The Production Short Film “Friend”

โดย วณิชย์ ภัทรานุกูลกิจ, ชนาธิป คำพูนทะริยะ และกฤษณะ คิดข้างบน

ปี 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตภาพยนตร์สั้นแนวระทึกสยองขวัญ ศึกษาคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญ และศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” วิธีการศึกษาโดยประเมินคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหมด 2 ด้าน คือ ด้านภาพและเสียง ด้านเทคนิคพิเศษ รวมถึงสอบถามระดับความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ชั้นปีที่ 3 จำนวน 60 คน เพื่อทำการประเมินระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง

ผลจากการศึกษาพบว่าการผลิตภาพยนตร์สั้นแนวระทึก สยองขวัญเรื่อง “เพื่อน” มีความยาวประมาณ 20 นาที มีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านคุณภาพของสื่อ โดยรวม มีค่าเฉลี่ย (?̅ ) เท่ากับ 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.19 อยู่ในเกณฑ์ดี และจาก การประเมินระดับความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย (?̅) เท่ากับ 3.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.03 ซึ่งผลการประเมินที่ได้อยู่ในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกัน

คำสำคัญ : ภาพยนตร์สั้น, ระทึกสยองขวัญ, เทคนิคพิเศษ, เพื่อน


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อศึกษาการผลิตภาพยนตร์สั้นแนวระทึกสยองขวัญเรื่อง “เพื่อน”
  2. เพื่อศึกษาคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน”
  3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน”

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ภาพยนตร์สั้นแนวระทึกสยองขวัญ เรื่อง “เพื่อน”
  2. ได้รับรู้คุณภาพของสื่อภาพยนตร์สั้นแนวระทึกสยองขวัญเรื่อง “เพื่อน” จากผู้เชี่ยวชาญ
  3. ได้รับรู้ความคิดเห็นที่มีต่อสื่อภาพยนตร์สั้นแนวระทึกสยองขวัญเรื่อง “เพื่อน” ของ กลุ่มตัวอย่าง

ขอบเขตการศึกษา

ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาวิจัยเรื่อง การผลิตภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” ดังนี้

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยทำการผลิตสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” มีความยาว ทั้งสิ้น 20 นาที โดยจะสะท้อนภาวะทางสังคม ในเรื่องของการฆาตกรรม การฆ่าข่มขืน โดยเน้นสื่อภาพยนตร์เป็นหนังสั้นแนวระทึก สยองขวัญ
  2. ขอบเขตด้านภาพและเสียง
    ผู้วิจัยจะทำการตัดต่อภาพและเสียงโดยใช้โปรแกรม Adobe Premiere Pro Adobe After Effect และ Adobe Audition
  3. ขอบเขตด้านเทคนิคพิเศษ
    ผู้วิจัยจะทำการใช้เทคนิคพิเศษในการสร้างสื่อภาพยนตร์สั้นแนว สยองขวัญ โดยใช้ เทคนิคการเมคอัพและเทคนิคการซ้อนภาพในสื่อ เพื่อให้สื่อดูน่ากลัว และลุ้นระทึกตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น
  4. ประชากร
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558
  5. กลุ่มตัวอย่าง
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง
  6. ผู้เชี่ยวชาญ
    ผู้เชี่ยวชาญแบ่งออกเป็นทั้งสิ้น 2 ด้าน คือ ด้านภาพและเสียง ด้านเทคนิคพิเศษ จำนวน 4 ท่าน วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 1 ปี
  7. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
    1. สื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน”
    2. แบบประเมินคุณภาพของภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
    3. แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” สำหรับกลุ่มตัวอย่าง

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. สื่อ หมายถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
  2. ภาพยนตร์สั้น หมายถึง ภาพยนตร์ที่มีความยาวไม่เกิน 30 นาที คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ
  3. เทคนิคพิเศษ หมายถึง เทคนิควิธีการหรือเครื่องมือใด ๆ ก็ตามที่ใช้ในการสร้างภาพลวงตาในหนังให้ดูเสมือนจริง ในสถานการณ์ที่เป็นไปไม่ได้
  4. การจัดแสงในการแสดง หมายถึง การจัดแสงในงานแสดง วัสดุอุปกรณ์ไฟจะเป็นส่วนที่ให้แสงสว่างที่ช่วยสร้างบรรยากาศ สร้างความสมจริงให้กับภาพ เกิดความสวยงามบนความเสมือนจริง
  5. ภาพยนตร์ระทึก สยองขวัญ (Horror Film) หมายถึง ภาพยนตร์ที่มุ่งเน้นจะทำให้ผู้ชมรู้สึกหวาดกลัว, เสียวไส้ และรู้สึกสยองขวัญ ภาพยนตร์ประเภทนี้มักใช้วิธีการสร้างฉากที่ทำให้ผวาตกใจ ด้วยการใช้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความตายหรือสิ่งที่เหนือธรรมชาติ

สรุปผลคุณภาพของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

ผลสรุปการศึกษาคุณภาพของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
จำนวน 4 ท่าน ได้สรุปการประเมินคุณภาพของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” โดยการแบ่งหัวข้อ การประเมินคุณภาพออกเป็นทั้งหมด 3 ด้าน ดังต่อไปนี้

ผลการสรุปการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา

จากการประเมินคุณภาพของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” คุณภาพของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” ในส่วนของด้านเนื้อหามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี สามารถเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อ ค่าเฉลี่ย 4.75 การดำเนินเรื่องสมเหตุสมผล มีค่าเฉลี่ย 4.75 ความน่าสนใจของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย 4.25 เนื้อหามีความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย 4.25 และการดำเนินเรื่องไปอย่างราบรื่น ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00 โดยทุกหัวข้อการประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 4.40 อยู่ในระดับคุณภาพดี สรุป ผลคุณภาพด้านเนื้อหาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ว่า เนื้อหาของภาพยนตร์น่าสนใจ การดำเนินเรื่องดี ไม่น่าเบื่อ แต่ยังขาดรายละเอียดเล็กน้อยบางฉากที่จะสามารถทำให้สื่ออารมณ์ของภาพยนตร์ได้ดียิ่งขึ้น

ผลการสรุปการประเมินคุณภาพด้านภาพและเสียง

จากการประเมินคุณภาพของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” ในส่วนของด้านภาพ และเสียงมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี เสียงประกอบให้ความรู้สึกตื่นเต้น ระทึกขวัญ มีค่าเฉลี่ย 4.50 ทั้งด้านความคมชัดของภาพและเสียง มีค่าเฉลี่ย 4.00 การจัดแสงและเงาเหมาะสมกับภาพยนตร์ มีค่าเฉลี่ย 4.00 องค์ประกอบของภาพและมุมกล้องน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ย 3.75 และ โดยทุกหัวข้อการประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 4.06 อยู่ในระดับคุณภาพดี สรุปผลคุณภาพด้านภาพและเสียงจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ว่า การตัดต่อลำดับภาพดำเนินเรื่องเล่าเรื่องราวได้ดี แต่ยังคงมีภาพและเสียงบางฉากยังมีปัญหาอยู่ เสียงบางฉากยังมีเสียงรบกวน sound effect บางฉากยังสื่ออารมณ์ได้ไม่ถึง ควรปรับปรุงให้ได้อารมณ์อรรถรสในหนังแนวระทึก สยองขวัญ และควรเพิ่มมุมกล้องให้ภาพยนตร์ไหลลื่นและมีความน่าสนใจมากกว่านี้

ผลการสรุปการประเมินคุณภาพด้านเทคนิคพิเศษ

จากการประเมินคุณภาพของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” ในส่วนของด้านเทคนิคพิเศษมีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกันมากเช่นเดียวกับด้านเนื้อหาและด้านภาพและเสียง ซึ่งอยู่ในระดับดี ทุกหัวข้อ ทั้งเทคนิคที่ใช้ประกอบภาพยนตร์มีความน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ย 4.25 เทคนิคที่ใช้เพิ่มอรรถรสในการรับชมมากยิ่งขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.25 และเทคนิคที่ใช้ทำให้ภาพยนตร์ดูแล้วรู้สึกน่ากลัว ระทึกขวัญ มีค่าเฉลี่ย 4.25 โดยทุกหัวข้อการประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 4.25 อยู่ในระดับคุณภาพดี สรุปผลคุณภาพด้านเทคนิคพิเศษจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ว่า เทคนิคที่ใช้มีความน่าสนใจ น่าตื่นเต้น แต่หากสามารถเพิ่มเทคนิคที่ทำให้ผีน่ากลัว จะยิ่งทำให้ได้อรรถรสของภาพยนตร์ลุ้นระทึก ตื่นเต้น และบรรยากาศของภาพยนตร์ที่ดียิ่งขึ้น

สรุปผลความคิดเห็นของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” จากกลุ่มตัวอย่าง

ผลสรุปการศึกษาความคิดเห็นของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” จากกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ได้สรุป การประเมินความคิดเห็นของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” โดยการแบ่งหัวข้อการประเมิน ความคิดเห็นออกเป็น 2 ข้อดังต่อไปนี้

ผลสรุปข้อมูลทั่วไปของผู้ประเมินในกลุ่มตัวอย่าง

จากการประเมินความคิดเห็นของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน เป็นเพศชายทั้งหมด 26 คน คิดร้อยละ 43.33 และเป็นเพศหญิงทั้งหมด 34 คน คิดเป็นร้อยละ 56.66 และในจำนวนผู้ประเมิน อยู่ในช่วง ระดับชั้นปีที่ 3 จำนวน 60 คน เต็มหนึ่งร้อยเปอร์เซนต์

ผลการสรุปการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาจากกลุ่มตัวอย่าง

จากการประเมินความคิดเห็นของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” จากกลุ่มตัวอย่าง ในส่วนของด้านเนื้อหามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี สามารถเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อ ค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 4.10 ความน่าสนใจของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.07 เนื้อหามีความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย 3.98 การดำเนินเรื่องสมเหตุสมผล มีค่าเฉลี่ย 3.92 และการดำเนินเรื่องไปอย่างราบรื่น ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.90 โดยทุกหัวข้อการประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 3.99 อยู่ในระดับความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์ดี

ผลการสรุปการประเมินคุณภาพด้านภาพและเสียงจากกลุ่มตัวอย่าง

จากการประเมินความคิดเห็นของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” ในส่วนของด้านภาพและเสียงมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี เสียงประกอบให้ความรู้สึกตื่นเต้น ระทึกขวัญ มีค่าเฉลี่ย 4.07 ทั้งด้านความคมชัดของภาพและเสียง มีค่าเฉลี่ย 3.88 องค์ประกอบของภาพและมุมกล้องน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ย 3.87 และการจัดแสงและเงาเหมาะสมกับภาพยนตร์ มีค่าเฉลี่ย 3.77 โดยทุกหัวข้อ การประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 3.90 สรุปคุณภาพด้านภาพและเสียงอยู่ในเกณฑ์ดี

ผลการสรุปการประเมินคุณภาพด้านเทคนิคพิเศษจากกลุ่มตัวอย่าง

จากการประเมินความคิดเห็นของสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” ในส่วนของด้าน เทคนิคพิเศษ ซึ่งอยู่ในระดับดีทุกหัวข้อ ทั้งเทคนิคที่ใช้ทำให้ภาพยนตร์ดูแล้วรู้สึกน่ากลัว ระทึกขวัญ มีค่าเฉลี่ย 3.98 เทคนิคที่ใช้ประกอบภาพยนตร์มีความน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ย 3.95 และเทคนิคที่ใช้เพิ่มอรรถรสในการรับชมมากยิ่งขึ้น มีค่าเฉลี่ย 3.88 โดยทุกหัวข้อการประเมินมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 3.94 สรุปว่าเทคนิคพิเศษที่ใช้ทำสื่ออยู่ในเกณฑ์ดี

ข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาการผลิตสื่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง “เพื่อน” ตลอดจนการประเมินด้านต่าง ๆ จนได้ผลสรุปการศึกษาที่เสร็จสมบูรณ์ จึงได้เกิดข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการทำการศึกษาครั้งต่อไปหรือการปรับปรุงผลงานการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น ดังต่อไปนี้

ผลสรุปข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

  1. ควรมีการแก้ไขเสียงให้คมชัดและกำจัดเสียงรบกวนเพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดี
  2. การถ่ายภาพควรเพิ่มมุมกล้องเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพยนตร์
  3. การจัดแสงบางฉากมืดเกินไปจนทำให้ไม่เห็นรายละเอียด
  4. เพิ่มเติมเทคนิคพิเศษเพื่อเพิ่มอรรถรสให้ภาพยนตร์ดูลุ้นระทึก ตื่นเต้นยิ่งขึ้น

ผลสรุปข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง

  1. เสียงบางฉากฟังไม่รู้เรื่องควรมีการแก้ไขเสียงรบกวนเพื่อให้เสียงคมชัดขึ้น
  2. บางฉากมืดเกินไปจนทำให้ไม่เห็นรายละเอียดของหนัง
  3. การตัดต่อเชื่อมฉากเร็วเกินไปจนทำให้ดูเหมือนภาพกระโดด

ข้อเสนอแนะจากประธานและคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์

  1. เสียงรอบข้างบางฉากมีเสียงดังเกินไปควรมีการปรับระดับเสียงให้เหมาะสมกับเสียงบทสนทนา
  2. ฟ้อนต์คำบรรยายมีขนาดใหญ่และในบางคำยังมีการสะกดผิดควรที่มีการปรับขนาดฟ้อนต์ให้เหมาะสมและควรทำการตรวจทานคำถูกผิดให้เรียบร้อย และไม่ควรใช้คำที่เป็นศัพท์แสลงควรพิมพ์คำให้ถูกต้อง
  3. การจัดเรียงเครดิตควรจัดเรียงไปในทางเดียวกัน และให้เลือกเครดิตเพียงภาษาใด
    ภาษาหนึ่งเท่านั้น และควรตรวจคำผิดถูกให้เรียบร้อย

ข้อเสนอแนะจากผู้วิจัย

  1. ในเรื่องของเสียงควรใช้การอัดเสียงแยกและใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่คมชัด
  2. ควรมีการเตรียมอุปกรณ์และการวางแผนงานให้พร้อม เพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพ
  3. ควรศึกษาเทคนิคพิเศษใหม่ ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพและน่าสนใจ
  4. สำหรับฉากกลางคืน ควรมีการเตรียมความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ไฟ และควรศึกษาเรื่องเทคนิคการจัดไฟให้ดี เพื่อให้ได้แสงที่สมจริง และไม่มีปัญหาเรื่องแสงสว่างของสื่อ

รับชมผลงาน