Virtual Tour for Rajamangala University of Technology

จัดทำโดย กรรณิการ์ มีพริ้ง, กิตติมาศ แพงศรี, เจตน์พล หงษ์เวียงจันทร์ และ ปิยณัฐ คันธะด้วง

ปีการศึกษา 2554


บทคัดย่อ

การศึกษาโครงการ การผลิตสื่อเสมือนจริงเพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรีเป็นการศึกษาเพื่อออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบสื่อความเป็นจริงเสมือนเพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยทำการสร้าง Virtual Tour ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและนำเสนอผ่านทางเว็บไซต์

จากการศึกษาพบว่า การจัดทำครั้งนี้ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยไปยังกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้งานรูปแบบสื่อความเป็นจริงเสมือนผ่านเว็บ ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดี มากไปกว่านั้น ยังมีการประเมินผลความพึงพอใจในการใช้งานของผู้ใช้ ตลอดจนกระบวนการและขั้นตอนในการทำ เริ่มต้นจากความต้องการจากผู้ใช้ไปจนถึงการออกแบบรูปแบบ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องการออกแบบสื่อความเป็นจริงเสมือน ผลลัพธ์ของปริญญานิพนธ์นี้ คือ โปรแกรมทั้งส่วนติดต่อและแสดงผลแก่ผู้ใช้ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ออกแบบสื่อความเป็นจริงเสมือนผ่านเว็บได้ และตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้

คำสำคัญ: สื่อเสมือนจริง


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบสื่อความเป็นจริงเสมือนเพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนนักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่มีต่อสื่อความเป็นจริงเสมือนในการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักศึกษาสามารถผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อเสมือนจริงเพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ขอบเขตการศึกษา

ทำการศึกษาโดยการสร้างสื่อเสมือนจริงในรูปแบบ Virtual Tour 10 คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และสถานที่สำคัญดังนี้ หอประชุมราชมงคล สำนักอธิการบดี สนามฟุตบอล สระว่ายน้ำ หอพักนักศึกษา สำนักงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการนักศึกษา บ้านพักอาจารย์ โรงอาหารกลาง ลานอนันตรังสรรค์ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รวมทั้งหมด 26 จุด ถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิทัล (DSLR) จากนั้นนำภาพมาต่อให้ภาพพาโนรามา 360 องศา และนำเสนอบนเว็บไซต์ในรูปแบบสื่อความเป็นจริงเสมือน (Virtual Tour) โดยสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผลงานได้ เช่น มีเสียง ดนตรี คำบรรยาย ตัวหนังสือ และภาพประกอบ


สรุปผลการศึกษา/อภิปราย/ข้อเสนอแนะ

ในการศึกษาและจัดทำปริญญานิพนธ์ เรื่อง รูปแบบสื่อเสมือนจริงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และได้มีการประเมินผลโดยการสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 100 คน ที่ได้รับชมสื่อเสมือนจริง ผู้จัดทำสามารถสรุปและอภิปรายผลการศึกษา ได้ดังนี้

สรุปผลการศึกษาจากตารางแสดงผลผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด

สรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

  1. เนื้อหาและข้อมูลต่าง ๆ มีประโยชน์
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.66
  2. เนื้อหาและข้อมูลต่าง ๆ ตรงกับความต้องการ
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.35
  3. ความถูกต้องของข้อมูลต่าง ๆ
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.34
  4. ความทันสมัยของข้อมูลต่าง ๆ
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.43
  5. ความสะดวกในการค้นหาและประมวลผล
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.42
  6. หน้าโฮมเพจมีความสวยงาม เหมาะสม และน่าสนใจ
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.24
  7. การจัดรูปแบบเว็บไซต์ง่ายต่อการอ่านและการใช้งาน
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.49
  8. รูปแบบตัวอักษรอ่านได้ง่ายและสวยงาม
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.44
  9. ขนาดของตัวอักษรอ่านได้ง่ายและเหมาะสม
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.43
  10. สีของตัวอักษรชัดเจนและเหมาะสม
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.24
  11. ความเร็วในการโหลดภาพ
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.05
  12. ขนาดของภาพที่แสดงในหน้าจอเหมาะสม
    ผลของการศึกษากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ “มาก” คิดเป็นค่าเฉลี่ยกลางได้ 4.45

จากผลสรุปข้างต้นสรุปได้ว่า ตัวผลงานสามารถสื่อถึงประโยชน์ของเนื้อหาข้อมูลต่าง ๆ ของงานได้อย่างดีมาก ซึ่งเป็นผลที่น่าพอใจ รองลงมาคือ การจัดรูปแบบของผลงานที่ไม่ซับซ้อนเข้าใจง่ายและใช้งานได้ง่าย ส่วนสิ่งที่ต้องปรับปรุง คือ ความเร็วในการโหลดภาพซึ่งโหลดได้ช้าพอสมควร ซึ่งมีผลจากหลายปัจจัย คือ ขนาดของไฟล์ภาพและตัวงานที่มีขนาดใหญ่ ความเร็วของอินเทอร์เน็ตในพื้นที่การให้บริการของเว็บไซต์ รวมถึงอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการศึกษาและแก้ไขกันต่อไป

อภิปรายผลการศึกษา

รูปแบบสื่อเสมือนจริงสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ที่ต้องการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ผลออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ภาพสวยงาม องค์ประกอบของหน้าเว็บเพจสวยงามและเหมาะสม

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรจะเพิ่มข้อมูลที่เป็นข้อมูลหลัก อธิบายความสำคัญในแต่ละสถานที่
  2. เนื้อหาที่นำเสนอน่าสนใจ แต่ควรจะเพิ่มลวดลายของหน้าเพจ ให้มีรายละเอียดมากกว่านี้
  3. การโหลดภาพยังช้าอยู่ ควรปรับปรุงให้โหลดภาพเร็วกว่านี้
  4. หน้าเว็บเพจเป็นท้องฟ้า ซึ่งทำให้กลมกลืนกับภาพที่นำเสนอ ภาพผลงานจึงไม่เด่น