Increasing Productivity in the Insulation Pipes Production Process by Six Sigma Technique

โดย ศตวรรษ รื่นเริง

ปี 2565


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิตท่อฉนวนกันความร้อนโดยประยุกต์ใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่าจากข้อมูลในอดีตพบว่าในรุ่น 33.4 mm (1″ IPS) ID x 25 mm wall x 2 m มีค่าเฉลี่ยร้อยละผลผลิตเท่ากับ 58.08 ของจำนวนสั่งผลิตของเดือนธันวาคม 2564 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งเป้าหมายผลผลิตในกระบวนการไม่น้อยกว่าร้อยละผลผลิต 80.00 พบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาของเสียช่องว่างระหว่างชั้นโฟม

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานวิจัยด้วยเทคนิคซิกซ์ ซิกม่า ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน โดยเริ่มจากการระบุปัญหาและหาสาเหตุของเสียช่องว่างระหว่างชั้นโฟม จากนั้นวิเคราะห์ระบบการวัดและความสามารถของกระบวนการ รวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เมื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงแล้วจึงทำการปรับปรุงโดยใช้การระดมสมองในกระบวนการผลิต ปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่จากนั้นทำการควบคุมกระบวนการให้สามารถดำรงไว้ซึ่งผลของการปรับปรุง

จากข้อมูลก่อนการปรับปรุงปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตคิดค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 41.92 หลังจากการปรับปรุงลดปัญหาของเสียที่ลักษณะช่องว่างระหว่างชั้นโฟม ปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตคิดค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 18.34 ผลการปรับปรุงเพิ่มผลผลิตในกระบวนการคิดค่าเฉลี่ยร้อยละผลผลิตเท่ากับ 81.66 ของจำนวนสั่งผลิตของเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกรกฎาคม 2565ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวคิดในปรับปรุงแก้ไขปัญหากับรุ่นอื่น ๆ ได้เพื่อช่วยลดของเสียที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการผลิต


Abstract

The study aims to increase productivity in insulation pipes production process by applying six sigma technique. According to the historical data, the average yield percentage of the product model of 33.4 mm (1″ IPS) ID x 25 mm wall x 2 m, was at 58.08 of manufacturing order quantity from December 2021 to February 2022, while the target percentage of yield was not less than 80. 00. It was found that most problems came from defects of delaminating gap between foam layers.

The research procedures and method were implemented by the six sigma technique consisting of five steps. Identifying causes and problems of delaminate defects in the manufacturing process was the first step, following analyzing the measurement system and the process capability, as well as root causes of problems. The root cause was identified and improved by brainstorming for the manufacturing process and the process improvement. The process was controlled for maintaining the results of the improved process.

The average percentage of defected process before the improvement was at 41. 92. After the improvement, the average percentage of defects in the reduced delaminating process was at 18.34. The results showed that after increasing productivity in the insulation pipes process, the average percentage of yield was at 81. 66 of the manufacturing order quantity from May to July 2022. The results can be used as a guideline to improve and solve any problems with other models in order to reduce defects within manufacturing processes.


Download : Increasing Productivity in the Insulation Pipes Production Process by Six Sigma Technique