The production of animated films to promote sufficient economy by stop motion technique

จัดทำโดย ปณิฉัตร ชูวงศ์วาลย์, กัลธิราห์ จงบรรจบ และ พชร กล่อมศรี

ปีการศึกษา 2552


บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เทคนิค Stop Motion ด้วยวัสดุดินน้ำมัน

ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาค้นคว้าและทำการเก็บรวบรวมข้อมูล เขียนบทภาพยนตร์ ศึกษาลักษณะวัสดุที่ใช้ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ กำหนดเวลาในการถ่ายทำ เตรียมความพร้อมในการถ่ายทำ ดำเนินการถ่ายทำโดยใช้กล้อง Canon EOS 350D ลำดับภาพ ใส่เอฟเฟคท์และเสียง จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้บันทึกเป็นVCD แล้วนำไปตรวจสอบคุณภาพสื่อโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านคุณภาพของเนื้อหา และด้านคุณภาพของภาพยนตร์แอนิเมชั่น จากนั้นฉายให้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน และทำการประเมินผลที่ได้หลังจากการชมภาพยนตร์แอนิเมชั่นด้วยค่าสถิติแบบร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากการศึกษาและจัดทำปริญญานิพนธ์ ผลออกมาอยู่ในเกณฑ์ดีมากที่สุด ในการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นต้องศึกษาเรื่องของการตีความหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง การดำเนินเรื่องจะต้องมีความกระชับ การเลือกใช้วัสดุจะต้องเหมาะสมกับสภาพทั่วไปของการถ่ายทำ การผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นจะต้องออกแบบตัวละครกับฉากต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ต้องต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน ส่วนการใช้เทคนิค Stop Motion มีความน่าสนใจและทำให้ผู้ชมรู้สึกติดตามมากขึ้น จากผลการประเมินของกลุ่มตัวอย่าง และผู้ทรงคุณวุฒิ


วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

  1. เพื่อศึกษากระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เพื่อศึกษาเทคนิค Stop Motion ด้วยวัสดุดินน้ำมัน สำหรับการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทราบถึงกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ทราบถึงเทคนิค Stop Motion ด้วยวัสดุดินน้ำมัน สำหรับการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

การศึกษาครั้งนี้เป็นการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นโดยใช้เทคนิค Stop Motion มีความยาว 6 นาที ชื่อเรื่อง “บ้านนี้พอเพียง” โดยได้แนวคิดการสร้างความประหยัดในครอบครัวจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ดินน้ำมันปั้นเป็นตัวนักแสดง และองค์ประกอบฉากต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องราวในครอบครัวหนึ่งที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องของความประหยัดในครอบครัวมาปฏิบัติ ถ่ายทำโดยใช้กล้อง Canon EOS 350D ลำดับภาพ ใส่เอฟเฟคท์และเสียง จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้บันทึกเป็นVCD แล้วนำไปตรวจสอบคุณภาพสื่อโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านคุณภาพของเนื้อหา และด้านคุณภาพของภาพยนตร์แอนิเมชั่น จากนั้นฉายให้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน และทำการประเมินผลที่ได้หลังจากการชมภาพยนตร์แอนิเมชั่น


อภิปรายผลการศึกษาจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง

จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับชมการนำเสนอสื่อด้วยเทคนิค Stop Motion มากนัก เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วมีความคิดเห็นว่าเทคนิค Stop Motion สามารถนำไปสร้างสรรค์สื่ออื่น ๆ ได้อีก การสร้างตัวละคร องค์ประกอบ และการนำเสนอ สามารถทำให้ผู้ชมเกิดความสนใจ และเข้าใจเนื้อหาได้ทันที ผู้ชมสามารถนำข้อคิดและข้อปฏิบัติที่ได้จากการรับชมภาพยนตร์ เป็นแนวทางและการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเรื่องความประหยัดในครอบครัวได้

อภิปรายผลการศึกษาจากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญ

จากการผลการศึกษาจากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญ สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ด้านการใช้เทคนิค Stop Motion
    ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความเหมาะสมของดินน้ำมันและการเลือกใช้สีในการปั้นตัวละครและองค์ประกอบ ตัวละครที่ทำจากดินน้ำมันมีความดึงดูดใจในการรับชม และการใช้เทคนิค Stop Motion สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชม อยู่ในระดับ “มากที่สุด” การเคลื่อนไหวของตัวละครมีการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง การขยับของตัวละครมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาของภาพยนตร์ และภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้รู้จักเทคนิค Stop Motion  อยู่ในระดับ “มาก” ตามลำดับ ส่วนค่าเบี่ยงเบนมีสอดคล้องไปในทางเดียวกันทุกข้อ
  • ด้านภาพและองค์ประกอบของภาพยนตร์แอนิเมชั่น
    ภาพยนตร์เรื่องนี้ดึงดูดความสนใจของผู้ชม ภาพสามารถสื่อความหมายที่ต้องการนำเสนอได้ชัดเจน ภาพมีความสอดคล้องกับเนื้อหา เนื้อหามีความกระชับ เข้าใจได้ง่าย มีความสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การบรรยาย ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ อยู่ในระดับ “มากที่สุด” การดำเนินเรื่องมีความต่อเนื่อง เสียงประกอบมีความเหมาะสมกับภาพ อยู่ในระดับ “มาก” ตามลำดับ ส่วนค่าเบี่ยงเบนมีสอดคล้องไปในทางเดียวกันทุกข้อ
  • ด้านการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถสามารถสื่อความหมายถึงการประหยัดในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างชัดเจน รู้จักการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประหยัดในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำข้อคิดหรือข้อปฏิบัติจากภาพยนตร์ไปใช้ได้ และสามารถส่งเสริมการใช้ชีวิตที่พอเพียงได้ อยู่ในระดับ “มากที่สุด” ตามลำดับ ส่วนค่าเบี่ยงเบนมีสอดคล้องไปในทางเดียวกันทุกข้อ

สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาและจัดทำปริญญานิพนธ์ เรื่อง การผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้เทคนิค Stop Motion ผลออกมาอยู่ในเกณฑ์ “ดีมากที่สุด” ในการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น ต้องศึกษาเรื่องของการตีความหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง การดำเนินเรื่องจะต้องมีความกระชับ การเลือกใช้วัสดุจะต้องเหมาะสมกับสภาพทั่วไปของการถ่ายทำ การผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นจะต้องออกแบบตัวละครกับฉากต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ต้องต่อเนื่องและสัมพันธ์ ส่วนการใช้เทคนิค Stop Motion มีความน่าสนใจและทำให้ผู้ชมรู้สึกติดตามมากขึ้น ผู้ที่ได้รับชมภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง “บ้านนี้พอเพียง” เกิดแนวคิดและสามารถนำข้อปฏิบัติจากภาพยนตร์เรื่องของความประหยัดในครอบครัวไปใช้ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากผลการประเมินของกลุ่มตัวอย่างและผู้ทรงคุณวุฒิ

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรศึกษาคุณลักษณะของวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการถ่ายทำ
  2. ควรศึกษาความต้องการของกลุ่มตัวอย่างก่อน เพื่อการสร้างสื่อที่มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง
  3. ควรเพิ่มอัตราส่วนภาพต่อวินาทีเพื่อความละเอียดของการเคลื่อนไหว และควรเพิ่มเทคนิค วิธีการนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม
  4. ควรปรับแต่งคุณภาพเสียง ระดับความดัง – เบาของเสียง ใช้สถานที่และอุปกรณ์ในการบันทึกเสียงที่มีคุณภาพ

รับชมผลงาน