3 DIMENSION GAMES WITH VIRTUAL REALITY TECHNOLOGY “HIDDEN STUDIO”

จัดทำโดย นนทนันท์ มั่นคง;วิษณุ จันทชาติ;กิตติพัฒน์ แปลงไธสง;ดรัณภพ เสวีศรีรัฐ;สิรีพิศุทธิ์ นิยมสมาน และ พิตตินันท์ ชุมทอง

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” มีวัตถุประสงค์ศึกษาเพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” 2) เพื่อผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”

เกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” เป็นเกมที่ผู้วิจัยได้นำเทคโนโลยีเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality, VR) เข้ามาทำงานร่วมกับเกมเพื่อให้ผู้เล่นได้มีอรรถรสเพิ่มขึ้น โดยนำเกมไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการผลิตเกมทำการประเมินทั้งหมด 7 ท่านและนำไปให้กลุ่มตัวอย่างทดลองเล่น คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คนทำการประเมินและนำมาสรุปด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความคิดเห็น

ผลการศึกษาพบว่าการประเมิลผลการประเมิลผลจากผู้เชี่ยว 7 ท่านโดยแบ่งเป็น 5 ด้านดังนี้ ด้านการออกแบบเกมอยู่ในระดับดี (?̅ = 3.64) เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นว่า รูปแบบของเกมและวีธีการเล่น ทำออกมาได้น่าสนใจ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ด้านโมเดลสามมิติอยู่ในระดับดี (?̅ = 3.89) เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า มีความสวยงามคล้ายกับของจริง ด้านการใช้งานเกมอยู่ในระดับพอใช้ (?̅ = 3.25 ) เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า ตัวระบบเกมทำได้ไม่ซับซ้อนเข้าใจง่าย เล่นง่าย ด้านเสียงอยู่ในระดับพอใช้ (?̅ = 3.24) เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า จังหวะในการใช้เสียงน่าสนใจ ตรงกับรูปแบบของเกม และด้านเทคนิคอยู่ในระดับพอใช้ (?̅ = 3.86) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า สามารถทำให้ตัวเกมมีความน่าสนใจได้ดี มีการนำเทคโนโลยีอื่นมาใช้ในเกม

คำสำคัญ : เกมสามมิติ, เทคโนโลยีเสมือนจริง


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”
  2. เพื่อผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”
  3. เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”

ขอบเขตการศึกษา

  1. ด้านเนื้อหา
    การผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” โดยจะนำเสนอในรูปแบบของมุมมองบุคคลที่หนึ่ง สามารถเลือกด่านได้ โดยจะมีให้เลือก 3 ด่านด้วยกัน เริ่มด่านโดยที่แต่ละด่านจะให้ผู้เล่นหาสิ่งของตามที่กาหนด โดยที่จะมีเวลาให้ 5 – 10 นาที ตามด่านไปและ ณ จุดต่าง ๆ ของเกมจะมีการ Jump scary ทำให้ผู้เล่นเกิดความตื่นตกใจโดยรายละเอียดของแต่ละด่านได้ดังนี้

