Cut-Out Animation for Public Relations to Promote Image of Mass Communication Technology

จัดทำโดย อัญชุลีกร แสงศาลาศรี, ปุณยาพร พวงมาลา, ชัชพร มานะกิจ และ อิสระ ทองย่น

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น และศึกษาคุณภาพของสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น โดยนำสื่อที่ได้ตรวจคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วยด้านเนื้อหา ด้านเทคนิค และด้านการออกแบบ ได้มีการตรวจสอบและได้ทำการปรับปรุงแก้ไขและนำไปประเมินความคิดเห็นที่มีต่อสื่อกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 คน ประจำปีการศึกษา 2558 จากนั้นทำการสรุปผล ด้วยค่าสถิติแบบหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพของสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น จากการประเมินคุณภาพของสื่อ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่า คุณภาพของสื่ออยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.39 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพ “มาก” และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น จากกลุ่มตัวอย่าง 40 คน พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.63 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพ “มากที่สุด”

คำสำคัญ: คัทเอาท์แอนิเมชั่น, ประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น
  2. เพื่อศึกษาคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น
  3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น
  4. เพื่อประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีแนวทางในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น
  2. ทราบถึงคุณภาพของสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่นจากผู้เชี่ยวชาญ
  3. ทราบถึงความคิดเห็นที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น จากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  4. สามารถประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีแนวทางในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี

คำนิยามศัพท์เฉพาะ

  • คัทเอาท์แอนิเมชั่น (Cut-out Animation) หมายถึง สื่อที่ผลิตขึ้นโดยการใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวิธีการวาด การออกแบบ และตัดต่อวีดีโอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการนำเฟรมต่าง ๆ ของแต่ละช่วงเวลามาเรียงต่อ ๆ กัน เหมือนกับเทคนิคการวาดภาพเคลื่อนไหว
  • การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ไปสู่กลุ่ม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และแนะน าคณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน
  • ภาพลักษณ์ หมายถึง ความคิดในแง่บวกและแง่ลบที่เกิดขึ้นในใจของบุคคลทั่วไปที่มีต่อ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จนทำให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมา

ขอบเขตการศึกษา

  1. ด้านเนื้อหา
    เนื้อหาและข้อมูลสำหรับการผลิตสื่อ “การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น” มีความยาว 2.36 นาที แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ช่วง ดังต่อไปนี้

    1. ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    2. แนะนำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
    3. เชิญชวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
  2. ด้านเทคนิค
    โปรแกรมที่ใช้ในผลิตสื่อ “การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น” ประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้

    1. โปรแกรมสำหรับวาดภาพ โปรแกรมอะโดบี โฟโต้ช็อป ซีเอสหก (Adobe Photoshop CS6)
    2. โปรแกรมสำหรับทำวีดีโอและเอฟเฟกต์ โปรแกรมอะโดบี อาฟเตอร์เอฟเฟกต์ ซีเอสหก (Adobe After Effects CS6)
    3. โปรแกรมส าหรับตัดต่อ โปรแกรมอะโดบี พรีเมียร์โปร ซีเอสหก (Adobe Premiere Pro CS6)
  3. ประชากร
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2558
  4. กลุ่มตัวอย่าง
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)
  5. ผู้เชี่ยวชาญ
    ผู้เชี่ยวชาญสำหรับตรวจสอบและประเมินคุณภาพสื่อ “การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น” มีทั้งหมด 3 ด้าน รวมเป็น 5 ท่าน

    1. ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 1 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาเกี่ยวกับคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
    2. ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องสำหรับการผลิตสื่อแอนิเมชั่น จำนวน 2 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้มีความรู้และประสบการณ์โดยตรง
    3. ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ สำหรับการผลิตสื่อแอนิเมชั่น จำนวน 2 ท่าน โดยคัดเลือกจากผู้มีความรู้และประสบการณ์โดยตรง

สรุปผลการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

สรุปผลการศึกษาคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น จากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 ท่าน สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ โดยแบ่งผลการประเมินเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอข้อมูล ด้านการออกแบบ ด้านการวาดและลายเส้น ด้านแสงและเงา ด้านมุมกล้อง ด้านการเคลื่อนไหว และด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ ซึ่งได้สรุปแต่ละ หัวข้อดังต่อไปนี้

