The Production of Stop Motion “Chance”

จัดทำโดย เปรมฤทัย แก้วคีรี

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ความพิการเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่ต้องการ แต่ในบางครั้งก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะการเป็นคนพิการเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่อย่างไรก็ตามก็มีผู้พิการหลายคนที่สามารถเอาชนะความบกพร่องทางร่างกายและประสบความสำเร็จได้ แต่ยังมีผู้พิการอีกมากมายที่ไม่ได้รับโอกาสจากบุคคลรอบข้างดังนั้นผู้วิจัยจึงเกิดความคิดในการผลิตสื่อเพื่อกระจายให้บุคคลทั่วไป ยอมรับและให้โอกาสกับผู้พิการ จึงนำเสนอออกมาในรูปแบบของสื่อสต๊อปโมชั่น (Stop Motion) ผู้วิจัยจึงได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนภาพลักษณ์สังคมและดึงดูดความสนใจกลุ่มเยาวชนให้เข้าถึงสภาพปัญหาของคนพิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง “โอกาส (Chance)” เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง “โอกาส (Chance)”

กลุ่มตัวอย่างในการประเมิน เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อายุระหว่าง 18 – 25 ปี จำนวน 30 คน ได้แก่คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย สื่อแอนิเมชั่นเทคนิคสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) แบบประเมินคุณภาพสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) สำหรับผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) สำหรับกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน พบว่า คุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.30 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ 4.42 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มาก

คำสำคัญ: สต๊อปโมชั่น, โอกาส, คนพิการ


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การศึกษางานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อผลิตสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)
  2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้สื่อสต๊อปโมชั่นที่มีคุณภาพ
  2. ได้ทราบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)
  3. ได้แนวทางการพัฒนาสื่อเทคนิคสต๊อปโมชั่น ที่สะท้อนปัญหาของคนพิการ

นิยามศัพท์

นิยามศัพท์ที่ใช้ในโครงการวิจัยมีดังนี้

  1. ความพิการ (Disability) หมายถึง ข้อจำกัด หรือไม่มีความสามารถซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายทำให้การควบคุมการทำงานอวัยวะส่วนนั้นมีขีดจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ความบกพร่อง ความพิการบางชนิดอาจจะเกิดขึ้นชั่วคราว บางชนิดถาวร แต่ความพิการบางชนิดกลับมาเป็นใหม่ได้และบางชนิดสามารถรักษาได้ เมื่อคนที่มีความบกพร่องต้องเผชิญกับสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคมที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่ส่งเสริมให้สามารถดำรงชีวิตอิสระ และแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ ทำให้คนที่ความบกพร่องต้องเชิญกับสภาพความพิการเป็นคนที่ไร้ความสามารถซึ่งเป็นผลพวงจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคนั่นเอง
  2. ความบกพร่อง (Impairment) หมายถึง ความบกพร่อง ความสูญเสีย ความผิดปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ และสูญเสียความสามารถในการควบคุมหรือมีข้อจำกัดในการทำงานของอวัยวะและสติปัญญา ซึ่งรวมถึงการมีโครงสร้างของอวัยวะร่างกายไม่ครบ หรือมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นความบกพร่องจึงเป็นเรื่องเฉพาะของบุคคลไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
  3. การสูญเสียโอกาส (Handicap) หมายถึง ผลพวงจากความบกพร่อง ความพิการ และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ขัดขวางการทำงาน การปฏิบัติหน้าที่ ที่คนทั่ว ๆ ไปพิจารณาว่า เป็นสิ่งปกติสำหรับมนุษย์ ดังนั้น การสูญเสียเสียโอกาส (handicap) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนพิการ (person with disability) กับสิ่งแวดล้อม ประเพณี วัฒนธรรม และสิ่งสำคัญที่สุด คือ สิ่งกีดขวาง (barrier) ทางกายภาพและสังคมในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (build environment) ระดับของความได้เปรียบเสียเปรียบจึงค่อนข้างจะมีความสัมพันธ์โดยตรงหรือแปรตามระดับของปัญหาจากสภาพแวดล้อม
  4. สต๊อปโมชั่น (Stop Motion) หมายถึง แอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และต้องขยับรูปร่างท่าทาง ของส่วน ประกอบเหล่านั้นทีละนิด ๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรม ๆ
  5. พิกซิลเลชั่น (Pixilation) หมายถึง สต็อปโมชั่นที่ใช้คนจริง ๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้งหุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุก

