Idenification of bacteria in “SATHO’‘ (Rice Wine) fermentation process withmoleculay biology techniques

โดย พิมฉัตร โมดา…[และคนอื่นๆ]

ปี 2555

บทคัดย่อ

สาโทเป็นเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากการหมักข้าวกับลูกแป้ง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการผลิตสาโท โดยใช้เชื้อบริสุทธิ์แทนลูกแป้งเพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพของสาโทได้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้ได้ทำการคัดแยกและระบุสายพันธุ์แบคทีเรียที่พบในกระบวนการหมักสาโท ซึ่งใช้เวลาในการหมักทั้งสิ้น 48 ชั่วโมง โดยเก็บตัวอย่างน้ำสาโทในชั่วโมงที่ 0, 12, 24, 39 และ 48 ของการหมัก ผลการคัดแยกแบคทีเรียจากตัวอย่างน้ำสาโท พบแบคทีเรียตั้งแต่ชั่วโมงที่ 0 ถึง 24 แต่ในชั่วโมงที่ 39 ถึง 48 นั้น ไม่พบการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งตัวอย่างน้ำสาโทในช่วงเวลาดังกล่าวมีค่า pH ประมาณ 3.9 และปริมาณแอลกอฮอล์สูงถึง 6-7% สามารถคัดแยกแบคทีเรียได้ทั้งหมด 42 ไอโซเลท ผลการจัดจำแยกตามลักษณะ สัณฐานวิทยา ชีวเคมี การเจริญบนอาหาร selective medium และการระบุสายพันธุ์ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล ด้วยการทำ PCR โดยใช้ไพรเมอร์2 คู่ คือ WLAB1-WLAB2 และ 16Sr-16Sd ทำให้แยกแบคทีเรียได้เป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 คือ แบคทีเรียกรดแลคติก เมื่อนำมาทำ PCR ด้วยไพรเมมอร์WLAB1 และ WLAB2 ขนาดของผลผลิต PCR ที่ได้มีขนาดประมาณ 400 bpซึ่งมีความใกล้เคียงกับสายพันธุ์ Enterococcus durans, Enterococcus hirae, Enterococcus faecium, Enterococcus mundtii ถึง 99% และสายพันธุ์และ Lactobacillus brevis ATCC 367 ถึง 91 % ได้แก่ ไอโซเลทISLB 05, ISLB 06, ISLB 40, ISLB 49 และ ISLB 53 แบคทีเรียในกลุ่มที่ 2 คือ แบคทีเรียกรดอะซิติก เมื่อนำมาทำ PCR ด้วยไพรเมอร์16Sr และ 16 Sdขนาดของผลผลิต PCR ที่ได้มีขนาดประมาณ 1,450 bp ซึ่งมีความใกล้เคียงกับสายพันธุ์ Acetobacterpasteurianus และ Gluconobacterreuropaeus ถึง 97% ส่วนแบคทีเรียในกลุ่มที่ 3 คาดว่าน่าจะเป็นแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceaeโดยแยกเชื้อในกลุ่มนี้ได้ 29 ไอโซเลท และจะนำไประบุสายพันธุ์ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุลต่อไป

Download : Idenification of bacteria in “SATHO’’ (Rice Wine) fermentation process withmoleculay biology techniques