Influence of Workpiece Shapes on the Relationships between Springback and Strain in Compression Bending Process

โดย ไพฑูรย์ พูลสุขโข และ สมชาย เอี่ยมเจริญ

ปี 2556

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของรูปทรงชิ้นงานต่อความสัมพันธ์ระหว่างการดีดกลับกับความเครียดในกระบวนการดัดโลหะแบบอัด โดยศึกษารูปทรงชิ้นงาน 3 รูปแบบ ได้แก่ เหล็กท่อกลวง เหล็กแผ่นเรียบ และ เหล็กเส้น ตามมาตรฐาน DIN ทาการดัดมุม 30, 60 และ 90 องศา โดยวิเคราะห์ค่าการดีดตัวกลับ ความเครียดหลัก ความเครียดรอง และความเครียดเทียบเท่า ของชิ้นงาน ผลการทดลองพบว่าชิ้นงานท่อกลวงมีค่าการดีดตัวกลับน้อยที่สุด และชิ้นงานแผ่นบางเกิดการดีดตัวกลับมากที่สุด ส่วนค่าความเครียดเทียบเท่าที่มุม 90 องศา ตรงบริเวณกึ่งกลางส่วนโค้งด้านในและด้านนอก ของการดัดเหล็กท่อกลวงมีค่าน้อยสุด เท่ากับ 0.117 และ 0.371 และมากสุดได้แก่เหล็กแผ่นเรียบ มีค่า 0.320 และ 0.386 สามารถสรุปผลได้ว่า ความเครียดเทียบเท่าด้านนอกมีค่ามากกว่าด้านใน เนื่องจากการยืดตัว ตามแนวยาวของวัสดุ และองศาในการดัดที่เพิ่มขึ้นค่าความเครียดเทียบเท่าก็จะมีค่าเพิ่มมากขึ้น

This research is to study the Influence of Workpiece Shapes on the Relationships between Springback and Strain in Compression Bending Process by studying 3 types of work piece: pipe steel, flat sheet, and rod according to DIN standard which were bent at the angle of 30, 60, and 90 degree. Springback, major stain, minor stain, and equivalent strain of the work piece were analyzed. The experiment revealed that pipe steel work piece had the lowest springback and the flat sheet workpiece has highest spring back. The equivalent strain at the angle of 90 degree at the middle of the curve part inside and outside the pipe steel was lowest at 0.117 and 0.371 respectively. Flat sheet had the highest value of 0.320 and 0.386. It can be concluded that the equivalent stain outside is higher than inside because the increased elongation along the length of material and increased bending degree caused increased equivalent strain.

 

Download : การศึกษาอิทธิพลของรูปทรงชิ้นงานต่อความสัมพันธ์ระหว่างการดีดกลับกับความเครียดในกระบวนการดัดโลหะแบบอัด