Effects of Quality of Work Life and Meaningfulness of Work on Job Burnout Among Employees of The National Broadcasting and Telecommunications Commission
โดย มนตรี ตรีอาภรณ์ไพศาล
ปี 2563
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้คุณค่าของงานที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงาน สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานระดับปฏิบัติการของสำนักงาน กสทช. จำนวน 283 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test แบบ Independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น
ผลการศึกษา พบว่า พนักงานที่มีสถานภาพสมรสและระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีความเหนื่อยหน่ายในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านสังคมสัมพันธ์และการรับรู้คุณค่าของงานด้านความศรัทธาในงานที่ทำมีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านสังคมสัมพันธ์และการรับรู้คุณค่าของงานด้านความศรัทธาในงานที่ทำสามารถพยากรณ์ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานโดยรวมของพนักงานระดับปฏิบัติการของสำนักงาน กสทช. ได้ร้อยละ 18
Abstract
This independent study aimed to examine the influence of different personal factors on job burnout and to investigate the relationship between quality of work life (QWL) and meaningfulness of work with the incidence of job burnout experienced by employees of the National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC).
The sample group used in this study comprised 283 NBTC employees. The instrument used to collect data was a questionnaire. Statistical methods used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, one-way ANOVA, Pearson Correlation Coefficient, and Multiple Linear Regression.
The study results showed that variations in employees’ marital status and length of service had differences in job burnout at a statistically significant level of 0.05. QWL in the human relations dimension and meaningfulness of work measured as personal faith in the work performed affected employee job burnout at a statistically significant level of 0.05. Furthermore, it was found that QWL in the human relations dimension and meaningfulness of work measured as personal faith in the work performed can predict an overall job burnout rate of 18 Percent for NBTC employees.