An Analysis of Inventory Control for Components of Spindle Motors the common part inside Hard Disk Drive that apply with Computer of Nidec Electronics (Thailand) Co., Ltd. (Bangkadi Factory)

โดย ภัสสรา ดาศรี

ปี      2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปริมาณการใช้วัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต Spindle Motors ที่นำมาใช้ส่วนประกอบสำคัญของการผลิตฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive)เพื่อผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ ของ บริษัท นิเด็ค อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางกะดีและเพื่อศึกษาถึงปริมาณการสั่งซื่อ วัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต Spindle Motors ของบริษัท นิเด็คอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางกะดี ให้มีปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการ โดยจะต้องมีปริมาณไม่มาก หรือน้อยกว่าที่ควรจะเป็น รวมไปถึงศึกษาถึงต้นทุนการสั่งซื้อที่เหมาะสมกับปริมาณการสั่งซื้อ และปริมาณการใช้ วัตถุดิบพื่อใช้ในการผลิตการผลิต Spindle Motors ของบริษัท นิเด็ค อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางกะดี เพื่อก่อให้เกิดการลดต้นทุนและสร้างกำไรสูงสุดจากการผลิต และจากการขายสินค้า
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
จากการศึกษาพบว่าการแบ่งหมวดสินค้าคงคลังด้วยระบบ ABC ตามมูลค่าของสินค้าคงคลังที่มีความต้องการในรอบปี โดยสินค้าคงคลังประเภท A มีรายการสินค้าคงคลังทั้งสิ้น 6 รายการมีรายการสินค้าคงคลังร้อยละ 16.49 ของรายการสินค้าคงคลังทั้งหมด มีมูลค่าถึงร้อยละ 62.81 ของมูลค่าสินค้าคงคลังทั้งหมดในรอบปี สินค้าคงคลังประเภท B มีรายการสินค้าคงคลังทั้งสิ้น 13รายการ มีรายการสินค้าคงคลังร้อยละ 69.46 ของรายการสินค้าคงคลังทั้งหมด มีมูลค่าถึงร้อยละ33.94 ของมูลค่าสินค้าคงคลังทั้งหมดในรอบปี และสำหรับสินค้าคงคลังประเภท C มีรายการสินค้าคงคลังทั้งสิ้น 15 รายการ มีรายการสินค้าคงคลังร้อยละ 14.05 ของรายการสินค้าคงคลังทั้งหมด มีมูลค่าถึงร้อยละ 3.22 ของมูลค่าสินค้าคงคลังทั้งหมดในรอบปี การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะเลือกนำเอาสินค้าคงคลัง ชั้น A จำนวน 6 รายการ คือ รายการที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 ซึ่งเป็นวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลังที่มีมูลค่าสูง และมีผลกระทบต่อต้นทุนสูง มาใช้เป็นตัวแปรในการศึกษา และวิเคราะห์เปรียบเทียบการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าคลังแบบเดิม กับการสั่งซื้อที่ประหยัดที่อุปสงค์คงที่และสินค้าคงคลังไม่ขาดมือเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ก่อให้เกิดการลดต้นทุนและสร้างกำไรสูงสุดจากผลิต และขายสินค้า
การเปรียบเทียบต้นทุนรวมสินค้าคงคลังต่อปีแบบเดิม กับต้นทุนรวมสินค้าคงคลังต่อปีแบบการสั่งซื้อที่ประหยัดที่อุปสงค์คงที่และสินค้าคงคลังไม่ขาดมือ (EOQ) หากมีการสั่งซื้อวัตถุดิบ หรือสินค้าคงคลังเพื่อการผลิต Spindle Motors มีปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งตามที่แบบจำลองกำหนดจะสามารถลดต้นทุนรวมสินค้าคงคลังต่อปี เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนกับปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งแบบเดิมอยู่ที่ 14% ใน ปีพ.ศ. 2548, 16% ในปี พ.ศ. 2549 และ 17% ในปี พ.ศ.2550 การเปรียบเทียบต้นทุนรวมของสินค้าคงคลัง โดยรูปแบบการเดิมนั้น มีต้นทุนรวมเกิดขึ้น912,358,604.39 บาท ในปี พ.ศ. 2548, 1,112,033,622.61 บาท ในปี พ.ศ. 2549 และ 1,317,587,526.11 บาท ในปี 2550 มีต้นทุนรวมสินค้าคงคลังรวม 3 ปี เท่ากับ 3,341,979,753.11บาท และมีต้นทุนสินค้าคงคลังรวมโดยใช้รูปแบบการคำนวณหาปริมาณสินค้าคงคลังที่ทำให้มีต้นทุนที่ประหยัดที่สุดด้วยสมการทฤษฎีปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ Model มีต้นทุนสินค้าคงคลังรวมเกิดขึ้น 785,535,544.41 บาท ในปี พ.