Perception of the Compensatory Benefits of the Insured Employees of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย ชวลิต กนกพาณิชย์สกุล และ เกษรินทร์ เรืองวารี
ปี 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้สิทธิประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนของพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 2) เปรียบเทียบการรับรู้สิทธิประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนของพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจำแนกตามประสบการณ์การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน ประเภทพนักงาน และระยะเวลาการเป็นผู้ประกันตน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานที่สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 338 คน วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการรับรู้สิทธิประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนของพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยใช้การทดสอบ Independent sample t-test และ One-way ANOVA และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของ LSD
ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้สิทธิประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนของพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตาย และ 2) การเปรียบเทียบการรับรู้สิทธิประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนของพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามประสบการณ์การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน ประเภทพนักงาน และระยะเวลาการเป็นผู้ประกันตน พบว่า ประสบการณ์การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทนและประเภทพนักงานที่แตกต่างกัน มีการรับรู้สิทธิประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระยะเวลาการเป็นผู้ประกันตนที่แตกต่างกัน มีการรับรู้สิทธิประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนไม่แตกต่างกัน
Abstract
This research aimed to 1) investigate the perception of the compensatory benefits of the insured employees of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 2) compare the perception of the compensatory benefits of the insured employees classified by the experience of compensatory benefits, employee category, and period of being insured employee.
The sample consisted of 338 employees of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi, derived from the stratified random sampling. The instrument for data collection was a questionnaire. To analyze the data, the researcher conducted the statistics consisting of frequency, percentage, mean, and standard deviation. The researcher analyzed to compare the difference in perception level of the compensatory benefits of the insured employees of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi by the independent sample t-test, one-way ANOVA, and Least Significant Difference (LSD).
The results revealed that 1) the perception of the compensatory benefits of the insured employees of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi showed a high level in an overview. In particular viewpoint, the compensatory benefits in case of illness or injury had the highest average. The second-highest average was an unemployment benefit. Meanwhile, the lowest average was the death benefit. 2) The findings showed that the difference in the experience of compensatory benefits and employee category resulted in the different perception of compensatory benefits of the insured employee, statistically significant at the 0.05 level. The different duration of being an insured employee affected no difference of perception of the compensatory benefits of the insured employee.
Download :การรับรู้สิทธิประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี