The Study of Citric Acid Production from By-Product of Glucose Industry
โดย เด่นนภา ริดขจร, อารีรัตน์ เข็มตรง และเอมอร ไชยวงษ์
ปิ 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการปรับปรุงการผลิตกรดซิตริกด้วยการหมักแบบกะในระดับฟลาสก์ โดยใช้เชื้อรา Aspergillus niger TISTR 3254 ซึ่งใช้ระยะเวลาในการหมัก 7 วัน ผลการทดลอง พบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตกรดซิตริก คือ การเพาะเลี้ยงในน้ำย่อยแป้งที่ 20 องศาบริกซ์ เชื้อเริ่มต้น5 เปอร์เซ็นต์ อัตราการเขย่า 200 รอบต่อนาที ความเข้มข้นของอาหารพื้นฐาน 0.1 เท่า โตได้ความเข้มข้นของกรดซิตริกเท่ากับ 7.67 กรัมต่อลิตร ให้ผลได้ 0.15 และอัตราการผลิตเท่ากับ 1.53 กรัมต่อลิตรต่อวัน จากนั้นนำสภาวะดังกล่าวไปทำการเพาะเลี้ยงแบบคอลัมน์ฟอง โดยแปรผันอัตราการให้อากาศที่ 1.5 และ 3.0 ลิตรอากาศต่อลิตรอาหารต่อนาที (vvm) พบว่าได้ความเข้มข้นของกรดซิตริก 3.18 และ 3.39 กรัมต่อลิตร อัตราการผลิต 0.795 และ 0.84 กรัมต่อลิตรต่อวัน ในขณะที่อัตราการให้อากาศ 3.0 ลิตรอากาศต่อลิตรอาหารต่อนาที (vvm) ให้ผลได้ของกรดซิตริกเท่ากับ 0.19 ซึ่งสูงกว่าที่อัตราการให้อากาศ 1.5 ลิตรอากาศต่อลิตรอาหารต่อนาที (vvm) ประมาณ 2.4 เท่า
Batch production of citric acid from by-product obtained from glucose industry by Aspergillus niger TISTR 3254 in shake flasks was studied. The optimum conditions for 7-day batch citric acid production 20 0Brix, 5% inculum size, 200 rpm agitation speed and 0.1 volume of supplemented nutrient solotion. citric acid concentration, yield and productivity obtained from this condition were 7.67 gl-1, 0.15 and 1.53 gl-1.day-1, respectively. The optimum condition obtained from shake flask experiment was subsequently employed in bubble column reactor with aeration rate varied from 1.5 to 3.0 vvm. It was found that aeration rate at 1.5 and 3.0 vvm. Gave citric acid concentrations and productivity of 3.18 and 3.39 gl-1 and 0.795 and 0.84 gl-1.day-1, respectively. Interestingly, aeration rate at 3.0 vvm. Could give higher citric acid yield than aeration rate at 1.5 vvm. About 2.4 time.
DOWNLOAD : การศึกษากระบวนการผลิตกรดซิตริกจากผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมการผลิตกลูโคส