Development of Thermal Insulation Property of Autoclaved Aerated Lightweight Concrete Elements by Using Natural Rubber

โดย  ประชุม คำพุฒ, สมหมาย ผิวสะอาด, เผ่าพงศ์ นิจจันทร์พันธ์ศรี,ฉันท์ทิพ คำนวณทิพย์, เศกสรรค์ ชูทับทิม, มงคล นามลักษณ์, สนธยา ทองอรุณศรี, เลิศลักษณ์ วุฒิสุวรรณ, วิสุทธิ์ สีนวล, สุโรจน์ ศรีสินหอม

ปี      2550

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการผสมน้ำยางธรรมชาติลงในคอนกรีตมวลเบาแบบฟองอากาศ-อบไอน้ำ เพื่อปรับปรุงสมบัติด้านการเป็นฉนวนกันความร้อน โดยมีอัตราส่วนผสม คือ ปูนซีเมนต์: ทราย: ยิปซัม: สารลดแรงตึงผิว: ปูนขาว: ผงอลูมิเนียม เท่ากับ 1: 1:0.05: 0.04: 0.05: 0.03 อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 และอัตราส่วนน้ำยางพาราต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0.00, 0.10, 0.15, 0.20 และ 0.25 ผลการทดสอบพบว่า การผสมน้ำยางพาราลงในคอนกรีตมวลเบาสามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทั้งทางกายภาพและทางกลให้ดีขึ้น ได้แก่ การช่วยลดค่าความหนาแน่น, ค่าอัตราการดูดซึมน้ำ และค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน ตลอดจนช่วยเพิ่มสมบัติด้านกำลังอัด และกำลังตัดได้ (เมือใส่ในปริมาณที่เหมาะสม) โดยอัตราส่วนน้ำยางพาราต่อปูนซีเมนต์ที่เหมาะสมที่สุดในการผสมลงในคอนกรีตมวลเบา คือ 0.10 ซึ่งมีความหนาแน่น 1.52 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีอัตราการดูดกลืนน้ำ ร้อยละ 7.98 ค่ากำลังอัด 115.64 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ค่ากำลังดัดด้านแบน 31.23 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ค่ากำลังดัดด้านตั้ง 72.35 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ค่าการเปลี่ยนแปลงความยาว ร้อยละ 0.180 และค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน 0.175 วัตต์/เมตร.เคลวิน โดยคอนกรีตมวลเบาดังกล่าวสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกับคอนกรีตมวลเบาทั้วไป แต่จะมีสมบัติทางกายภาพและทางกลที่ดีกว่า

DOWNLOAD : Development of Thermal Insulation Property of Autoclaved Aerated Lightweight Concrete Elements by Using Natural Rubber