Media production 2D animation Modified car not to illegal

โดย รัชกฤช กิตตินนทฤทธิ์, ณัฐพล กรัดภิบาล และ จักริน สินธุญา

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์การผลิตสื่อแอนิเมชัน 2 มิติเรื่อง “การแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมายการแต่งรถยนต์ในรูปแบบของแอนิเมชัน 2 มิติ และการประเมินความคิดเห็นและความเข้าใจหลังรับชมสื่อแอนิเมชัน 2มิติเรื่อง การแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ. ของผู้เชี่ยวชาญ

เครื่องมือในการทำการประเมินประกอบด้วย (1) สื่อแอนิเมชัน 2 มิติเรื่อง “การแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.” (2) แบบประเมินคุณภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญ (3)แบบประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้เชี่ยวชาญมี 2 ด้าน ประกอบด้วยด้านเนื้อหา จำนวน 3 คน และด้านเทคนิคการผลิตสื่อจำนวน 3 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 30 คน

จากการประเมิน สามารถสรุปได้ดังนี้ (1) ผลการประเมินความคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญ สรุปได้ว่า การทำสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องการแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ. โดยรวมนั้นอยู่ในเกณฑ์ดี โดยแบ่งเป็นด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมีคุณภาพ ดีมาก (4.52) และในด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับ ดี (4.16) เช่นกัน (2) ผลการประเมินแบบความคิดเห็นโดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เป็นเพศชาย จำนวน 25คน และเพศหญิง มีจำนวน 5คน อายุระหว่าง 18 -21 ปีจำนวน 15 คน อายุระหว่าง 22 – 25 ปี มีจำนวน 15 คน ระดับความพึงพอใจในด้านเนื้อหาอยู่ในระดับ ดี 4.44) ในด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับ ดีมาก (4.54) ในด้านการนำเสนอ อยู่ในระดับ ดี (4.50) ในด้านเสียง อยู่ในระดับ ดี (4.48) ในด้านทัศนคติหลังชมสื่อแอนิเมชัน 2 มิติอยู่ในระดับอยู่ในระดับ ดีมาก (4.52) ทำให้เกณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับ ดี

คำสำคัญ: การผลิตสื่อ, แอนิเมชัน 2มิติ, การแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องการแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.
  2. เพื่อประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติเรื่องการแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.

ขอบเขตของงานวิจัย

  1. ขอบเขตเชิงเนื้อหา
    เนื้อหาที่ใช้ในการผลิตสื่อแอนิเมชัน 2มิติ เรื่องการแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ. รถยนต์ นำมาจากความคิดเห็นเรื่อง การแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ. ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีอายุ 18-22 ปี และมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์มีดังนี้

    1. โหลดรถยนต์
    2. การยกตัวรถให้สูง
    3. ท่อรถยนต์
    4. ควันดำ
    5. สีของไฟเลี้ยวและไฟเบรครถยนต์
    6. ไม่ติดป้ายทะเบียนรถยนต์
    7. ป้ายทะเบียนรถยนต์เอียง
    8. เปลี่ยนดิสเบรกหลัง
    9. ติดหลังคาซันรูฟ
    10. ฝากระโปรงหน้าหลังดำเกิน 50 เปอร์เซ็นของสีหลัก
  2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    1. ประชากรคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ และมีการตกแต่งรถยนต์ ในปีการศึกษา 2558
    2. กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีใบอนุญาตขับขี่ และมีการแต่งรถยนต์ ในปีการศึกษา 2558จำนวน 30 คน
  3. ขอบเขตเชิงเทคนิค
    1. เทคนิคที่ใช้ได้ศึกษาจากการทำแสงไฟ เช่น แสงไฟรถยนต์, แสงไฟนิลออน และ แสงไฟกระพริบ เป็นต้น เพื่อให้ภาพตัวรถยนต์ดูเสมือนจริงยิ่งขึ้นและให้ผู้ชมสื่อได้เห็นภาพเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น โดยได้ศึกษาค้นคว้าจากโปรแกรม Adobe After Effects CS6
    2. ได้ศึกษาเทคนิค Green Sceen เพื่อตัดมาใส่เป็นเอฟเฟค เช่น ควันดำรถยนต์ และรถยนต์ที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับสื่อมากยิ่งขึ้น โดยได้ศึกษาค้นคว้าจากโปรแกรม Adobe After Effects CS6

