Marketing Factor Affecting to Consumer Buying ’s Decision, Royal Thai Air Force Base Exchange, Don Muang
โดย ขนิษฐา เสมอภักดิ์
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่อการใช้บริการร้านสวัสดิการทหารอากาศ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้บริการร้านสวัสดิการทหารอากาศ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ด้านปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านสวัสดิการทหารอากาศ ดอนเมือง ประชากรเป้าหมายคือผู้ใช้บริการร้านสวัสดิการทหารอากาศดอนเมือง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความสะดวก (Convenience Sampling)โดยมีขนาดตัวอย่าง 400 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด การทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t-test) กลับกลุ่มตัวอย่างที่มี2 กลุ่ม ใช้การทดสอบค่า (F-test) กลับกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่ม การทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่าง LSD (Least Significant Difference) และใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน(Pearson Chi-Square)
ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เพศหญิงอายุ 25-34 ปีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน5,001-15,000 บาท สมาชิกในครอบครัว 3-4 คน ประเภทสินค้าที่ซื้อ คือ อาหารสด ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ในระดับมาก ได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการจัดจำหน่ายด้านราคา ด้านบุคลากรหรือพนักงาน ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในระดับค่อนข้างมากได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านการส่งเสริมการตลาดพฤติกรรรมการใช้บริการของผู้บริโภค ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ซื้อสินค้าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 500 บาทต่อครั้งความถี่ในการซื้อสินค้า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้บริการไม่เกิน 1 ชั่วโมง ช่วงระหว่างเวลา 15.01-17.00 น.ใช้บริการวันจันทร์- วันศุกร์ เหตุผลที่มาซื้อสินค้าเพราะราคาถูก การทดสอบสมมติฐานข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลกับปัจจัยทางการตลาด พบว่า อายุ สถานภาพ อาชีพ ของผู้ใช้บริการไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางการตลาด รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางการตลาดด้านราคาระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่าย บุคลากรหรือพนักงาน และลักษณะทางกายภาพ
ผลการทดสอบความสัมพันธ์ ระหว่าง ปัจจัยทางการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ซื้อ พบว่า ปัจจัยทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่าย บุคลากรหรือพนักงาน ลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการให้บริการ มีความสัมพันธ์ กับสาเหตุการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ปัจจัยทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับวันที่ใช้บริการ และปัจจัยทางการตลาดทุกด้านไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนเงินที่ซื้อหรือใช้บริการ ความถี่ในการใช้บริการ เวลาในการใช้บริการ วันที่ใช้บริการ และการเดินทางมาใช้บริการ