The Participative Administration Of School Administrators Under The Secondary Education Service Area Office Pathum Thani
โดย วลัยลักษณ์ โคสุวรรณ
ปี 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 322 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้เหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ (1) การทำให้ครูเป็นผู้นำตนเองบริหารโรงเรียน มีพฤติกรรมการบริหารในการกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางที่เหมาะสม (2) การแสดงเป็นแบบฉบับให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในการที่จะส่งเสริมบุคลากรให้นำไปเป็นแบบฉบับในการปฏิบัติงาน (3) การกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนมีการบริหารในการกระตุ้น สนับสนุน ส่งเสริม และช่วยเหลือให้บุคลากรในหน่วยงานเกิดความตระหนักต่อเป้าหมายของโรงเรียน (4) การสร้างรูปแบบความคิดทางบวก ผู้บริหารมีการส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะ มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล (5) การอำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเอง ผู้บริหารมีการสนับสนุนให้คำปรึกษา สร้างความสัมพันธ์ที่ดี (6) การสนับสนุนให้เกิดผู้นำตนเอง โดยการสร้างทีมงาน ผู้บริหารสร้างสรรค์ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในบรรดาผู้ปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองและทีมงาน ให้คำแนะนำและปรึกษาหารือ (7) การอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเองผู้บริหารมีพฤติกรรมของผู้บริหารที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรในด้านต่าง ๆ
Abstract
This research aimed to: 1) investigate super leadership, and 2) propose a practical approach to super-leadership development of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Pathum Thani.
The research samples consisted of 322 teachers under the Secondary Educational Service Area Office Pathum Thani. The key informants in an interview included five school administrators from the Secondary Educational Service Area Office Pathum Thani. The research instruments were a questionnaire and an interview form. The data were analyzed using frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.
The findings were as follows: 1) the overall school administrators’ super leadership was at the high level. 2) The proposed approach to super- leadership development of school administrators included the following: (1) regarding self- leadership, school administrators should encourage teachers to exercise self- leadership and adjust their administrative behavior in school administration appropriately. (2) In terms of a role model of self-leadership, school administrators should serve as a role model of self-leadership for the personnel and encourage them to apply the model in their work. (3) With respect to self-set goals, school administrators should encourage and assist the personnel to realize their schools’ goals. (4) As regards a positive mindset, school administrators should encourage positive work attitudes and a rational approach to problem solving. (5) In terms of facilitation of selfleadership development, school administrators should mentor the personnel supportively and build rapport. (6) Regarding encouragement of self-leadership through team building, school administrators should foster cooperation among the personnel, encourage them to develop themselves and their teams, and provide advice and consultation. (7) In regard to promotion of self-leadership culture, school administrators should exhibit executive behaviors that assist the personnel in various aspects.
Download : ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี