Cut-Out Animation for Public Relations to Promote Image of Mass Communication Technology
จัดทำโดย อัญชุลีกร แสงศาลาศรี, ปุณยาพร พวงมาลา, ชัชพร มานะกิจ และ อิสระ ทองย่น
สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น และศึกษาคุณภาพของสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น โดยนำสื่อที่ได้ตรวจคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วยด้านเนื้อหา ด้านเทคนิค และด้านการออกแบบ ได้มีการตรวจสอบและได้ทำการปรับปรุงแก้ไขและนำไปประเมินความคิดเห็นที่มีต่อสื่อกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 คน ประจำปีการศึกษา 2558 จากนั้นทำการสรุปผล ด้วยค่าสถิติแบบหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพของสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น จากการประเมินคุณภาพของสื่อ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่า คุณภาพของสื่ออยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.39 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพ “มาก” และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น จากกลุ่มตัวอย่าง 40 คน พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.63 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพ “มากที่สุด”
คำสำคัญ: คัทเอาท์แอนิเมชั่น, ประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น
- เพื่อศึกษาคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น
- เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น
- เพื่อประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีแนวทางในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น
- ทราบถึงคุณภาพของสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่นจากผู้เชี่ยวชาญ
- ทราบถึงความคิดเห็นที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น จากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- สามารถประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีแนวทางในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
- คัทเอาท์แอนิเมชั่น (Cut-out Animation) หมายถึง สื่อที่ผลิตขึ้นโดยการใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวิธีการวาด การออกแบบ และตัดต่อวีดีโอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการนำเฟรมต่าง ๆ ของแต่ละช่วงเวลามาเรียงต่อ ๆ กัน เหมือนกับเทคนิคการวาดภาพเคลื่อนไหว
- การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ไปสู่กลุ่ม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และแนะน าคณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน
- ภาพลักษณ์ หมายถึง ความคิดในแง่บวกและแง่ลบที่เกิดขึ้นในใจของบุคคลทั่วไปที่มีต่อ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จนทำให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมา
ขอบเขตการศึกษา
- ด้านเนื้อหา
เนื้อหาและข้อมูลสำหรับการผลิตสื่อ “การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น” มีความยาว 2.36 นาที แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ช่วง ดังต่อไปนี้- ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- แนะนำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
- เชิญชวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
- ด้านเทคนิค
โปรแกรมที่ใช้ในผลิตสื่อ “การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น” ประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้- โปรแกรมสำหรับวาดภาพ โปรแกรมอะโดบี โฟโต้ช็อป ซีเอสหก (Adobe Photoshop CS6)
- โปรแกรมสำหรับทำวีดีโอและเอฟเฟกต์ โปรแกรมอะโดบี อาฟเตอร์เอฟเฟกต์ ซีเอสหก (Adobe After Effects CS6)
- โปรแกรมส าหรับตัดต่อ โปรแกรมอะโดบี พรีเมียร์โปร ซีเอสหก (Adobe Premiere Pro CS6)
- ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2558 - กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) - ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้เชี่ยวชาญสำหรับตรวจสอบและประเมินคุณภาพสื่อ “การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น” มีทั้งหมด 3 ด้าน รวมเป็น 5 ท่าน- ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 1 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาเกี่ยวกับคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องสำหรับการผลิตสื่อแอนิเมชั่น จำนวน 2 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้มีความรู้และประสบการณ์โดยตรง
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ สำหรับการผลิตสื่อแอนิเมชั่น จำนวน 2 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้มีความรู้และประสบการณ์โดยตรง
สรุปผลการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
สรุปผลการศึกษาคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น จากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 ท่าน สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ โดยแบ่งผลการประเมินเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอข้อมูล ด้านการออกแบบ ด้านการวาดและลายเส้น ด้านแสงและเงา ด้านมุมกล้อง ด้านการเคลื่อนไหว และด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ ซึ่งได้สรุปแต่ละ หัวข้อดังต่อไปนี้
- ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา
จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านเนื้อหา พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีผลการประเมินด้านเนื้อหาเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.55 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 สามารถสรุปได้ว่า เนื้อหาสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย มีความถูกต้อง และสามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่เนื้อหาบางส่วนยังไม่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน ควรเพิ่มเนื้อหาที่สามารถบ่งบอกรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ที่รับชมสื่อมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการนำเสนอข้อมูล
จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านการนำเสนอข้อมูล พบว่า โดยภาพรวม คุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านการนำเสนอข้อมูลเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.32 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 สามารถสรุปได้ว่า การนำเสนอข้อมูลเหมาะสมกับการประชาสัมพันธ์ การนำเสนอข้อมูลมีระยะเวลาที่ความเหมาะสม กระชับและเข้าใจง่าย รูปแบบของตัวอักษรที่ใช้นำเสนอมีความเหมาะสม ไม่หนาหรือบางจนเกินไป ส่วนการนำเสนอข้อมูลในเรื่องของความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงในบางจุดยังขาดความต่อเนื่องและยังไม่มีจุดเด่นมากพอ ขนาดของตัวอักษร ที่ใช้นำเสนออาจจะมีขนาดเล็กและไม่อยู่ตรงกับจุดรวมสายตาหรือกฎสามส่วน ทำให้ตัวอักษรไม่โดดเด่น - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบ
จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านการออกแบบ พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านการออกแบบเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.28 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 สามารถสรุปได้ว่า ขนาดของตัวละคร ขนาดขององค์ประกอบ และความสมดุลของภาพมีความเหมาะสมกับสื่อ จุดเด่นของภาพยังมีไม่มากพอ ส่วนการลงสี อาจมีการลงสีผิดจุดทำให้การสื่อความหมายเปลี่ยนไปไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการวาดและลายเส้น
จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านการวาดและลายเส้น พบว่า โดยภาพรวม คุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านการวาดและลายเส้นเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62 สามารถสรุปได้ว่า ลายเส้นมีความชัดเจนและสวยงาม ความหนาบางของเส้นและรายละเอียดของภาพในบางซีนยังขาดความละเอียดเล็กน้อย สัดส่วนของภาพยังขาดความถูกต้องสมจริงในบางจุด - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านแสงและเงา จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านแสงและเงา พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านแสงและเงาเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.20 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45 สามารถสรุปได้ว่า ระดับความสว่างและระดับความมืดมีความเหมาะสม มิติของภาพมีความสมจริง แต่อาจจะมีบางจุดที่แสงและเงายังขาดความคมชัด
- ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านมุมกล้อง
จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านมุมกล้อง พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านมุมกล้องเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.47 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 สามารถสรุปได้ว่า ขนาดภาพมีความเหมาะสม การจัดวางองค์ประกอบและรายละเอียดของภาพ มีความสวยงามและเหมาะสม แต่ยังขาดความหลากหลายของมุมกล้อง ซึ่งทำให้เกิดความน่าเบื่อ ควรปรับเปลี่ยนมุมกล้องในบางซีนเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมมากขึ้น - ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการเคลื่อนไหว จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านการเคลื่อนไหว พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านการเคลื่อนไหวเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 สามารถสรุปได้ว่า การเคลื่อนไหวมีความไหลลื่นสมจริงการเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับระยะเวลา ยังขาดความต่อเนื่องในการนำเสนอในบางจุดจังหวะการเคลื่อนไหวไม่มีความน่าสนใจ มากพอ เนื่องจากมีจังหวะการเคลื่อนไหวซ้ำกันในหลาย ๆ จุด
- ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ
จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ พบว่า โดยภาพรวม คุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.47 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 สามารถสรุปได้ว่า สื่อนี้เหมาะกับการนำไปแนะแนวทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสำหรับเด็กชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องจากสื่อนี้มีประโยชน์ในด้านการศึกษา สามารถนำสื่อไปใช้งานจริงในด้านการประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนได้ และเกิดความสนใจในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนหลังจากรับชมสื่อ
สรุปผลความคิดเห็นที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง
- ผลสรุปข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
จากการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น จากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2558 พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและเพศหญิงเท่ากัน และจำแนกตามแผนการเรียน วิทย์คณิต ศิลป์คำนวณ ศิลป์ภาษา และศิลป์ทั่วไป แผนการเรียนละ 10 คน เท่า ๆ กัน โดยส่วนใหญ่รู้จักคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีโดยการศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเอง - ผลสรุปการประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง
- ด้านเนื้อหา โดยภาพรวมพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับมากที่สุด มีผลการประเมินด้านเนื้อหาเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.80 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40 สื่อความหมายได้ชัดเจนและสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การนำเสนอเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์ เนื่องจากเด็กในวัยมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสนใจในสื่อที่มีเทคนิคหรือรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนจนเกินไป อีกทั้งยังเป็นสื่อที่มีสาระอีกด้วย
- ด้านการนำเสนอข้อมูล โดยภาพรวมพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับ มากที่สุด มีผลการประเมินด้านการนำเสนอข้อมูลเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.61 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 การนำเสนอข้อมูลมีรูปแบบการนำเสนอที่แปลกใหม่ เพราะเทคนิคที่ใช้ยังไม่ได้รับความนิยมจากผู้คนมากนัก ทำให้สื่อคัทเอาท์แอนิเมชั่นเป็นสื่อที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ความต่อเนื่องของภาพในการนำเสนอและมีระยะเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากสื่อที่ใช้นำเสนอมีระยะเวลาไม่เกิน 3 นาที หากระยะเวลาเกินกว่านี้อาจทำให้เกิดความน่าเบื่อได้
- ด้านการออกแบบ โดยภาพรวมพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับ “มาก ที่สุด” มีผลการประเมินด้านการออกแบบเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.48 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 การเลือกใช้สีสามารถดึงดูดความสนใจของกลุ่มตัวอย่างได้มาก ลายเส้นมีความน่าสนใจ สวยงาม ตัวละครสื่อความหมายได้ชัดเจน เลือกใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย องค์ประกอบของภาพไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ส่วนขนาดของตัวอักษรมีขนาดเล็กทำให้อ่านยาก ควรเพิ่มขนาดของตัวอักษร
- ด้านการนำไปใช้ โดยภาพรวมพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีผลการประเมินด้านการนำไปใช้เฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.61 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นได้ เกิดความสนใจในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนหลังจากรับชมสื่อ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างบางส่วนยังไม่รู้จักคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จึงทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความสนใจในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน อีกทั้งยังสามารถนำความรู้จากการชมสื่อไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อได้อีกด้วย
อภิปรายผลการศึกษา
ในการศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น มีประเด็นที่น่าสนใจมาอภิปรายดังต่อไปนี้คือ
การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ผ่านการตรวจทานปรับปรุงแก้ไขจากอาจารย์ที่ปรึกษาและวัดผล คุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 ท่าน สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ โดยแบ่งผลการประเมินเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอข้อมูล ด้านการออกแบบ ด้านการวาดและลายเส้น ด้านแสงและเงา ด้านมุมกล้อง ด้านการเคลื่อนไหว และด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ และได้นำสื่อไปทดสอบกับจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2558 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) จากนั้นนำผลการ ประเมินคุณภาพของสื่อมาวิเคราะห์ พบว่า ด้านเนื้อหา มีความถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ ด้าการนำเสนอข้อมูล เหมาะสมกับการประชาสัมพันธ์ มีระยะเวลาที่เหมาะสม กระชับ และเข้าใจง่าย รูปแบบของตัวอักษรที่ใช้นำเสนอมีความเหมาะสม ด้านการออกแบบ ขนาดของตัวละคร ขนาดขององค์ประกอบ และความสมดุลของภาพมีความเหมาะสมกับสื่อ ด้านการวาดและลายเส้น มีความชัดเจนและสวยงาม ด้านแสงและเงา ระดับความสว่างและระดับความมืดมีความเหมาะสม ด้านมุมกล้อง ขนาดภาพมีความเหมาะสม การจัดวางองค์ประกอบได้ดี ด้านการเคลื่อนไหว จังหวะการเคลื่อนไหวมีความไหลลื่นสมจริง และด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ สื่อนี้เหมาะกับการนำไปแนะแนวทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สำหรับเด็กชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องจากสื่อนี้มีประโยชน์ในด้านการศึกษา สามารถนำสื่อไปใช้งานจริงในด้านการประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนได้ ในการศึกษาและจัดทำปริญญานิพนธ์เรื่อง “การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น” ทำให้ผู้จัดทำปริญญานิพนธ์ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการผลิตสื่อ ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น (Cut-out Animation) และสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
จากการประเมินผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน ธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2558 สามารถอภิปรายผล การศึกษาได้ดังนี้ ด้านเนื้อหา สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนและสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การ นำเสนอเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์ ด้านการนำเสนอข้อมูล มีรูปแบบการนำเสนอที่แปลกใหม่ ด้านการออกแบบ ลายเส้นมีความน่าสนใจ สวยงาม และด้านการนำไปใช้ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นได้ เกิดความสนใจในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และสามารถนำความรู้จากการชมสื่อไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในตอนต้น ทั้งนี้การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีแนวทางในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
ปัญหาและอุปสรรค
- ระยะเวลาในการทำสื่อมีขีดจำกัด เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนซึ่งทางโรงเรียนจะปิดภาคเรียนภายในต้นเดือนมีนาคม จึงทำให้สื่อที่ผลิตออกมานั้นไม่สมบูรณ์มากเท่าที่ควร
- ทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์ (Hardware) ในการจัดทำสื่อยังมีประสิทธิภาพไม่มากพอ
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเสนอ (Projector) ต่อกลุ่มตัวอย่างแสดงภาพที่มีความละเอียดต่ำและปริมาณแสงในห้องที่ค่อนข้างสว่าง มีผลทำให้กลุ่มตัวอย่างมองเห็นสื่อได้ไม่ชัดเจน
ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
- ข้อเสนอแนะด้านการวาดและลายเส้น ลายเส้นมีความน่าสนใจดี
- ข้อเสนอแนะด้านการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวโดยรวมมีความลื่นไหล จังหวะกระชับ
- ข้อเสนอแนะด้านมุมกล้อง มีความลงตัว สวยงาม และเหมาะสม
- ข้อเสนอแนะด้านแสงและเงา ภาพสีมีผลต่อความคมชัดของแสงและเงา มีมิติมากขึ้น แสงและเงาชัดเจนต่างจากครั้งก่อนที่เป็นภาพขาวดำ
- ข้อเสนอแนะด้านเนื้อหา ควรมีเนื้อหาที่บ่งบอกรายละเอียดเพื่อให้เห็นแนวคิดในแต่ละสาขาให้ชัดเจน
- ข้อเสนอแนะด้านการนำเสนอข้อมูล เพิ่มเติมลักษณะของการเคลื่อนไหวตามลักษณะของตัวละคร การเคลื่อนที่หลายส่วนยังขาดความต่อเนื่องและยังไม่มีจุดเด่นมากพอ ควรมีจังหวะการเคลื่อนไหวให้มีลูกเล่นมากกว่านี้
- ข้อเสนอแนะด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ดูง่าย เข้าใจง่าย กระชับ
- ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ผู้จัดทำสามารถต่อยอดสื่อชิ้นนี้ได้ สามารถพัฒนาได้อีกในอนาคต ทั้งคาแรคเตอร์ที่อาจจะนำเสนอเป็นลายเส้นการ์ตูนที่ละเอียดขึ้น การนำเสนอมุมกล้องที่มีความละเอียดมากขึ้น รวมไปถึงเสียงประกอบ อาจจะทำให้สื่อชิ้นนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง
- สื่อน่าสนใจและมีประโยชน์มาก
- สื่อสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ลายเส้นสวยงาม
- ควรเพิ่มขนาดของตัวอักษรและความสว่าง
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
- แสงและเงาของวัตถุบางชิ้นยังไม่สมจริง
- ควรเพิ่มขนาดของตัวอักษรและเพิ่มพื้นหลังของคำอธิบายสาขา เพื่อให้ผู้ชม สามารถมองเห็นคำอธิบายสาขาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น