด้านเสียง อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.77 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 ซึ่งอยู่ในระดับ ดีมาก และความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังรับชมสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ 15-25 ปี จํานวน 45 คน จากการทดสอบหลังรับชมสื่อ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการทดสอบก่อนการรับชมสื่อ
คําสําคัญ: โมชั่นกราฟิก, การรู้เท่าทัน, อันตราย, ยาลดความอ้วน
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน
- เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน
- เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรู้เท่าทันอันตรายของยาลด ความอ้วน ก่อนและหลังรับชมสื่อ
ขอบเขตการศึกษา
- ขอบเขตด้านเนื้อหา
ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน โดยการค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสารและเว็บไซต์ จัดทําสตอรี่บอร์ด จัดทําสื่อโมชั่นกราฟิก ประกอบ ไปด้วย 3 ส่วน ดังหัวข้อต่อไปนี้- ส่วนนํา กล่าวถึง ค่านิยมของผู้หญิงเกี่ยวกับรูปร่างและความสวยความงาม
- ส่วนเนื้อหา กล่าวถึง การใช้ยาลดความอ้วน
- ส่วนเนื้อหา กล่าวถึง สารที่พบในยาลดความอ้วน
- ส่วนเนื้อหา กล่าวถึง ผลเสียของยาลดความอ้วน
- ส่วนสรุป กล่าวถึง คําแนะนําในการลดความอ้วนที่ถูกต้องและการเลือกใช้ยา
- ขอบเขตด้านประชากร
- ประชากรที่ใช้ในการศึกษาปริญญานิพนธ์การผลิตโมชั่นกราฟิกเพื่อการรู้เท่าทัน อันตรายของยาลดความอ้วน ได้แก่ เพศหญิง อายุตั้งแต่ 15-25 ปี
- กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาปริญญานิพนธ์ การผลิตโมชั่นกราฟิกเพื่อการรู้เท่า ทันอันตรายของยาลดความอ้วน ได้แก่ เพศหญิง อายุตั้งแต่ 15-25 ปี จํานวน 45 คน
- ขอบเขตด้านเทคนิค
โปรแกรมในการจัดทําปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตโมชั่นกราฟิกเพื่อการรู้เท่าทันอันตราย ของยาลดความอ้วน ประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้- โปรแกรมสําหรับสร้างภาพเวกเตอร์ โปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ ซีซี (Adobe Illustrator CC)
- โปรแกรมสําหรับทําการเคลื่อนไหวภาพ โปรแกรมอะโดบี อาฟเตอร์เอฟเฟ็ค ซี เอส หก (Adobe After Effect CS6)
- โปรแกรมสําหรับตัดต่องาน โปรแกรมอะโดบี พรีเมียร์โปร ซีเอสหก (Adobe Premiere Pro CS6)
นิยามศัพท์เฉพาะ
- โมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) หมายถึง งานกราฟิกที่เคลื่อนไหวได้ในรูปแบบของวิดีโอ ในที่นี้กล่าวถึง การผลิตโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน
- การรู้เท่าทัน (Literacy) หมายถึง ทักษะหรือความสามารถในการมีสติในการรับสาร
- อันตราย (Danger) หมายถึง ระดับความรุนแรงที่เป็นผลเนื่องมาจากภัยจากยาลดความอ้วน อันตรายจากภัยอาจจะมีระดับสูงหรือมากน้อยก็ได้ ขึ้นอยู่กับมาตรการในการป้องกัน
- ยาลดความอ้วน (Diet pills) หมายถึง ยาที่ใช้ลดน้ําหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติสําหรับผู้ป่วย โรคอ้วนเพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ
สรุปผลการศึกษา
จากการประเมินผลการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่างสามารถอภิปรายได้ดังนี้
- ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ
- ด้านเนื้อหา มีผลตอบรับอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก เนื้อหามีความน่าสนใจ เนื้อหามีความสอดคล้องกับสื่อ การลําดับเนื้อหาเป็นขั้นตอนมีความกระชับเข้าใจง่าย และเนื้อหาสามารถสื่อสารให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย
- ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ มีผลตอบรับอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก การตัดต่อมีความต่อเนื่อง และเหมาะสมกับสื่อ การจัดองค์ประกอบ สัดส่วนของสื่อมีความเหมาะสมสวยงาม การนําเสนอโมชั่น กราฟิกมีความน่าสนใจและคล้อยตาม และการนําเสนอโมชั่นกราฟิกมีความเหมาะสมต่อเนื้อหา
- ด้านเสียง มีผลตอบรับอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก เสียงเพลงประกอบพื้นหลังมีความเหมาะสมกับสื่อ เสียงประกอบหรือซาวด์เอฟเฟ็คมีความเหมาะสมกับสื่อ และเสียงบรรยายมีความเหมาะสมกับสื่อ
- ผลการประเมินพฤติกรรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อโมชั่นกราฟิกเพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วนก่อนและหลังรับชมสื่อ
- ผลการประเมินพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 45 คน มีผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน จํานวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 15.60 และไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน จํานวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 84.40 สรุปได้ว่า มีจํานวนผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยใช้ ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน
- ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังรับชมสื่อกับกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 45 คน มีผู้ที่ได้คะแนนมากขึ้น จํานวน 25 คน คะแนนเท่าเดิม จํานวน 17 คน และมีคะแนนน้อยลง จํานวน 3 คน
อภิปรายผลการศึกษา
การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อการรู้เท่าทันอันตรายของยาลดความอ้วน มีคุณภาพของสื่ออยู่ใน เกณฑ์ที่ดีมาก มีรูปแบบสื่อที่สามารถนําข้อมูลที่ซับซ้อนมาทําให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและสามารถให้ความรู้กับกลุ่มตัวอย่างได้มากขึ้นหลังจากการรับชมสื่อ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
- ควรเพิ่มอารมณ์ของเสียงพากย์ให้มากขึ้น
- ข้อมูลบางส่วนไม่ครบถ้วน คณะกรรมการแนะนําให้มีการเพิ่มเติมข้อมูลลงไป
- คณะกรรมการเสนอแนะให้มีการอนิเมทตัวละครเพิ่มขึ้น
- ปรับภาพกราฟิกในส่วนของภาพเม็ดยาบ้า เสมือนจริงมากกว่าเดิม