Defect Reduction in Injection Process of Printer’s Parts using the Design of Experiment (DOE) Technique

โดย ภาสกร อาชะวะบูล และ ณฐา คุปตัษเฐียร

ปี 2555

บทคัดย่อ

โครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการฉีดชิ้นส่วนเครื่องใช้สำนักงานโดยใช้หลักทฤษฏีทางด้านงานฉีดพลาสติกและเทคนิคการออกแบบการทดลองในการวอเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลให้เกิดของเสียส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ระเบียนวิธีการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลให้เกิดของเสียมากที่สุดด้วยแผนภูมิก้างปลา  ทำการคัดเลือกปัจจัยแล้วนำมาวิเคราะห์ผลกระทบอันเนื่องมาจากข้อบกพร่อง (Failure Mode and Effect Analysis; FMEA) เพื่อนำปัจจัยที่มีลำดับความสำคัญมาก 3 อันดับแรกมาทำการพิจารณาจากนั้นทำการออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบความมีวินัยของปัจจัยเหล่านั้น โดยใช้การออกแบบเชิงแฟคทอเรียล 2 [superscript k] (2[superscript k] Factorial Design) เลือกการทดลองแบบ 2[superscript 3] ออกแบบให้ใช้ Full Factorial Factorial และทำซ้ำ 2 ครั้ง (Repeat) กำหนด  Number of Blocks 1 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กำหนดค่าทั้ง 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิของแม่พิมพ์ (Mold Temperature)  35 degree Celsius และ 45 degree Celsius,  รอบการฉีกงานหนึ่งชิ้น (Cycle Time) 34 Sec. และ 38 Sec. และพารามิเตอร์ความดันย้ำ (Holding Pressure) 30 MPa และ 40 MPa ผลการทดลองพบว่าระดับที่เหมาะสมที่สุด คือ อุณหภูมิของแม่พิมพ์ 45 degree Celsius, รอบการฉีดงานหนึ่งชิ้น 34 Sec. และความดันย้ำ 30 MPa ซึ่งสามารถลดปริมาณของเสียลงจากเดิม 77.7% เหลือเพียง 5.3%

Download : การลดข้อบกพร่องในกระบวนการฉีดชิ้นส่วนเครื่องพิมพ์โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบการทดลอง