Comparison of Analytical Method for Vitamin C (Ascorbic acid) in Fruits and Vegetables Juices by Titration and Spectrophotometry Method

โดย กนิษฐา   สุขเกิด

ปี 2561


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีวิเคราะห์ปริมาณวิตามินซีในน้ำผักและผลไม้โดยใช้เทคนิคการไทเทรต และเทคนิคสเปกโตรโฟโตเมตรี ทำการเลือกตัวอย่างน้ำผักและผลไม้สดที่พบในประเทศไทย 30 ชนิด ผลการทดลองพบว่าปริมาณวิตามินซีในน้ำผักและผลไม้จากการวิเคราะห์เทคนิคการไทเทรตสูงที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ (30) มะนาว (24.84 ± 0.14 mg / 100 ml) (29) มะกรูด (17.28 ± 0.14 mg / 100 ml) (25) มะนาวโห่ (16.44 ± 0.05 mg / 100 ml) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ปริมาณวิตามินซีในน้ำผักและผลไม้โดยใช้เทคนิคสเปกโตรโฟโตรเมตรี สูงที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่(30) มะนาว (22.23 ± 0.06 mg / 100 ml) (25) มะนาวโห่ (20.62± 0.35 mg /100 ml) (29) มะกรูด (20.32± 0.03 mg / 100 ml) ตามลำดับ หากเปรียบเทียบผลการทดลองแต่ละชนิดพบว่าปริมาณวิตามินซีในน้ำผักและผลไม้ส่วนใหญ่ที่วิเคราะห์เทคนิคเปกโตรโฟโตรเมตรีมีค่าสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคไทเทรตในน้ำผักและผลไม้ชนิดที่ 1-29 ขณะที่ (30) มะนาวมีค่าปริมาณวิตามินซีสูงกว่าเมื่อวิเคราะห์โดยเทคนิคไทเทรตผลการวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าปริมาณวิตามินซีที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการไทเทรต และเทคนิคสเปกโตรโฟโตรเมตรีมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ยกเว้น (4) ส้มเขียวหวานสีทอง (18) เสาวรสสีม่วงและ (20) มะม่วงน้ำดอกไม้มันมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


Abstract

The objective of this study was to compare the methods of analyzing vitamin C content in fruit and vegetable juices using titration and spectrophotometry techniques. 30 fruits and vegetables in Thailand were selected for vitamin C analysis. The results showed that the highest content of vitamin C in fruit and vegetable juices analyzed by titration was (30) lime (24.84 ± 0.14 mg / 100 ml), (29) kaffir lime (17.28 ± 0.14 mg / 100 ml), and (25) bengal currant (16.4 4± 0.05 mg / 100 ml), respectively. According to the results of vitamin C analysis using spectrophotometry showed the highest vitamin C content in fruit and vegetable juices; lime (30) had the highest of vitamin C content (22.23 ± 0.06 mg / 100 ml) followed by (25) bengal currant (20.62 ± 0.35 mg /100 ml) and (29) kaffir lime (20.32 ± 0.03 mg / 100 ml), Comparing the results of individual experiments, it was found that the vitamin C content in most fruit and vegetable juices analyzed by the spectrophotometry technique was higher compared to the titration technique in fruit and vegetable juices type 1-29, while (30) lemons had higher vitamin C content when analyzed by titration technique. Most results show that the amount of vitamin C obtained by titration and spectrophotometry analysis was statistically significantly different. (p≤0.05) Except for (4) oranges, (18) passion fruit and (20) mango, it had no statistically significant difference


DownloadComparison of Analytical Method for Vitamin C (Ascorbic acid) in Fruits and Vegetables Juices by Titration and Spectrophotometry Method