    1. ด่านที่ 1 : ด้านเกิดขึ้นในห้องเก็บของห้องโทรทัศน์ มีของให้เก็บของ ทั้งหมด 5 ชิ้นมีเวลาให้ทั้งหมด 05.00
    2. ด่านที่ 2 : ของอยู่ในโรงหนังซึ่งจะมีของให้เก็บทั้ง 10 ชิ้น มีเวลาให้ทั้งหมด 10 นาที
    3. ด่านที่ 3 : จะให้ผู้เล่นหาของในสตูดิโอภาพนิ่งมีของให้เก็บทั้งหมด 10 ชิ้น มีเวลาให้ทั้งหมด 12 นาที
  2. ด้านเทคนิค
    ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตเกม 3 มิติมาใช้ในการออกแบบ และนำเสนอออกมาในลักษณะของเกมที่ใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง มีเสียงดนตรีและเสียงประกอบอื่น ๆ สามารถเล่นผ่านคอมพิวเตอร์ โดยใช้อุปกรณ์เสริม คือ แว่น Oculus Rift ในการรับชม โดยการสร้างและเคลื่อนไหวตัวละครในโปรแกรม MAYA ลงสีและตกแต่งภาพประกอบในโปรแกรม Adobe Photoshop บันทึกและปรับแต่งเสียงโดยใช้โปรแกรม Adobe Auditions ทำการ Composite และเขียนโค้ดโปรแกรมด้วยภาษา C# และ Java ในโปรแกรม Unity3D และประมวลผลออกมากเป็นไฟล์สกุล.EXE สำหรับเล่นในคอมพิวเตอร์
  3. ด้านประชากรกลุ่มตัวอย่าง
    1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
    2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จานวน 30 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. เกมสามมิติ หมายถึง ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อความบันเทิงชนิดหนึ่งในรูปแบบของการนำเอาภาพสามมิติมาประยุกต์เล่นในคอมพิวเตอร์โดยใช้ภาษาต่าง ๆ มาเขียนตามแนวทางของผู้สร้างเกมว่า สร้างให้เสมือนจริงหรือสร้างแบบเน้นกราฟิก การสื่อด้วยเทคนิคด้านภาพที่สมจริงโดยใช้ภาพแอนิเมชั่น เป็นต้น ลักษณะทั่วไปของเกมสามมิติ คือ เป็นการจำลองสถานการณ์เพื่อให้ผู้เล่นแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมที่สมจริง
  2. เทคโนโลยีเสมือนจริง หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมจริงและในจินตนาการขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้จำลองเพียงภาพและเสียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประสาทสัมผัสด้านอื่นด้วย โดยการใส่อุปกรณ์ เช่น VR Glasses ถุงมือ เมาส์ จอยส์ เป็นต้น
  3. ฮิดดัน สตูดิโอ (Hidden Studio) หมายถึง แนวเกมพัซเซิล (Pazzle) แอบมีความหลอนเข้ามาด้วย ซึ่งเป็นเกมที่จะให้เราหาของตามเวลาที่กาหนดแล้วผ่านด่านไปเรื่อย ๆ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้รับความรู้จากการศึกษาการผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”
  2. ได้เกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริงที่มีคุณภาพ
  3. ได้ทราบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” ที่มีคุณภาพ
  4. ได้รับความเพลิดเพลินในการเล่นเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”
  5. เป็นข้อมูลให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้ เพื่อนาผลไปใช้ในการศึกษาอ้างอิงต่อไป

สรุปผลการศึกษา

การจัดทำปริญญานิพนธ์เรื่อง การผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน
สตูดิโอ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยมีการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน แบ่งเป็น 5 ด้าน โดยผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบ อยู่ในเกณฑ์ ดี (X = 3.64) ด้านโมเดลสามิติ อยู่ในเกณฑ์ ดี (X =3.89) ด้านการใช้งานเกม อยู่ในเกณฑ์ พอใช้ (X =3.25) ด้านเสียง อยู่ในเกณฑ์ พอใช้ (X =3.24) ด้านเทคนิค อยู่ในเกณฑ์ พอใช้ (X=3.86) และมีกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจจำนวน 30 คน ด้านการออกแบบ อยู่ในเกณฑ์ ดี (X =4.37) ด้านโมเดลสามิติ อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก (X =4.56) ด้านการใช้งานเกม อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก (X =4.55) ด้านเสียง อยู่ในเกณฑ์ ดี (X =4.36) ด้านเทคนิค อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก (X =4.75)