ขอบเขตของการวิจัย

  1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    เนื่องจากสังคมในปัจจุบันมีการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลพิการ ทำให้คนพิการสูญเสียการทำงาน สูญเสียโอกาสในการใช้ชีวิตในสังคม เนื้อหาภายในสื่อสต๊อปโมชั่นสะท้อนปัญหาถึงโอกาสและความฝันของคนพิการที่อาจจะทำตามความฝันไม่ได้ ด้วยเทคนิคสต๊อปโมชั่น (Stop Motion) เรื่องโอกาส จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นในมุมมองของผู้พิการที่อยู่ในสังคม โดยสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่องนี้ยังแฝงข้อคิดเกี่ยวกับความฝันของผู้พิการ โดยมีความยาว 2 นาที
  2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    1. ประชากร
      ประชากรที่ใช้ในการศึกษาการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    2. กลุ่มตัวอย่าง
      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)
  3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
    1. สื่อแอนิเมชั่นเทคนิคสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)
    2. แบบประเมินคุณภาพสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
    3. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) สำหรับกลุ่มตัวอย่าง
  4. ด้านเทคนิค
    เทคนิคในการจัดทำการผลิตสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง “โอกาส (Chance)” ประกอบด้วยเทคนิคดังต่อไปนี้

    1. นำภาพที่ถ่ายไว้ นำมาตกแต่งและปรับขนาด สี ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop Lightroom 5.7.1
    2. ออกแบบวาดภาพกราฟิกใส่ในสื่อ ด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator CS6
    3. นำภาพที่ถ่ายตกแต่งปรับสีแล้วมาเรียงให้เคลื่อนไหวและตัดต่อวิดีโอ ด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS6
    4. นำภาพที่เรียงเป็นวิดีโอที่สมบูรณ์แล้วมาใส่เอฟเฟคและภาพกราฟิกให้ดูน่าสนใจมากขึ้นในโปรแกรม Adobe After Effect CS6

สรุปผลประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ผู้เชี่ยวชาญ

ผลสรุปการศึกษาคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอภาพและเสียง ด้านเทคนิคสต๊อปโมชั่น ได้ผลสรุปการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) โดยจำแนกออกเป็น 3 หัวข้อได้ดังต่อไปนี้

ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา

จากการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ในด้านเนื้อหาพบว่า อยู่
ในระดับคุณภาพดี สรุปได้ว่า เนื้อหาและข้อมูลของสื่อครบถ้วนมีความถูกต้อง เนื้อหาเหมาะสมกับโอกาสของคนพิการ มีการลำดับขั้นตอนการน าเสนอที่ดี เข้าใจง่าย และเนื้อหาในแต่ละตอนมีความสอดคล้องกับเรื่องราว

ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการนำเสนอภาพและเสียง

จากการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ในด้านการนำเสนอภาพ
และเสียง พบว่า ในหัวข้อภาพกราฟิกผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก ในหัวข้อการลำดับภาพสอดคล้องกับเนื้อหา อยู่ในระดับคุณภาพดี ส่วนในด้านเสียง พบว่า ในหัวข้อเสียงประกอบมีความน่าสนใจ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก โดยผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำเพิ่มเติมในเรื่องของเสียง และความต่อเนื่องของภาพ

ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเทคนิคสต๊อปโมชั่น

จากการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ในด้านเทคนิคการ
เคลื่อนไหว สต๊อปโมชั่น พบว่า ในหัวข้อคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นมีความคมชัด อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก และในหัวข้อความเหมาะสมของสื่อสต๊อปโมชั่นและเทคนิค อยู่ในระดับคุณภาพดี ซึ่งสรุปได้ว่า การเคลื่อนไหวมีความต่อเนื่อง เพลิดเพลิน และการเคลื่อนไหวสามารถสื่อสารได้ชัดเจน เข้าใจง่าย เชื่อมโยงภาพกราฟิกได้ดี โดยผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำเพิ่มเติมในเรื่องของการเคลื่อนไหวบางช่วงยังช้าและขาดไป

สรุปผลประเมินความพึงพอใจต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) กลุ่มตัวอย่าง

ผลสรุปการศึกษาความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) จากกลุ่มตัวอย่าง
ที่เป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample random sampling) ได้สรุปการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) โดยการแบ่งหัวข้อการประเมินความพึงพอใจเป็น 2 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

ผลสรุปข้อมูลทั่วไปของผู้ประเมินในกลุ่มตัวอย่าง

จากการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) จากกลุ่มตัวอย่าง
ทั้งหมด 30 คน นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน พบว่าส่วนใหญ่จะมีอัตราส่วนระหว่างเพศชายและเพศหญิงที่ต่างกันไม่กี่เปอร์เซ็นต์และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่า เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มากที่สุด และแบ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรปกติ และหลักสูตรเทียบโอน

ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง

จากการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) จากกลุ่มตัวอย่าง
พบว่าในหัวข้อภาพกราฟิกมีความเหมาะสมกับเนื้อหา ดูน่าสนใจ และหัวข้อผู้ชมสื่อสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย ทางกลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ส่วนในหัวข้อเนื้อหามีความกระชับเข้าใจง่าย หัวข้อเนื้อหาความเหมาะสมในการนำไปเผยแพร่ หัวข้อรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของสื่อมีความน่าสนใจ หัวข้อภาพกราฟิกมีความสวยงามน่าสนใจ หัวข้อความเหมาะของสี แสงและเงาภาพ หัวข้อเสียงประกอบมีความเหมาะสมกับเนื้อหา หัวข้อสื่อสต๊อปโมชั่นมีความสอดคล้องกับเนื้อหา หัวข้อสื่อสามารถกระตุ้นให้ตระหนักถึงการให้โอกาสของบุคคลพิการ หัวข้อเทคนิค สต๊อปโมชั่น สามารถทำให้สื่อความหมายของสื่อได้ดียิ่งขึ้น มีความสารถดึงดูดผู้ชม ทางกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี โดยสรุปค่าเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างออกมาอยู่ในระดับดี ทางกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดว่า ควรจะทำให้เสียงบรรยาย และช่วงต้นเรื่องน่าสนใจกว่านี้

