Decisions to Buy Products in Discount Stores of the Consumers in Bangkok Metropolitan Area

โดย วนิดา นามโคตร

ปี     2549

บทคัดย่อ (Abstract)

          การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าในดีสเคาน์สโตร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าของผู้บริโภค และเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด โดยผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง จากผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่ซื้อสินค้าในดีสเคาน์สโตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด การทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t-test)กับกลุ่มตัวอย่างที่มี 2 กลุ่ม ใช้การทดสอบค่า (F-test) กับกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่ม และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
          ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 25-34 ปีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ด้านพฤติกรรมการซื้อสินค้า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าที่บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ เป็นประจำ และจ่ายชำระค่าสินค้าด้วยเงินสด เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกของห้างดีสเคาน์สโตร์ สาเหตุที่ซื้อสินค้าในดีสเคาน์สโตร์เพราะใกล้บ้าน/เดินทางสะดวกปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในดีสเคาน์สโตร์ ด้านสถานที่/การจัดจำหน่ายด้านผลิตภัณฑ์ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา ด้านกระบวนการบริการ ด้านการส่งเสริมการตลาดผู้บริโภคมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมาก และด้านพนักงาน/บุคลากร ผู้บริโภคมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยปานกลาง ส่วนปัจจัยทางสังคมผู้บริโภคมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยปานกลางและด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าในดีสเคาน์สโตร์ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า 1,000 บาทต่อครั้ง มีความถี่ในการซื้อสินค้า 2 ครั้งต่อเดือน ใช้ระยะเวลาในการซื้อสินค้า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศต่างกันมีการตัดสินใจซื้อสินค้า ด้านค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซื้อสินค้าต่อครั้ง ด้านความถี่ที่ใช้ในการซื้อสินค้าต่อเดือน และด้านระยะเวลาที่ใช้ในการซื้อสินค้าต่อครั้ง ไม่แตกต่างกัน อายุที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อสินค้าด้านค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซื้อสินค้าต่อครั้ง และด้านระยะเวลาที่ใช้ในการซื้อสินค้าต่อครั้งแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ระดับการศึกษาต่างกันมีการตัดสินใจซื้อสินค้า ด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าต่อครั้งแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อสินค้าด้านค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซื้อสินค้าต่อครั้ง และด้านระยะเวลาที่ใช้ในการซื้อสินค้าต่อครั้งแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05 สถานภาพที่แตกต่างกัน มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าต่อครั้งแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
          ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยทางการตลาดด้านพนักงาน/บุคลากรมีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าต่อครั้ง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ปัจจัยทางการตลาดไม่มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อสินค้าต่อเดือน และปัจจัยทางการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ใช้ในการซื้อสินค้าต่อครั้ง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ส่วนปัจจัยทางสังคม พบว่า มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ใช้ในการซื้อสินค้าต่อครั้งที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

DOWNLOAD

Comments are closed.