อภิปรายผลการศึกษา

  1. ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
    1. ด้านการออกแบบเกม อยู่ในระดับ ดี (X = 3.64) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นว่า ตัวเกมโดยรวมออกแบบมาได้น่าสนใจ ฉากภายในเกมมีความคล้ายสถานที่จริง ทำให้ตัวเกมดูสมจริงมากยิ่งขึ้น การจัดวางตำแหน่งของข้อความในส่วนต่าง ๆ มองเห็นได้ง่าย สีตัวข้อความและตัวอักษรภายในเกมโดดเด่นชัดเจน รูปแบบของฟอนต์ที่ใช้อ่านง่ายเป็นไปในทางเดียวกับรูปแบบเกม
    2. ด้านโมเดล 3 มิติ อยู่ในระดับ ดี (X =3.89) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า โมเดลสามมิติของฉากมีความสวยงาม สามารถเลือกใช้สีของพื้นผิวได้เหมือนของจริง แต่อาจจะยังมีบางจุดพื้นผิวยืดไปบ้าง โมเดลตัวละครทำออกมาได้น่ากลัวตรงกับรูปแบบเกมมีความสวยงาม
    3. ด้านการใช้งานเกม อยู่ในระดับ พอใช้ (X =3.25) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า ตัวระบบเกมทำออกมาได้ดี ไม่ซับซ้อน ผู้เล่นใหม่สามารถเข้าใจระบบและวิธีการเล่นได้ง่าย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นที่ดี การหยิบจับสิ่งของเหมือนจริง ตัวเกมแต่ละด่านมีความแตกต่างกันทำให้ไม่เบื่อได้ง่าย ผู้ที่มีประสบการณ์เคยใช้แว่น VR มาก่อนไม่มีอาการมึนงงขณะเล่น ส่วนผู้ที่ไม่เคยสัมผัสเกม VR มาก่อนอาจจะมีอาการมึนหัวในช่วงแรกแต่จะปรับตัวได้ในภายหลัง
    4. ด้านเสียง อยู่ในระดับ พอใช้ (X =3.24) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า เสียงภายในเกมมีความเหมาะสมตรงกับรูปแบบของเกม เสียงในบางจังหวะสามารถทำให้ผู้เล่นตกใจได้ เสียงประกอบ อาทิ เสียงการกดปุ่ม เสียงเมื่อหาของได้ถูกต้อง มีการใช้เสียงที่เหมาะสมตื่นเต้นไปกับเกม
    5. ด้านเทคนิค อยู่ในระดับ พอใช้ (X =3.86) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า มี
      การนาเทคโนโลยี VR มาใช้ได้เหมาะสม สามารถดึงความสามารถของอุปกรณ์ Oculus Rift มาใช้ได้ครบถ้วน เพิ่มความแปลกใหม่และความน่าสนใจให้กับตัวเกมทำให้เกมมีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
  2. ผลการประเมินจากกลุ่มตัวอย่าง
    1. ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับ ดี (X =4.37) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า สามารถออกแบบฉากได้น่าสนใจดูตื่นเต้นเร้าใจ UI (User Interface) รูปแบบของฟอนต์ และสีของฟอนต์ มีความน่าสนใจ จัดวางได้สวยงามแปลกใหม่ สามารถดึงดูดผู้เล่นให้มีปฏิสัมพันธ์ได้ง่าย
    2. ด้านโมเดล 3 มิติ อยู่ในระดับ ดีมาก (X =4.56) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความ
      คิดเห็นว่า โมเดล 3 มิติที่นำมาใช้มีลักษณะคล้ายกับของในสถานที่จริง นักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เคยใช้สถานที่จริงมาก่อนจึงคุ้นเคยได้ง่ายสามารถผ่านด่านได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่เคยใช้สถานทีจริง โมเดลตัวละครมีความน่ากลัวทำให้ตกใจได้ง่าย
    3. ด้านการใช้งานเกม อยู่ในระดับ ดีมาก (X =4.55) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า มีระบบการเล่นที่แปลกใหม่ แต่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป ผู้เล่นใหม่สามารถเข้าใจได้ง่าย แต่ผู้เล่นที่ไม่เคยเล่นเกมหรือสัมผัสประสบการณ์ VR มาก่อนอาจจะมีอาการมึนหัวเล็กน้อยในช่วงแรกแต่จะสามารถปรับตัวได้ในภายหลัง
    4. ด้านเสียง อยู่ในระดับ ดี (X =4.36) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า เสียงภายในเกมมีความเหมาะสมตรงกับรูปแบบของเกม เสียงในบางจังหวะสามารถทำให้ผู้เล่นตกใจได้ เสียงประกอบ อาทิ เสียงการกดปุ่ม เสียงเมื่อหาของได้ถูกต้อง มีการใช้เสียงที่เหมาะสมตื่นเต้นไปกับเกม
    5. ด้านเทคนิค อยู่ในระดับ ดีมาก (X =4.75) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า อุปกรณ์ Oculus Rift มีความแปลกใหม่ ผู้เล่นส่วนใหญ่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนอาจจะมีอาหารมึนหัวในช่วงแรก แต่เมื่อปรับตัวได้แล้วจะทาให้ตัวเกมน่าสนใจมากขึ้นการหยิบจับสิ่งของดูสมจริง มีการใช้ปุ่มที่คล้ายกับการกำมือหยิบของทำให้ผู้เล่นคุ้นชินได้ง่าย