อภิปรายผล

ผลจากการศึกษาค้นคว้าสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้

  1. ผลการอภิปลายจากการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)
    โดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยพัฒนาสื่อไปใช้ในการรณรงค์ เนื่องจากมีระดับคะแนนเฉลี่ยวิเคราะห์คุณภาพความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน ประกอบไปด้วยด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอภาพและเสียง และด้านเทคนิคสต๊อปโมชั่น ผลประเมินคุณภาพในด้านเนื้อหา ในหัวข้อเนื้อหามีความน่าสนใจ และผลประเมินคุณภาพในด้านเทคนิค ในหัวข้อภาพกราฟิกมีความเหมาะสมกับเนื้อหา และหัวข้อความสอดคล้องของเนื้อหากับสื่อสต๊อปโมชั่น มีค่าเฉลี่ยที่เท่ากัน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี เนื่องจากผู้วิจัยได้เรียบเรียงเนื้อหาให้มีความเข้าใจง่าย ทำให้เกิดความน่าสนใจ และในด้านเทคนิคและในส่วนของภาพกราฟิกมีความสอดคล้องกับเนื้อหาได้ดี อีกทั้งยังสามารถสื่อให้ผู้ชมเข้าใจง่าย และมีความสวยงามน่าสนใจอีกด้วย
  2. ผลการอภิปลายจากการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส
    (Chance) โดยกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผลประเมินความพึงพอใจทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอภาพและเสียง ด้านเทคนิคสต๊อปโมชั่น และด้านประสิทธิภาพของสื่อ มีระดับการรับรู้สื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ความพึงพอใจอยู่ในระดับดี โดยเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ขึ้นไป สื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ที่อยู่ในระดับความพึงพอใจที่เท่ากัน เนื่องจากผู้วิจัยได้มีการเรียบเรียงเนื้อหาได้ดีมีความเหมาะสม เรียบเรียงภาพและปรับระดับความคมชัดได้เหมาะสม ในส่วนของภาพกราฟิกมีความน่าสนใจ และสามารถนำสื่อไปเผยแพร่ได้
  3. ผลการอภิปลายจากการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่น โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
    4 ด้าน และการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่น โดยกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 30 คน ในส่วนของการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่น โดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยที่ไม่ต่างกันมาก โดยผลการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) โดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.30 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี ในส่วนของการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) โดยกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.45 ซึ่งความพึงพอใจอยู่ในระดับดี เนื่องจากว่า ผู้วิจัยได้มีการวางแผนก่อนการทำงานเป็นอย่างดี และมีการวางแผนงานก่อนลงมือทำ เช่น การหาข้อมูลพื้นฐานของคนพิการ การลงพื้นที่ก่อนถ่ายจริง การติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่ขอสถานที่ในการถ่ายทำ การร่างสตอรี่บอร์ด(Storyboard) การร่างฉากต่าง ๆ การวางแผนการถ่าย การวางแผนการตัดต่อ

ข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาการผลิตสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ตลอดจนการประเมินด้านต่าง ๆ จนได้ผลสรุปการศึกษาที่เสร็จสมบูรณ์ จึงได้เกิดข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการทำการศึกษาครั้งต่อไปหรือการปรับปรุงผลงานการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น ดังต่อไปนี้

  1. ผลสรุปข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
    1. ความต่อเนื่องของเนื้อหาบทสถานการณ์ยังไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควร
    2. การใช้ฟอนต์ยังไม่ดีพอ ควรมีข้อความภาษาอังกฤษแปลด้านล่างด้วย
    3. การสื่ออารมณ์ของภาพที่นำเสนอยังไม่สื่ออารมณ์เท่าที่ควร
    4. ควรมีเนื้อหาที่ชัดเจนกว่านี้หรือเพิ่มเติม
    5. ควรมีการปรับเสียงบรรยายให้มีน้ำหนักความดังให้เท่ากัน
  2. ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง
    1. ควรมีการปรับเสียงบรรยายให้มีน้ำหนักความดังให้เท่ากัน
    2. การสื่ออารมณ์ของภาพยังไม่สื่อเท่าไหร่
    3. สี แสง เงา ของภาพยังไม่น่าสนใจ
  3. ข้อเสนอแนะจากประธานและคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
    1. ควรมีการปรับเสียงบรรยายให้มีน้ำหนักความดังให้เท่ากันและชัดเจน
    2. ความต่อเนื่องของภาพและอารมณ์ของนักแสดงยังไม่เด่นชัด
    3. การเลือกใช้ฟอนต์ยังไม่เหมาะสม
  4. ข้อเสนอแนะจากผู้วิจัย
    1. ปรับเนื้อหาของสื่อสต๊อปโมชั่นให้กระชับเข้าใจ
    2. ควรพัฒนาความต่อเนื่องของภาพให้สื่อชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อความเข้าใจของผู้รับชม
      สื่อ

รับชมผลงาน