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. การแต่งรถยนต์ หมายถึง รถยนต์ที่ได้รับการเปลี่ยนดัดแปลงหรือปรับปรุงชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์รูปลักษณ์ภายนอกภายใน โดยสื่อแอนิเมชัน 2 มิติชิ้นนี่อธิบายถึงข้อจำกัดในการแต่งรถยนต์ว่า ทำได้มากน้อยอย่างไร และผิดกฎหมาย พ.ร.บ. หรือไม่
  2. กฎหมาย พ.ร.บ. หมายถึง บทกฎหมายพระราชบัญญัติปี พ.ศ.2522 ที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล
  3. แอนิเมชัน 2 มิติ หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการนำเอาลักษณะของภาพที่มีการแต่งรถยนต์มาอธิบายเรื่องให้เป็นภาพเคลื่อนไหว ประกอบด้วยเสียงบรรยาย และภาพตัวอักษรประกอบ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้สื่อแอนิเมชัน2มิติ เรื่องการแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ ที่มีคุณภาพ
  2. ได้ทราบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องการแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.
  3. เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.

สรุปผลการศึกษา

จากการประเมินกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสรุปได้ผลิตสื่อแอนิเมชันสองมิติ เรื่อง “การแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.” มาเป็นสื่อเสริมที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการแต่งรถยนต์ว่าสามารถตกแต่งได้หรือไม่มีของจำกัดแบบใดและในสื่อมีการใช้ตำรวจมาเป็นตัวดำเนินเรื่อง มีภาพและเสียงประกอบที่น่าสนใจ ทำให้มีความสนใจในการรับรู้และสามารถจดจำได้ดีกว่าในเอกสารที่เป็นบทความ

จากการวัดความรู้ความเข้าใจโดยการประเมินจากกลุ่มตัวอย่างหลังจากที่ได้ชมสื่อ จำนวน 30 คน สรุปได้ว่า สื่อทำให้มีความเข้าใจมาก เพราะในแบบประเมินสื่อจากกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