  1. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา
    จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านเนื้อหา พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีผลการประเมินด้านเนื้อหาเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.55 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 สามารถสรุปได้ว่า เนื้อหาสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย มีความถูกต้อง และสามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่เนื้อหาบางส่วนยังไม่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน ควรเพิ่มเนื้อหาที่สามารถบ่งบอกรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ที่รับชมสื่อมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
  2. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการนำเสนอข้อมูล
    จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านการนำเสนอข้อมูล พบว่า โดยภาพรวม คุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านการนำเสนอข้อมูลเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.32 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 สามารถสรุปได้ว่า การนำเสนอข้อมูลเหมาะสมกับการประชาสัมพันธ์ การนำเสนอข้อมูลมีระยะเวลาที่ความเหมาะสม กระชับและเข้าใจง่าย รูปแบบของตัวอักษรที่ใช้นำเสนอมีความเหมาะสม ไม่หนาหรือบางจนเกินไป ส่วนการนำเสนอข้อมูลในเรื่องของความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงในบางจุดยังขาดความต่อเนื่องและยังไม่มีจุดเด่นมากพอ ขนาดของตัวอักษร ที่ใช้นำเสนออาจจะมีขนาดเล็กและไม่อยู่ตรงกับจุดรวมสายตาหรือกฎสามส่วน ทำให้ตัวอักษรไม่โดดเด่น
  3. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบ
    จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านการออกแบบ พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านการออกแบบเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.28 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 สามารถสรุปได้ว่า ขนาดของตัวละคร ขนาดขององค์ประกอบ และความสมดุลของภาพมีความเหมาะสมกับสื่อ จุดเด่นของภาพยังมีไม่มากพอ ส่วนการลงสี อาจมีการลงสีผิดจุดทำให้การสื่อความหมายเปลี่ยนไปไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ
  4. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการวาดและลายเส้น
    จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านการวาดและลายเส้น พบว่า โดยภาพรวม คุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านการวาดและลายเส้นเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62 สามารถสรุปได้ว่า ลายเส้นมีความชัดเจนและสวยงาม ความหนาบางของเส้นและรายละเอียดของภาพในบางซีนยังขาดความละเอียดเล็กน้อย สัดส่วนของภาพยังขาดความถูกต้องสมจริงในบางจุด
  5. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านแสงและเงา จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านแสงและเงา พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านแสงและเงาเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.20 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45 สามารถสรุปได้ว่า ระดับความสว่างและระดับความมืดมีความเหมาะสม มิติของภาพมีความสมจริง แต่อาจจะมีบางจุดที่แสงและเงายังขาดความคมชัด
  6. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านมุมกล้อง
    จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านมุมกล้อง พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านมุมกล้องเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.47 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 สามารถสรุปได้ว่า ขนาดภาพมีความเหมาะสม การจัดวางองค์ประกอบและรายละเอียดของภาพ มีความสวยงามและเหมาะสม แต่ยังขาดความหลากหลายของมุมกล้อง ซึ่งทำให้เกิดความน่าเบื่อ ควรปรับเปลี่ยนมุมกล้องในบางซีนเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมมากขึ้น
  7. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการเคลื่อนไหว จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านการเคลื่อนไหว พบว่า โดยภาพรวมคุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านการเคลื่อนไหวเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.40 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 สามารถสรุปได้ว่า การเคลื่อนไหวมีความไหลลื่นสมจริงการเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับระยะเวลา ยังขาดความต่อเนื่องในการนำเสนอในบางจุดจังหวะการเคลื่อนไหวไม่มีความน่าสนใจ มากพอ เนื่องจากมีจังหวะการเคลื่อนไหวซ้ำกันในหลาย ๆ จุด
  8. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ
    จากการประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ในด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ พบว่า โดยภาพรวม คุณภาพสื่ออยู่ในระดับ “มาก” มีผลการประเมินด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.47 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 สามารถสรุปได้ว่า สื่อนี้เหมาะกับการนำไปแนะแนวทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสำหรับเด็กชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องจากสื่อนี้มีประโยชน์ในด้านการศึกษา สามารถนำสื่อไปใช้งานจริงในด้านการประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนได้ และเกิดความสนใจในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนหลังจากรับชมสื่อ

