Factors Affecting the Acceptance of Enterprise Resource Planning Systems: A Case Study of Royal Thai Mint.
โดย ประวัติ เมืองมา และสุภาพร ทินประภา
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล และโมดูลในระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนทรัพยากรขององค์กรที่ผลิตโดย SAP หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ERP-SAP ที่มีผลต่อการยอมรับระบบ และ ระดับการยอมรับระบบ ERP-SAP ในองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานในส านักกษาปณ์ที่ใช้งานระบบ ERP-SAP จ านวน 120 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของตัวแปร 1 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแตกต่างทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธี Least Significant Difference (LSD)
ผลการศึกษาพบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 40-49 ปี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุงาน 11-15 ปี ท างานในหน่วยงานกลุ่มงานผลิต ต าแหน่งลูกจ้างประจ าและใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกวัน โมดูลในระบบ SAP-ERP ที่ใช้งานในส านักกษาปณ์ส่วนใหญ่ใช้ โมดูลระบบงานการผลิตและการบริการ
ผลการวิเคราะห์พบว่า อายุงาน หน่วยงาน และต าแหน่งที่แตกต่างกัน มีระดับการยอมรับ SAP-ERP แตกต่างกันในทุกด้าน ส่วนอายุที่แตกต่างกันมีระดับการยอมรับ SAP-ERP แตกต่างกันเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านความซับซ้อน ส่วนเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นมีผลต่อระดับการยอมรับระบบ SAP-ERP ไม่แตกต่างกัน การใช้งานโมดูลในระบบ SAP-ERP ที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการยอมรับระบบ SAP-ERP แตกต่างกันในด้านการเข้ากันได้ดีกับสิ่งที่มีอยู่เดิม และด้านความซับซ้อนโดยผู้ใช้ระบบงานงบประมาณ ระบบงานบัญชี และการเงิน จะมีระดับการยอมรับระบบ SAP-ERP มากกว่าผู้ใช้ระบบงานอื่นๆ ส่วนระดับการยอมรับระบบ SAP-ERP มีการยอมรับในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย
This study aimed to explore demographic factors and SAP Enterprise Resource Planning Systems (SAP-ERP) modules that affected the acceptance of SAP-ERP in the organization and the acceptance level of SAP-ERP implementation. The sample group in this study was 120 employees who used SAP-ERP at the Bureau of Royal Thai Mint. Data were collected by questionnaires and were statistically analyzed by percentage, mean, standard deviation, one-sample t-test, Independent t-test, one way ANOVA and least significant difference (LSD).
The results found that most of the users were female, 40-49 years old, Bachelor’s degree, 11-15 years of employment period, and work in the Production department, permanent employed status, and used computer daily. Production and Service modules were the most used of the SAP-ERP modules at the Bureau of Royal Thai Mint.
The analysis results found that the differences in employment period, working department, and position had difference in acceptance level of SAP-ERP in all aspects. The differences in ages had difference in acceptance level of SAP-ERP in all aspects except in the aspect of complication. The differences in gender, educational level, and computer usage experience had no difference in acceptance level of SAP-ERP. The differences in the usage of SAP-ERP modules had differences affecting the acceptance level of SAP-ERP in the aspects of the complication and the compatibility with the existing system. The users who used budgeting, accounting and financial modules had higher acceptance levels than those who used the other modules. The overall acceptance level of SAP-ERP was in the low level.
DOWNLOAD : ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนทรัพยากรขององค์กร : กรณีศึกษา สานักกษาปณ์