Production application provide information dormitories for students Rajamangala University of Technology Thanyaburi

จัดทำโดย ปริญญา พรมคำ, ศาศวัต ขำสะอาด และ จิรภาค ลอยกุล

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งของนักศึกษาที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สามารถเลือกหอพักตามความต้องการของตนเองได้ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและเพื่อศึกษาความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วิธีการศึกษาโดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตแอพพลิเคชั่นมือถือและข้อมูลเกี่ยวกับหอพักบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กำหนดพื้นที่และรูปแบบที่นำเสนอโดยนำเสนอหอพักจำนวน 15 หอพัก แบ่งออกทั้งหมด 8 ซอย แอพพลิเคชั่นมือถือจะแสดงผลในรูปแบบออฟไลน์ (Offline) เพื่อให้ใช้งานได้จากทุกที่โดยที่ไม่มีอินเตอร์เน็ต นำสื่อที่เสร็จเรียบร้อยไปประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 ท่าน โดยแบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่น จำนวน 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านออกแบบจำนวน 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนำเสนอข้อมูลหอพัก จำนวน 1 ท่าน และวัดผลกับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ

ผลการศึกษาสรุปว่า ผลการวิเคราะห์คุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาข้อมูล ในด้านการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่น อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก (x ̅= 4.75) ในด้านการออกแบบ อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก (x ̅= 4.78) ในด้านการนำเสนอข้อมูลหอพัก อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก (x ̅= 4.67) และผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน ในด้านความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (x ̅= 4.30) ในด้านการติดตั้งและใช้งานแอพพลิเคชั่น อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (x ̅ = 4.43) ในด้านการออกแบบ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (x ̅ = 4.49)

คำสำคัญ: หอพักคลอง6, แอพพลิเคชั่นมือถือ, หอพัก


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อผลิตแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการสร้างแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  3. เพื่อศึกษาเรื่องของประสบการณ์ผู้ใช้ (User interfece) กับส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน(User Experience) ในการสร้างแอพพลิเคชั่นมือถือ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้แอพพลิเคชั่นมือถือที่ให้ข้อมูลหอพักบริเวณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    ที่ตรงกับความต้องการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. เพื่อเพิ่มช่องทางในการนำเสนอข้อมูลหอพักและประชาสัมพันธ์หอพักให้กับนักศึกษา
  3. มีความรู้ความเข้าใจในภาษาจาวามากยิ่งขึ้น
  4. ฝึกทักษะการออกแบบแอพพลิเคชั่นให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่าย

ขอบเขตที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยกำหนดขอบเขตของวิจัยดังนี้

  1. ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558
  2. กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาการวิจัยนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ
  3. ขอบเขตเนื้อหา
    เนื้อหาที่ใช้ในแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีดังต่อไปนี้

    1. ชื่อหอพัก
    2. ราคาของหอพักต่อเดือน
    3. ค่าประกันห้องพัก
    4. สถานที่ตั้ง
    5. ระยะห่างของหอพักกับประตูมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
    6. สิ่งอำนวยความสะดวก
    7. รูปถ่ายภายในห้องของหอพัก
    8. ระบบความปลอดภัยของหอพัก
    9. ค่าน้ำไฟต่อหน่วย
    10. ระบบอินเทอร์เน็ต
  4. ขอบเขตด้านเทคนิค
    1. ฟังก์ชันในแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมี ดังต่อไปนี้
      1. ระบบจัดเรียงราคา
      2. ระบบจัดเรียงระยะทาง
      3. มีแผนที่เป็นภาพแบบกราฟิก
    2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการผลิตแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีดังต่อไปนี้
      1. โปรแกรมแอนดรอยด์ สตูดิโอ (android studio) ใช้สำหรับทำแอพพลิเคชั่นมือถือในเครื่องคอมพิวเตอร์
      2. โปรแกรมอะโดบีโฟโต้ชอปซีเอสหก (Adobe Photoshop CS6) ใช้สำหรับจัดการแก้ไขภาพ และตกแต่งรูปภาพ
      3. โปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ ซีเอสหก (Adobe Illustrator CS6) ใช้สำหรับตกแต่งภาพด้วยไฟล์เวคเตอร์

นิยามศัพท์

  1. แอพพลิเคชั่นมือถือ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบให้สามารถรองรับบนโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตบนระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและบุคคลทั่วไปและแสดงข้อมูลหอพักบริเวณคลองหก หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110
  2. หอพัก หมายถึง ที่อยู่อาศัยของนักศึกษาในระหว่างการศึกษาเป็นหอพักสำหรับนักศึกษาที่อยู่โดยรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในระยะ 2 กิโลเมตร โดยเป็นหอพัก
    นักศึกษารวมทั้งเพศชายและเพศหญิง
  3. แอนดรอยด์ หมายถึง ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพาเช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนรุ่นต่าง ๆ ที่สามารถนำแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีไปลงในเครื่องหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้
  4. ฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแฟ้มข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวกันเช่น ข้อมูลหอพัก รายละเอียด เบอร์โทรติดต่อ ราคาของหอพัก เป็นต้น