สรุปผลความคิดเห็นที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง

  1. ผลสรุปข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
    จากการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น จากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2558 พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและเพศหญิงเท่ากัน และจำแนกตามแผนการเรียน วิทย์คณิต ศิลป์คำนวณ ศิลป์ภาษา และศิลป์ทั่วไป แผนการเรียนละ 10 คน เท่า ๆ กัน โดยส่วนใหญ่รู้จักคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีโดยการศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเอง
  2. ผลสรุปการประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง
    1. ด้านเนื้อหา โดยภาพรวมพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับมากที่สุด มีผลการประเมินด้านเนื้อหาเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.80 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40 สื่อความหมายได้ชัดเจนและสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การนำเสนอเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์ เนื่องจากเด็กในวัยมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสนใจในสื่อที่มีเทคนิคหรือรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนจนเกินไป อีกทั้งยังเป็นสื่อที่มีสาระอีกด้วย
    2. ด้านการนำเสนอข้อมูล โดยภาพรวมพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับ มากที่สุด มีผลการประเมินด้านการนำเสนอข้อมูลเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.61 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 การนำเสนอข้อมูลมีรูปแบบการนำเสนอที่แปลกใหม่ เพราะเทคนิคที่ใช้ยังไม่ได้รับความนิยมจากผู้คนมากนัก ทำให้สื่อคัทเอาท์แอนิเมชั่นเป็นสื่อที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ความต่อเนื่องของภาพในการนำเสนอและมีระยะเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากสื่อที่ใช้นำเสนอมีระยะเวลาไม่เกิน 3 นาที หากระยะเวลาเกินกว่านี้อาจทำให้เกิดความน่าเบื่อได้
    3. ด้านการออกแบบ โดยภาพรวมพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับ “มาก ที่สุด” มีผลการประเมินด้านการออกแบบเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.48 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 การเลือกใช้สีสามารถดึงดูดความสนใจของกลุ่มตัวอย่างได้มาก ลายเส้นมีความน่าสนใจ สวยงาม ตัวละครสื่อความหมายได้ชัดเจน เลือกใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย องค์ประกอบของภาพไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ส่วนขนาดของตัวอักษรมีขนาดเล็กทำให้อ่านยาก ควรเพิ่มขนาดของตัวอักษร
    4. ด้านการนำไปใช้ โดยภาพรวมพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีผลการประเมินด้านการนำไปใช้เฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.61 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นได้ เกิดความสนใจในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนหลังจากรับชมสื่อ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างบางส่วนยังไม่รู้จักคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จึงทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความสนใจในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน อีกทั้งยังสามารถนำความรู้จากการชมสื่อไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อได้อีกด้วย

อภิปรายผลการศึกษา

ในการศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น มีประเด็นที่น่าสนใจมาอภิปรายดังต่อไปนี้คือ

การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น ผ่านการตรวจทานปรับปรุงแก้ไขจากอาจารย์ที่ปรึกษาและวัดผล คุณภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 ท่าน สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ โดยแบ่งผลการประเมินเป็น 8 หัวข้อ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอข้อมูล ด้านการออกแบบ ด้านการวาดและลายเส้น ด้านแสงและเงา ด้านมุมกล้อง ด้านการเคลื่อนไหว และด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ และได้นำสื่อไปทดสอบกับจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2558 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) จากนั้นนำผลการ ประเมินคุณภาพของสื่อมาวิเคราะห์ พบว่า ด้านเนื้อหา มีความถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ ด้าการนำเสนอข้อมูล เหมาะสมกับการประชาสัมพันธ์ มีระยะเวลาที่เหมาะสม กระชับ และเข้าใจง่าย รูปแบบของตัวอักษรที่ใช้นำเสนอมีความเหมาะสม ด้านการออกแบบ ขนาดของตัวละคร ขนาดขององค์ประกอบ และความสมดุลของภาพมีความเหมาะสมกับสื่อ ด้านการวาดและลายเส้น มีความชัดเจนและสวยงาม ด้านแสงและเงา ระดับความสว่างและระดับความมืดมีความเหมาะสม ด้านมุมกล้อง ขนาดภาพมีความเหมาะสม การจัดวางองค์ประกอบได้ดี ด้านการเคลื่อนไหว จังหวะการเคลื่อนไหวมีความไหลลื่นสมจริง และด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ สื่อนี้เหมาะกับการนำไปแนะแนวทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สำหรับเด็กชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องจากสื่อนี้มีประโยชน์ในด้านการศึกษา สามารถนำสื่อไปใช้งานจริงในด้านการประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนได้ ในการศึกษาและจัดทำปริญญานิพนธ์เรื่อง “การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น” ทำให้ผู้จัดทำปริญญานิพนธ์ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการผลิตสื่อ ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น (Cut-out Animation) และสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้

จากการประเมินผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน ธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2558 สามารถอภิปรายผล การศึกษาได้ดังนี้ ด้านเนื้อหา สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนและสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การ นำเสนอเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์ ด้านการนำเสนอข้อมูล มีรูปแบบการนำเสนอที่แปลกใหม่ ด้านการออกแบบ ลายเส้นมีความน่าสนใจ สวยงาม และด้านการนำไปใช้ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นได้ เกิดความสนใจในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และสามารถนำความรู้จากการชมสื่อไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในตอนต้น ทั้งนี้การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ด้วยเทคนิคคัทเอาท์แอนิเมชั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีแนวทางในการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี

ปัญหาและอุปสรรค

  1. ระยะเวลาในการทำสื่อมีขีดจำกัด เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนซึ่งทางโรงเรียนจะปิดภาคเรียนภายในต้นเดือนมีนาคม จึงทำให้สื่อที่ผลิตออกมานั้นไม่สมบูรณ์มากเท่าที่ควร
  2. ทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์ (Hardware) ในการจัดทำสื่อยังมีประสิทธิภาพไม่มากพอ
  3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเสนอ (Projector) ต่อกลุ่มตัวอย่างแสดงภาพที่มีความละเอียดต่ำและปริมาณแสงในห้องที่ค่อนข้างสว่าง มีผลทำให้กลุ่มตัวอย่างมองเห็นสื่อได้ไม่ชัดเจน

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
    1. ข้อเสนอแนะด้านการวาดและลายเส้น ลายเส้นมีความน่าสนใจดี
    2. ข้อเสนอแนะด้านการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวโดยรวมมีความลื่นไหล จังหวะกระชับ
    3. ข้อเสนอแนะด้านมุมกล้อง มีความลงตัว สวยงาม และเหมาะสม
    4. ข้อเสนอแนะด้านแสงและเงา ภาพสีมีผลต่อความคมชัดของแสงและเงา มีมิติมากขึ้น แสงและเงาชัดเจนต่างจากครั้งก่อนที่เป็นภาพขาวดำ
    5. ข้อเสนอแนะด้านเนื้อหา ควรมีเนื้อหาที่บ่งบอกรายละเอียดเพื่อให้เห็นแนวคิดในแต่ละสาขาให้ชัดเจน
    6. ข้อเสนอแนะด้านการนำเสนอข้อมูล เพิ่มเติมลักษณะของการเคลื่อนไหวตามลักษณะของตัวละคร การเคลื่อนที่หลายส่วนยังขาดความต่อเนื่องและยังไม่มีจุดเด่นมากพอ ควรมีจังหวะการเคลื่อนไหวให้มีลูกเล่นมากกว่านี้
    7. ข้อเสนอแนะด้านทัศนคติหลังรับชมสื่อ เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ดูง่าย เข้าใจง่าย กระชับ
    8. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ผู้จัดทำสามารถต่อยอดสื่อชิ้นนี้ได้ สามารถพัฒนาได้อีกในอนาคต ทั้งคาแรคเตอร์ที่อาจจะนำเสนอเป็นลายเส้นการ์ตูนที่ละเอียดขึ้น การนำเสนอมุมกล้องที่มีความละเอียดมากขึ้น รวมไปถึงเสียงประกอบ อาจจะทำให้สื่อชิ้นนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
  2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง
    1. สื่อน่าสนใจและมีประโยชน์มาก
    2. สื่อสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ลายเส้นสวยงาม
    3. ควรเพิ่มขนาดของตัวอักษรและความสว่าง
  3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
    1. แสงและเงาของวัตถุบางชิ้นยังไม่สมจริง
    2. ควรเพิ่มขนาดของตัวอักษรและเพิ่มพื้นหลังของคำอธิบายสาขา เพื่อให้ผู้ชม สามารถมองเห็นคำอธิบายสาขาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

รับชมผลงาน