ข้อเสนอแนะในการวิจัย

  1. ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ
    1. ด้านการออกแบบ ผู้เล่นสามารถเข้าใกล้ฉากได้มากเกินไปทำให้มีอาการไม่สบายตา และวัตถุจมพื้นซึ่งสาเหตุมาจากการสร้าง Collider ที่ชิดและพอดีกับพื้นหรือกำแพงมากเกินไปทำให้ไม่มีขอบเขตระหว่างผู้เล่นกับกำแพง และ UX (User experience) UI (User interface) ทำให้ผู้เล่นใช้งานได้ยาก รวมถึงการใช้ Font ของปุ่มอ่านยาก วิธีเล่นควรเปลี่ยนตำแหน่ง และเพิ่มคำอธิบาย
    2. ด้านโมเดลสามมิติ แอนิเมทตัวละครโดยจะแก้เรื่อง Timeline ให้เคลื่อนไหวได้ลื่นไหลมากยิ่งขึ้น UV ของโมเดลบางจุดยังมีข้อบกพร่อง การนำโพรีกอนเข้ามาในโปรแกรม Unity จะต้องเอาเข้ามาในรูปแบบ Soft edge เพื่อให้โมเดลมีความโค้งมน
    3. ด้านการใช้งานเกม โดยรวมแล้วผู้เล่นไม่รู้ว่า ตัวเกมให้ทำอะไร ซึ่งผู้เล่นส่วนมาก เมื่อเข้าเกมแล้วมักจะไม่หันไปดูรอบ ๆ ทำให้ไม่เห็นสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้ชัดเจน เรื่องเวลาในการเล่นอาจจะนานเกินไปทำให้ผู้เล่นที่ไม่เคยใช้อุปกรณ์จะมีอาการมึนงงในขณะเล่นและหลังจากเล่น
    4. ด้านเสียง ช่วงท้ายเกมควรเพิ่มเสียงเข้าไปเพื่อเป็นตัวช่วยในการบ่งบอกเวลา
    5. ด้านเทคนิค ปรับเรื่องของเลขเวลาหน่วยวินาที จากเดิมเป็นหลักเดียวให้เป็น 2 หลัก รวมไปถึงปิดช่องโหว่ของโมเดล และทำการเพิ่มให้การเก็บของมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น รวมไปถึงการเลือกใช้ปุ่มบนจอยให้เปลี่ยนมาใช้เป็นปุ่มเดียวเพื่อให้ผู้เล่นไม่งงต่อการเล่น
  2. ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง
    1. ด้านการออกแบบ คำแนะนำภายในเกมยังไม่ชัดเจน ผู้เล่นยังเข้าไม่เข้าใจมากนักว่า ตัวเกมให้ทำอะไร ควรเพิ่มเสียงบรรยาย หรือคำอธิบายให้จัดเจนกว่านี้
    2. ด้านโมเดลสามมิติ พื้นผิวของโมเดลบางชิ้นเมื่อมองใกล้ ๆ พื้นผิวยืดยังไม่ชัดเจน
    3. ด้านการใช้งานเกม ปุ่มกดสำหรับหยิบของกดไม่ถนัด ควรใช้ปุ่มเดียวกับปุ่มเลือกเมนู และผู้ทดสอบเกมส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางสายตา ทำให้มองไม่ค่อยชัดแต่ยังสามารถเล่นได้ เพราะตัวแว่นของ Oculus Rift ไม่สามารถปรับเพื่อรองรับค่าสายต่อของผู้เล่นแต่ละคนได้
    4. ด้านเสียง ควรเพิ่มเสียงเตือนเมื่อเวลาใกล้หมด เพื่อให้ผู้เล่นทราบขณะหาของภายในเกมอยู่
    5. ด้านเทคนิค ปรับเรื่องของการแสดงเลขนับเวลาถอยหลังให้ชัดเจนขึ้น

รับชมผลงาน