ศ. 2548, 936,466,120.22 บาท ในปีพ.ศ. 2549และ 1,090,482,344.43 บาท ในปี 2550 มีต้นทุนรวมสินค้าคงคลังรวม 3 ปี เท่ากับ 2,812,484,009.05บาท ดังนั้นหากนำการสั่งซื้อที่ประหยัดที่อุปสงค์คงที่และสินค้าคงคลังไม่ขาดมือ (EOQ) มาประยุกต์ใช้จริงในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง หรือมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้ง สำหรับสินค้าคงคลัง หรือวัตถุดิบ เพื่อการผลิต Spindle Motors ทุกรายการแล้วทำให้สามรถลดต้นทุนการผลิตได้ 126,823,059.99 บาทใน ปีพ.ศ. 2548, 175,567,502.39 บาทในปีพ.ศ. 2549 และ 227,105,181.68 บาทในปี พ.ศ. 2550 ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรจากการสินค้าเพิ่มขึ้นรวมทั้งอาจเป็นการสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันทางด้านราคาสำหรับตลาดการผลิตSpindle Motor ในอนาคต ซึ่งเป็นการบริหารจัดการงานด้านสินค้าคงคลังตามนโยบายคุณภาพของบริษัท คือ “มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านคุณภาพ ราคา และการส่งมอบเพื่อตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า”
ข้อเสนอแนะ
การควบคุมต้นทุน โดยการจัดการสินค้าคงคลังที่มีความต้องการใช้เป็นประจำทุกเดือนสม่ำเสมอ แม้มีความต้องการใช้ในอัตราที่ไม่เท่ากันก็ตาม การบริหารจัดการสินค้าคงคลังแบบประหยัดที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ EOQ Model นั้นยังเป็นวิธีที่เหมาะสม เพราะเป็นวิธีการที่ปฏิบัติง่าย และสะดวก แต่ต้องมีการแก้ปัญหาการขาดแคลนของสินค้าคงคลัง โดยการประยุกต์แนวคิดการมีสินค้าคงคลังสำรองนำมาใช้ และในบ้างรายการจากคำนวณที่ได้มามีรอบการสั่งซื้อเพียงปีละครั้งจะมีการพิจารณาทบทวนก่อนการสั่งซื้ออีกครั้งหนึ่งก่อน เพราะหากมีการตัดสินใจสั่งซื้อแล้วอาจเกิดความผิดพลาดได้เนื่องสินค้าประเภทนั้นอาจมีการจำกัดอายุการใช้งานการเปลี่ยนแปลงรุ่นของสินค้า หรือการมีสินค้าทดแทนที่ดีกว่า ซึ่งอาจส่งผลให้สินค้าที่สั่งมาและเก็บไว้ในคลังสินค้านานเก็บไปเป็นสินค้าคงคลังที่ไม่เกิดการหมุนเวียน (Dead Stock) และเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต มากกว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิตก็เป็นได้การพัฒนาการจัดการสินค้าคงคลัง โดยการนำระบบโดยการนำระบบการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (Material Requirement Planning) โดยแนวคิดของระบบจะพยายามจัดหาวัสดุให้เพียงพอกับช่วงเวลาต่างๆ เท่ที่จำเป็น โดยต้องมีการประสานงานในด้านของแผนงานเป็นอย่างดีหรือระบบ Just in time (JIT) ซึ่งมุ่งเน้นขจัดของเสียให้หมดไปหรือเข้าใกล้ศูนย์ โดยการพัฒนาที่จะได้มาซึ่งสินค้าคงคลังที่รวดเร็วและทันเวลาประโยชน์จากการศึกษา ในการด้านการควบคุมต้นทุนที่ต้องคำนึงถึงทั้งต้นทุนที่ต้องจ่ายออกเป็นตัวเงิน และต้นทุนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้จ่ายเป็นตัวเงิน แต่อาจเป็นการศูนย์เสียจำนวนเงินที่ได้รับ หรือการที่ต้องจ่ายเงินในส่วนอื่นโดยไมได้ผลประโยชน์ เช่นการที่ต้องเสียค่าจ้างอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ไม่มีการผลิตภายในโรงงาน ดังนั้นเมื่อนำผลของการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการจัดการสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับจำหน่าย สามารถนำแนวคิดในการควบคุมต้นทุนที่ได้ศึกษาไปจัดการบริหารสินค้านั้นให้มีต้นทุนต่ำ และนำไปสู่การที่มีต้นทุนโดยรวมของการผลิตที่ประหยัด และสามารถแข่งขันในธุรกิจได้ต่อไป

DOWNLOAD : An Analysis of Inventory Control for Components of Spindle Motors the common part inside Hard Disk Drive that apply with Computer of Nidec Electronics (Thailand) Co., Ltd. (Bangkadi Factory)