อภิปรายผลการศึกษา

จากผลการศึกษางานวิจัยครั้งนี้พบว่า การผลิตสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องการแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ผลการประเมินเนื้อหา การผลิตสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องการแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.” ของผู้เชี่ยวชาญพบว่า ค่าเฉลี่ยเนื้อหาอยู่ในระดับ ดี (4.40) ด้านเนื้อหาของสื่อเข้าใจง่ายอยู่ในระดับ ดีมาก (4.60) เนื้อหาของสื่อมีความน่าสนใจ อยู่ในระดับ ดี (4.3) ด้านระยะเวลาของสื่อมีความเหมาะสมกับเนื้อหา อยู่ในระดับ ดี (4.43) ผลการประเมินพบว่า การผลิตสื่อแอนิเมชัน2มิติเรื่อง การแต่งรถยนต์ไม่ให้ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.” ของผู้เชี่ยวชาญพบว่า ค่าเฉลี่ยด้านการนำเสนอเนื้อหา อยู่ในระดับ ดีมาก (4.54) เนื้อหาของสื่อเข้าใจง่าย อยู่ในระดับ ดี (4.46) ด้านเทคนิคภาพนิ่งและภาพกราฟิกสวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน เหมาะสมอยู่ในระดับ ดี (4.60) ด้านเทคนิคการใส่ตัวอักษรและภาพพื้นหลัง อยู่ในระดับ ดีมาก (4.56) ซึ่งในการผลิตสื่อนั้นต้องมีเนื้อหาที่ครบถ้วน ถูกต้อง มีการใช้เนื้อหาและรูปภาพที่เหมาะสม มีการดำเนินเรื่องที่ดีไม่ซับซ้อน ภาพเคลื่อนไหว และข้อความที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมกับตัวสื่อซึ่งสอดคล้องในงานวิจัยของ ศรีสุภัค เสมอวงษ์ ( 2557 : บทคัดย่อ ) ได้ค้นคว้าการวิจัยการออกแบบและสร้างสื่อแอนิเมชัน 2 มิติเพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดประเพณีมอญในจังหวัดปทุมธานี เป็นการสร้างสื่อโดยใช้กระบวนการทางด้านการออกแบบ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดประเพณีมอญ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างสื่อแอนิเมชัน 2 มิติเพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดประเพณีมอญในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชันที่มีสื่อแอนิเมชัน 2 มิติเพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดประเพณีมอญในจังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติเพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดประเพณีมอญในจังหวัดปทุมธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในระดับชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนที่อยู่ในโครงการโรงเรียนดีศรีตําบล ในสังกัด สพป.ปทุมธานี เขต 1 ในเขตสังกัดอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ที่สอนในรายวิชาสังคมศึกษามีจำนวนทั้งหมด 22 คน ทำการสำรวจข้อมูลโดยการทำสำมะโน (Census) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติเพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดประเพณีมอญในจังหวัดปทุมธานี พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.71 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนในรายวิชาสังคมศึกษาที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดประเพณีมอญในจังหวัดปทุมธานี พบวาครูผู้สอนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก เท่ากับ 4.12 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งเอาไว้ และเมื่อนำผลการวัดความรู้ความเข้าใจจากกลุ่มตัวอย่างเรื่อง “การแต่งรถยนต์ให้ไม่ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.” ของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน พบว่าค่าเฉลี่ยการประเมินหลังชมสื่ออยู่ในระดับดี (4.52)เนื่องจากสื่อนั้นมีความเข้าใจง่าย มีประสิทธิภาพในการรับรู้ของผู้ชมซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของ ณัฐพล ปิยะอิสรกุล (2558 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาค้นคว้าการวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมของผู้ขับรถเร็วบนกระแสจราจรในปัจจุบันการขับรถเร็วเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร ทำให้ต้องมีมาตรการตรวจจับความเร็วรถดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการประเมินความสามารถของการตรวจจับความเร็วรถและศึกษาพฤติกรรมของผู้ขับรถเร็วโดยเปรียบเทียบวิธีการตรวจจับความเร็วรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจและวิธีการตรวจวัดความเร็วรถในกระแสจราจรทุกคันบนถนนทางหลวง

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะผู้เชี่ยวชาญ
    • เนื้อหาเยอะเกินควรมีภาพตัวอย่างเข้าแทรกให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น – การเปลี่ยนฉากภาพดูแข็งเกินไป
    • ควรเพิ่มคำบรรยายประกอบข้อมูล
    • ควรมีการเคลื่อนไหวมากกว่านี่
  2. ข้อเสนอแนะกลุ่มตัวอย่าง
    • เสียงบรรยายเบาเกินไป
    • บางฉากภาพดูนานเกินไป
  3. ข้อเสนอแนะกรรมการ
    • ควรตรวจรายละเอียดให้เรียบร้อย
    • เสียงบรรยายเบาเกินไป
  4. ข้อเสนอแนะผู้วิจัย
    • ควรมีการวางแผนในการใช้วัสดุและอุปกรณ์มากกว่านี้ เพื่อความสะดวกในการทำงาน
    • ควรมีการวางแผนและกำหนดเวลาอย่างรอบคอบมากกว่านี้เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน
    • ในสื่อการสอนยังมีตัวอย่างน้อยเกินไปควรเพิ่มตัวอย่างให้มากกว่านี้เพื่อความเข้าใจมากขึ้น
    • ควรมีการศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อนำมาสรุปเป็นกระบวนการในการทำสื่อให้มากกว่านี้

รับชมผลงาน