Study on Optimum Conditions for Tissue Culture of Night Blooming Jasmine (Nyctanthes arbortristis Linn.) and Evaluation of Antibacterial Properties of Night Blooming Jasmine Crude Extract
โดย กันยารัตน์ ศึกษากิจ, มะลิวรรณ ปริเตสัง และยุทธชัย เพชรรัตน์ไพศาล
ปี 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
จากการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของกรรณิการ์ โดยนำชิ้นส่วนตาข้างของกรรณิการ์
ไปฟอกฆ่าเชื้อในสารละลายคลอร็อกซ์ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาในการฟอกฆ่าเชื้อต่างกันพบว่าวิธีการฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสมที่สุดคือ การฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายคลอร็อกซ์ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 30 นาที ตามด้วยสารละลายคลอร็อกซ์ 15 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 25 นาที ทำให้ปราศจากเชื้อโรคได้สูงสุดเท่ากับ 80 เปอร์เซ็นต์ และรอดชีวิตสูงสุดเท่ากับ 80 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาผลของฮอร์โมน 2,4-D และน้ำตาลที่มีต่อการชักนำให้เกิดแคลลัส พบว่าตาข้างของกรรณิการ์
ที่เพาะเลี้ยงในอาหารแข็งสูตร MS ที่เติม 2,4-D 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และน้ำตาล 40 กรัมต่อลิตร สามารถทำให้เกิดแคลลัสได้สูงสุดเท่ากับ 80 เปอร์เซ็นต์ จากการนำสารสกัดหยาบจากส่วนต่างๆ ของกรรณิการ์ 4 แหล่ง ได้แก่ แคลลัส ลำต้น ใบจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และใบจากธรรมชาติ
ไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค 4 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Bacillus subtilis และ Staphylococcus aureus พบว่าสารสกัดหยาบที่ได้จากกรรณิการ์ทั้ง 4 แหล่ง สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิดได้ โดยสารสกัดหยาบจากแคลลัสสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ใบ ลำต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และใบจากธรรมชาติ ตามลำดับ
Tissue culture of Nyctanthes arbortristis Linn. was carried out using axillary buds bleached in various Chlorox concentration for various periods of time. It was found that sterilization by bleaching in 20% Chlorox for 30 min was the most effective followed by 15% Chlorox for 25 min which resulted in 80% sterilization and 80% survival rate. Subsequently, the effect of 2,4-D hormone and sugar concentrations on callus induction was studied. The results showed that the highest of 80% callus development obtained when axillary buds of Nyctanthes arbortristis Linn. were grown in MS medium supplemented with 1.5 mg/L 2,4-D and 40 g/L sugar. Crude extracts obtained from callus, stem leaf of cultured Nyctanthes arbortristis Linn. and leaf taken from plant were tested for antibacterial activity. Four pathogenic bacteria namely Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Bacillus subtilis and Staphylococcus aureus were used in this study. All of tests, the results revealed that callus extract had the highest antibacterial activity followed by leaf extract, stem extract of tissue cultured and natural leaf extract respectively.