สรุปผลคุณภาพของสื่อจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

ผลสรุปการวิจัยเรื่องการผลิตแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจำนวน 3 ท่าน สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งและ การใช้งานแอพพลิเคชั่น ด้านการออกแบบ และสุดท้ายด้านการนำเสนอข้อมูลหอพักได้มีการแบ่งหัวข้อทั้งหมด 3 หัวข้อ ซึ่งได้สรุปในแต่ละส่วน ดังต่อไปนี้

  1. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่น
    จากการประเมินคุณภาพของแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่น พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หัวข้อแอพพลิเคชั่นมีประสิทธิภาพ แอพพลิเคชั่นทำงานได้ถูกต้อง และสามารถเรียนรู้การใช้งานแอพพลิเคชั่นได้อย่างรวดเร็ว อยู่ในระดับ มีคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0 ตลอดจนหัวข้อกระบวนการติดตั้งแอพพลิเคชั่น อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดีมาก
  2. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบ
    จากการประเมินคุณภาพของแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการออกแบบ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หัวข้อรูปแบบการนำเสนอแอพพลิเคชั่นมีความทันสมัย ภาพกราฟิกมีขนาดเหมาะสมมีระดับคุณภาพดีมากที่สุด คืออยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0 ตลอดจนหัวข้อการออกแบบแอพพลิเคชั่นมีความน่าสนใจ หัวข้อการจัดวางองค์ประกอบภายในแอพพลิเคชั่นมีความเหมาะสม หัวข้อขนาดของตัวอักษรมีความเหมาะสม และหัวข้อสีของตัวอักษรและพื้นหลังมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก
  3. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการนำเสนอข้อมูลหอพัก
    จากการประเมินคุณภาพของ แอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในด้านการนำเสนอข้อมูลหอพัก พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หัวข้อข้อมูลที่ใช้มีความเหมาะสม และหัวข้อการจัดลำดับข้อมูลมีความเหมาะสม มีระดับคุณภาพ ดีมากที่สุด คืออยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58

สรุปผลแสดงความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง

ผลสรุปการวิจัย เรื่อง “การผลิตแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” จากกลุ่มตัวอย่าง โดยมีประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ ได้ผลสรุปความคิดเห็นที่มีต่อแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยจำแนกออกเป็นหัวข้อการสอบถามทั้งหมด 2 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

  1. ผลสรุปข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง
    จากแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 60 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 2
  2. ผลสรุปแบบสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง
    แบบสอบถามความคิดเห็นของแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 60 คน ซึ่งได้สรุปในแต่ละด้านดังต่อไปนี้

    1. ความต้องการของผู้ใช้พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าหัวข้อแอพพลิเคชั่นสามารถช่วยในการค้นหาข้อมูลหอพักมีความเห็นด้วยมาก คืออยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 ตลอดจนหัวข้อแอพพลิเคชั่นตรงกับความต้องการของท่าน อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก
    2. ด้านการติดตั้งและใช้งานแอพพลิเคชั่นพบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าหัวข้อแอพพลิเคชั่นสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง มีความเห็นด้วยมาก คืออยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 ตลอดจนหัวข้อกระบวนการในการติดตั้งแอพพลิเคชั่นง่ายและเหมาะสม หัวข้อแอพพลิเคชั่นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหัวข้อแอพพลิเคชั่นมีการจัดหมวดหมู่ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก
    3. ด้านการออกแบบพบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าหัวข้อสีของตัวอักษรมีความเหมาะสมมีความเห็นด้วยมากที่สุด คืออยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 ตลอดจนการจัดวางองค์ประกอบภายในแอพพลิเคชั่นมีความเหมาะสม หัวข้อรูปแบบการนำเสนอแอพพลิเคชั่นมีความทันสมัย หัวข้อขนาดของตัวอักษรมีความเหมาะสมและภาพกราฟิกมีขนาดเหมาะสมอยู่ในระดับเท่ากัน หัวข้อการออกแบบแอพพลิเคชั่นมีความน่าสนใจอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก

อภิปรายผลการศึกษา

ในการวิจัยเรื่อง “การผลิตแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” มีประเด็นที่น่าสนใจมาอภิปรายดังต่อไปนี้คือ

การผลิตแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี ผ่านการตรวจทานปรับปรุงแก้ไขจากอาจารย์ที่ปรึกษาและวัดผลคุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านการติดตั้งและการใช้งาน ด้านการออกแบบ และด้านการนำเสนอข้อมูลหอพัก และได้นำแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ จากนั้นนำผลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็นมาวิเคราะห์พบว่า ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ให้ความเห็นว่า ตัวแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีคุณค่ามากถ้าหากนำไปพัฒนาต่อเพราะว่า เป็นแอพพลิเคชั่นที่จะช่วยเหลือนักศึกษาปี 1 หรือนักศึกษาเข้าใหม่ในปีถัด ๆ ไป ได้เป็นอย่างมากรวมถึงกลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจในตัวแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่สอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ในการขอใช้ตัวแอพพลิเคชั่น บางส่วนสนใจอยากให้มีการพัฒนาต่อและสามารถนำไปใช้งานได้จริง เพื่อเป็นการลดระยะเวลาในการหาค้นหาหอพักหรือข้อมูลหอพักนั้นเอง จากการเก็บรวบรวมข้อมูลคณะผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของการค้นหาที่อยู่อาศัย เพราะที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่จำเป็นและอยู่ในปัจจัย 4 ของมนุษย์อีกด้วยในส่วนของการออกแบบไอคอนและภายในตัวแอพพลิเคชั่นคณะผู้วิจัยได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้มากที่สุดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่างแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อให้แอพพลิเคชั่นมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุดและในส่วนสุดท้ายคือการเขียนโปรแกรมเนื่องจากการเขียนโปรแกรมแอพพลิเคชั่นมีความซับซ้อนปานกลางถึงมากที่สุดสำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ทางคณะผู้วิจัยจึงทำการประยุกต์ดัดแปลงฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่ซับซ้อนออกไปและดึงในส่วนของฟังก์ชั่นที่จำเป็นออกมาใช้ในตัวแอพพลิเคชั่นทำให้แอพพลิเคชั่นเสร็จสิ้นและบรรลุไปด้วยดี

ปัญหาและอุปสรรค

การผลิตแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อให้ข้อมูลหอพักสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี ตลอดจนการประเมินคุณภาพ จากผู้เชี่ยวชาญ และการทำแบบสอบความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างได้พบปัญหาและอุปสรรคดังนี้

  1. การเก็บข้อมูลหอพักต้องสอบถามรายละเอียดมากพอสมควร
  2. พบปัญหาในการใช้โปรแกรมแอนดรอยด์สตูดิโอ บ่อยเช่น บั๊กต่าง ๆ โค๊ดไม่สามารถใช้งานได้ เป็นต้น
  3. ระยะเวลาในการทดสอบไม่ตรงตามที่กำหนดเพราะโปรแกรมเกิดบั๊กบ่อยจึงต้องทำการแก้ไข
  4. คณะผู้วิจัยมีทักษะในการเขียนโปรแกรมและภาษาของโปรแกรมต่าง ๆ น้อยไปจึงทำให้ฟังก์ชั่นในตัวแอพพลิเคชั่นแคบลง
  5. การประสานงานในกลุ่มของคณะผู้วิจัยน้อยไปจึงทำให้แอพพลิเคชั่นไม่ตรงตามที่วางแผนไว้ตอนแรก

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
    1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่น ระบบของแอพพลิเคชั่นควรเป็นระบบออนไลน์เพราะจะสามารถใช้พื้นที่ลงข้อมูลได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น อาจจะมีการฝากไว้ในฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีแล้วให้มหาวิทยาลัยประชาสัมพันธ์ในวันปฐมนิเทศของนักศึกษาแอพพลิเคชั่นตัวนี้จะมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
    2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบในส่วนของปุ่มกดตัวหนังสือควร
      ลิงก์กับปุ่มกดด้วยและควรให้สารสนเทศสอดคล้องกับเมนูหลัก เช่น เรียงตามราคาก็ควรเน้นช่องราคาให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น
    3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการนำเสนอข้อมูลหอพักควรทำให้ครบทุกหอพักในบริเวณรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและเพิ่มหอพักในของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง
    1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านความต้องการของผู้ใช้ ต้องการให้ทำเป็นของระบบปฏิบัติการ IOS หรือสามารถใช้งานกับโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการไอโอเอส (IOS)
    2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการติดตั้งและใช้งานแอพพลิเคชั่น ต้องการให้มีข้อมูลครบทุกหอพักและควรมีคู่มือการใช้งาน
    3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการออกแบบ ออกแบบสวยและมีความทันสมัยเหมาะสมกับผู้ใช้งานหรือผู้ที่ต้องการจะค้นหาข้อมูลหอพัก
  3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะผู้วิจัย
    1. ฟังก์ชั่นในการใช้งานน้อยไปเพิ่มเติมเรื่องฟังก์ชั่นเสริมต่าง ๆ
    2. ตัวแอพพลิเคชั่นที่ทำควรเป็นแบบออนไลน์เพื่อสามารถใช้ระบบนำทางได้
    3. แอพพลิเคชั่นควรใช้ในระบบปฏิบัติการ IOS ได้
  4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
    1. ชื่อแอพพลิเคชั่นควรเปลี่ยนเป็นชื่อทางการไม่ควรใช้ภาษาคาราโอเกะเพราะเวลาผู้ใช้งานต้องการค้นหาหอพักจะทำการค้นหาได้ง่ายขึ้นเนื่องจากใช้ภาษาที่เป็นทางการ
    2. ควรเปลี่ยนเป็นใช้ฐานข้อมูลหรือเปลี่ยนให้เป็นระบบออนไลน์เนื่องจากสามารถเพิ่มข้อมูลได้เยอะขึ้นและยังไม่หนักตัวเครื่องของผู้ใช้งานด้วย
    3. การออกแบบยังขาดความทันสมัยควรแก้ไขเรื่องสีที่ใช้กับการวางปุ่มต่าง ๆในหน้าการใช้งานของแอพพลิเคชั่น