CREATION OF MOTION GRAPHIC FOR CAT THERAPY
จัดทำโดย สรวงกนก สาจีน และ ฐิตาภา ศิลปไพบูลย์
หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ปริญญานิพนธ์เรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง ศาสตร์แห่งแมวบำบัด มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อผลิตการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง ศาสตร์แห่งแมวบำบัด และประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง ศาสตร์แห่งแมวบำบัด
กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลทั่วไปที่มาใช้บริการร้าน Cat Café healthy Juice สาขารังสิต จังหวัดปทุมธานี ทุกเพศทุกวัน จานวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย สื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง ศาสตร์แห่งแมวบาบัด แบบประเมินคุณภาพสาหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และด้านเทคนิค แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากผลการศึกษาระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง ศาสตร์แห่งแมวบำบัด โดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ท่าน พบว่า คุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง ศาสตร์แห่งแมวบาบัด อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย4.51 อยู่ในระดับ ดีมาก และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 40 คน พบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.70 อยู่ในระดับ ดีมาก
คำสำคัญ: โมชั่นกราฟิก, แมวบำบัด
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด” 1.2.2 เพื่อศึกษาระดับคุณภาพที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด” สาหรับผู้เชี่ยวชาญ
- เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด” สาหรับกลุ่มตัวอย่าง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้สื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด”
- ได้ทราบถึงระดับคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด” จากผู้เชี่ยวชาญ
- ได้ทราบถึงความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด”
ขอบเขตของการวิจัย
- ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่มาใช้บริการร้าน Cat Café Healthy Juice สาขารังสิต จังหวัดปทุมธานี ทุกเพศทุกวัย - กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่มาใช้บริการร้าน Cat Café Healthy Juice สาขารังสิต จังหวัดปทุมธานี ทุกเพศทุกวัย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวนทั้งสิ้น 40 คน - ขอบเขตการศึกษา
- ขอบเขตด้านเนื้อหา การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลและประโยชน์ของการใช้แมวในการบรรเทา บำบัดรักษา และปรับสภาวะทางอารมณ์ของมนุษย์ ซึ่งในประเทศไทยยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนักโดยมีเนื้อหาจากเอกสารและเว็บไซต์ โดยสื่อจะมีความยาวโดยประมาณ 4 นาที
- นำเสนอในรูปแบบสื่อโมชั่นกราฟิก
- ด้านเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสื่อ คือเทคนิคโมชั่นกราฟิก เพราะเทคนิคโมชั่นกราฟิกนั้น มีความน่าดึงดูดต่อผู้ชม และมีลูกเล่นที่หลากหลาย ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่า สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานของสื่อได้ดี โปรแกรมในการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด” ประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้
- โปรแกรมสาหรับทาภาพเคลื่อนไหว Adobe After Effect CC 2017
- โปรแกรมสาหรับตกแต่งภาพ Adobe Photoshop CC 2017
- โปรแกรมสาหรับออกแบบภาพ Adobe Illustrator CC 2017
- โปรแกรมสาหรับใส่เสียง Adobe Audition CC 2017
- ผู้เชี่ยวชาญ
ในการประเมินผลคุณภาพของสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” โดยแบ่งผู้เชี่ยวชาญในการประเมินดังต่อไปนี้- ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา จำนวน 2 คน
- ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโมชั่นกราฟิก จำนวน 2 คน
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
- โมชั่นกราฟิก หมายถึง การสร้างภาพด้วยกราฟิกให้มีการเคลื่อนไหวได้ในหลากหลายมิตินิยมใช้กับเรื่องราวที่มีข้อมูลเยอะเข้าใจยากให้ออกมาในรูปแบบที่สนุก และเข้าใจง่ายมากขึ้น
- การบำบัด หมายถึง การรักษา การแก้ไขปัญหาสุขภาพตามการวินิจฉัยด้วยวิธีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องโดยนักบำบัดเฉพาะทาง เช่น การฝังเข็ม กายภาพบำบัด ศิลปะบำบัด การจัดกระดูก ดนตรีบำบัด ธรรมชาติบำบัด แมวบำบัด
- สัตว์สังคม หมายถึง สัตว์ที่โดยธรรมชาติแล้วต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความสัมพันธ์ อาศัยพึ่งพากัน มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วไม่สามารถอยู่ลำพังเพียงคนเดียวได้ต้องอาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่เหล่า ติดต่อสัมพันธ์กันพึ่งพาอาศัย และอยู่ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์เดียวกัน มนุษย์ได้รวมตัวกันสร้างวัฒนธรรมขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองจากด้านที่เป็นสัตว์เดรัจฉานมาเป็นด้านที่เป็นมนุษย์
- สภาวะทางอารมณ์ หมายถึง อารมณ์ของมนุษย์มีสองด้าน ด้านบวก และด้านลบ ด้านบวกเป็นต้นว่า ยิ้มแย้มแจ่มใส สนุกสนาน หัวเราะ ในทางตรงข้าม ด้านลบก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย และจิตใจ
สรุปผลคุณภาพของสื่อจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
ผลสรุปการศึกษาเรื่องการผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด” ผลการประเมินจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่าน ประกอบด้วย ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบกราฟิก ด้านเทคนิคพิเศษโมชั่นกราฟิก และ กลุ่มตัวอย่างจานวน 40 คน หลังจากได้รับชมสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด” ได้ผลสรุปในแต่ละด้านดังนี้
- ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา
จากการประเมินคุณภาพของสื่อการศึกษาเรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” ในด้านเนื้อหา พบว่า เนื้อหาโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70 เมื่อประเมินเป็นรายด้านพบว่า ด้านความสมบูรณ์ของวัตถุประสงค์ และด้านความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์อยู่ในระดับคุณภาพที่เท่ากัน คือ อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.83 จึงสรุปได้ว่า เนื้อหามีความเหมาะสมดี ความสมบูรณ์ และความสอดคล้องของเนื้อหาเข้ากับวัตถุประสงค์ได้ดี - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการนำเสนอข้อมูล
จากการประเมินคุณภาพของสื่อการศึกษาเรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” ในด้านการนำเสนอข้อมูล พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 เมื่อประเมินเป็นรายด้านพบว่า ด้านลำดับขั้นตอนในการนำเสนอเนื้อหา อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 จึงสรุปได้ว่า สามารถนำเสนอข้อมูลให้คนดูเข้าใจได้โดยง่าย และลำดับขั้นตอนในการนำเสนอเนื้อหาได้ดี - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการสื่อความหมาย และคุณประโยชน์ของสื่อโมชั่นกราฟิก
จากการประเมินคุณภาพของสื่อการศึกษาเรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด” ในด้านการสื่อความหมาย และคุณประโยชน์ของสื่อโมชั่นกราฟิก พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมแล้วอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.8 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 เมื่อประเมินเป็นรายด้านพบว่า ด้านเนื้อหาในสื่อทำให้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของแมวมากขึ้นอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.5 จึงสรุปได้ว่า สื่อสามารถทำให้ผู้ชมตระหนักถึงคุณประโยชน์ของแมวมากขึ้น และสื่อยังมีประโยชน์ให้ความรู้แก่ผู้ชมอีกด้วย - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านภาพประกอบ
จากการประเมินคุณภาพของสื่อการศึกษาเรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” ในด้านภาพประกอบ พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 เมื่อประเมินเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดองค์ประกอบกราฟิกมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 จึงสรุปได้ว่า ภาพกราฟิกสื่อความหมายได้ดี และการจัดองค์ประกอบมีความเหมาะสมสวยงาม - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านสีที่ใช้ในการออกแบบ
จากการประเมินคุณภาพของสื่อการศึกษาเรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” ในด้านสีที่ใช้ในการออกแบบ พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 เมื่อประเมินเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมของสีที่ใช้ในภาพประกอบอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42 จึงสรุปได้ว่า การเลือกใช้สีในงานโมชั่นกราฟิกอยู่ในระดับที่ ดีมาก - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการใช้ตัวอักษร
จากการประเมินคุณภาพของสื่อการศึกษาเรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” ในด้านการใช้ตัวอักษร พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.7 เมื่อประเมินเป็นรายด้านพบว่า ด้านความถูกต้องของตัวอักษร และด้านขนาดของตัวอักษรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับคุณภาพที่เท่ากัน คืออยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.83 จึงสรุปได้ว่า การใช้ตัวอักษรในงานสื่อโมชั่นกราฟิกมีความเหมาะสม และถูกต้องมีขนาดตัวอักษรที่เหมาะสมกับภาพประกอบได้ดี - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านภาพเคลื่อนไหว
