Qualifications of tourism and hotel graduates according to Thailand qualifications framework for higher education: faculty of liberal arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย กรกนก อนรรฆธนะกุล
ปี 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร/อาจารย์ นักศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต 6 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6) ด้านทักษะพิสัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวชั้นปีที่ 4 นักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และผู้ใช้บัณฑิตจากสถานประกอบการโครงการสหกิจศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ และหาความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร/อาจารย์ นักศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต เกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาวิชาการท่องเที่ยว ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ (μ=3.88, S.D.=0.64) โดยพบว่า ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (μ=3.98, S.D.=0.63) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (μ=3.97, S.D.=0.66) ด้านทักษะพิสัย (μ=3.86, S.D.=0.65) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (μ=3.74, S.D.=0.59) ด้านทักษะทางปัญญา (μ=3.73, S.D.=0.70) และด้านความรู้ (μ=3.71, S.D.=0.70) ส่วนความคิดเห็นของผู้บริหาร/อาจารย์นักศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต เกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาวิชาการโรงแรม ภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยพบว่า ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (μ=4.14, S.D.=0.66) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (μ=4.08, S.D.=0.66) ด้านทักษะพิสัย (μ=3.98, S.D.=0.70) ด้านทักษะทางปัญญา (μ=3.86, S.D.=0.74) ด้านความรู้ (μ=3.78, S.D.=0.71) และ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (μ=3.74, S.D.=0.64)
The objective of this research was to study the qualifications of Tourism and Hotel graduates from the Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi according to thailand qualifications framework for higher education. Six aspects were taken into account—1) morals and ethics, 2) knowledge, 3) intellectual skills, 4) interpersonal skills and responsibility, 5) numerical analysis, communication, and information technology skills, and 6) psychomotor domain.
The samples were administrators/lecturers in the Department of Tourism and Hotel, fouth-year Tourism and Hotel students from the Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and the graduate users—the organizations under the cooperative education programme. The instruments used were questionnaires and interviews. The content validity was evaluated by the experts, and the reliability was .95. The data obtained was then analyzed by computing frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis.
The results showed that the opinions of the administrators/lectuers, students, and graduate users towards Tourism graduates on every aspect were at a high level (μ=3.88, S.D.=0.64). The aspect of interpersonal skills and responsibility had the highest mean score (μ=3.98, S.D.=0.63). The mean scores of other aspects were as follows: morals and ethics (μ=3.97, S.D.=0.66), psychomotor domain (μ=3.86, S.D.=0.65), numerical analysis, communication, and information technology skills (μ=3.74, S.D.=0.59), intellectual skill (μ=3.73, S.D.=0.70), and knowledge (μ=3.71, S.D.=0.70). In case of Hotel graduates, the opinions of the administrators/lectuers, students, and graduate users towards Hotel graduates on every aspect were also at a high level. The aspect of interpersonal skills and responsibility had the highest mean score (μ=4.14, S.D.=0.66). The mean scores of other aspects were as follows: morals and ethics (μ=4.08, S.D.=0.66), psychomotor domain (μ=3.98, S.D.=0.70), intellectual skills (μ=3.86, S.D.=0.74), knowledge (μ=3.78, S.D.=0.71), and numerical analysis, communication, and information technology skills (μ=3.74, S.D.=0.64).