จากการประเมินคุณภาพของสื่อการศึกษาเรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” ในด้านภาพเคลื่อนไหว พบว่า เฉลี่ยโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 เมื่อประเมินเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเชื่อมโยงของแต่ละฉากมีความเหมาะสมกันอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 จึงสรุปได้ว่า การเคลื่อนไหวของภาพมีความเชื่อมโยงกัน และการลำดับภาพเคลื่อนไหวมีความต่อเนื่องกัน - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเสียงประกอบสื่อ
จากการประเมินคุณภาพของสื่อการศึกษาเรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” ในด้านเสียงประกอบสื่อ พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.8 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 เมื่อประเมินเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมของเสียงบรรยายอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.5 จึงสรุปได้ว่า เสียงเอฟเฟคมีความสมจริง เสียงดนตรีมีความชัดเจนเหมาะสมกับสื่อ - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการตัดต่อ
จากการประเมินคุณภาพของสื่อการศึกษาเรื่อง การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” ในด้านการตัดต่อ พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 เมื่อประเมินเป็นรายด้านพบว่า ด้านการตัดต่อภาพมีความต่อเนื่องความเหมาะสมอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.5 จึงสรุปได้ว่า การตัดต่อภาพมีความคมชัด และตัดต่อภาพได้ต่อเนื่องกัน
สรุปผลความคิดเห็นที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง
จากการประเมินพึงพอใจที่มีต่อสื่อ การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบำบัด” จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 40 คนพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีอายุระหว่าง 25-30 ปี
- ด้านเนื้อหาข้อมูล พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 จึงสรุปได้ว่า สื่อมีเนื้อหาและข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้วเข้าใจง่าน
- ด้านการออกแบบกราฟิก พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 จึงสรุปได้ว่า ภาพสามารถสื่อความหมายให้ผู้รับชมเข้าใจได้โดยง่าย และมีความสวยงามเหมาะสม
- ด้านการนำเสนอสื่อ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานท่ากับ 0.54 จึงสรุปได้ว่า ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวสามารถสื่ออกมาให้ผู้รับชมเข้าใจได้โดยง่าย
ปัญหาและอุปสรรค
การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด” ตลอดจนการประเมินคุณภาพ จากผู้เชี่ยวชาญและประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างได้พบปัญหาและอุปสรรคดังนี้
- ในการทำสื่อแต่ละขั้นตอนมีการใช้เวลาในการทำงานค่อนข้างมาก จึงทำให้สื่อโมชั่นกราฟิกภาพออกมาไม่ละเอียดมากนัก
- เสียงสามารถปรับให้มีความคมชัดและสม่ำเสมอได้มากกว่านี้
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่าง
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบกราฟิก
ด้านการออกแบบกราฟิกควรเพิ่มในส่วนของพื้นหลัง ให้ดูน่าสนใจมากขึ้น หรือเพิ่มคาเรคเตอร์ของคนและแมวให้ดูน่าสนใจมากขึ้น และในส่วนของตัวหนังสือที่เป็นซับไทเทิล ควรทำให้อ่านง่ายขึ้น ในบางจุดตัวหนังสือจมไปกับพื้นหลังทำให้อ่านยาก - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเนื้อหาข้อมูล
พื้นหลังของเนื้อหาที่เป็นซับ ควรมีความชัดเจนกว่านี้ และมีบางจุดที่ตัวหนังสือยังตกหล่นและสะกดคาผิด เช่น ร้อยล่ะ ควรเป็น ร้อยละ
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบกราฟิก
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเนื้อหาข้อมูล
ตัวอักษรอ่านยากจมไปกับสีพื้นหลัง ควรทาแถบข้อความเพื่อเน้นให้อ่านง่ายมากยิ่งขึ้น - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านโมชั่นกราฟิก
รูปแบบการนาเสนอช้าเกินไป ในบาง shot รูปภาพและหลักการเคลื่อนไหวยังไม่ละเอียดมากนัก
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเนื้อหาข้อมูล
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้วิจัย
- ควรสร้างคาแร็คเตอร์ตัวละครให้เข้ากันมากกว่านี้
- การผลิตสื่อ มีข้อจากัดด้านเทคนิคการเคลื่อนไหวในบางช่วง ผู้วิจัยควรศึกษาหาความรู้ด้านเทคนิคเพิ่มเติมในเรื่องของโปรแกรมที่ใช้ผลิตสื่อเพื่อปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น
- ควรเรียนรู้โปรแกรมปรับแต่งเสียง เพื่อควบคุมเสียงให้ดียิ่งขึ้น
- ควรใส่กล่องข้อความ footer ให้มีสีตัดกับตัวอักษรเพื่อให้อ่านซับง่ายยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
การผลิตสื่อโมชั่นกราฟิก เรื่อง “ศาสตร์แห่งแมวบาบัด” ได้ข้อเสนอเพิ่มเติมจากคณะกรรมการในสอบปริญญานิพนธ์ในการปรับปรุงให้มีคุณภาพมากขึ้นซึ่งข้อเสนอแนะมีดังต่อไปนี้
- ตัวหนังสือกลืนกับสีพื้นหลังทาให้ในบางช่วงมองไม่เห็นตัวหนังสือ
- การเคลื่อนไหวของสื่อช้าเกินไป
- ควรสร้างคาแร็คเตอร์ตัวละครให้เข้ากันมากกว่านี้
- ควรปรับเสียงให้มีความคมชัดขึ้น และเพิ่มเสียงเอฟเฟคในช่วงแรก