3 DIMENSION GAMES WITH VIRTUAL REALITY TECHNOLOGY “HIDDEN STUDIO”
จัดทำโดย นนทนันท์ มั่นคง;วิษณุ จันทชาติ;กิตติพัฒน์ แปลงไธสง;ดรัณภพ เสวีศรีรัฐ;สิรีพิศุทธิ์ นิยมสมาน และ พิตตินันท์ ชุมทอง
หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ปริญญานิพนธ์เรื่องการผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” มีวัตถุประสงค์ศึกษาเพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” 2) เพื่อผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”
เกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” เป็นเกมที่ผู้วิจัยได้นำเทคโนโลยีเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality, VR) เข้ามาทำงานร่วมกับเกมเพื่อให้ผู้เล่นได้มีอรรถรสเพิ่มขึ้น โดยนำเกมไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการผลิตเกมทำการประเมินทั้งหมด 7 ท่านและนำไปให้กลุ่มตัวอย่างทดลองเล่น คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คนทำการประเมินและนำมาสรุปด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความคิดเห็น
ผลการศึกษาพบว่าการประเมิลผลการประเมิลผลจากผู้เชี่ยว 7 ท่านโดยแบ่งเป็น 5 ด้านดังนี้ ด้านการออกแบบเกมอยู่ในระดับดี (?̅ = 3.64) เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นว่า รูปแบบของเกมและวีธีการเล่น ทำออกมาได้น่าสนใจ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ด้านโมเดลสามมิติอยู่ในระดับดี (?̅ = 3.89) เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า มีความสวยงามคล้ายกับของจริง ด้านการใช้งานเกมอยู่ในระดับพอใช้ (?̅ = 3.25 ) เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า ตัวระบบเกมทำได้ไม่ซับซ้อนเข้าใจง่าย เล่นง่าย ด้านเสียงอยู่ในระดับพอใช้ (?̅ = 3.24) เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า จังหวะในการใช้เสียงน่าสนใจ ตรงกับรูปแบบของเกม และด้านเทคนิคอยู่ในระดับพอใช้ (?̅ = 3.86) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า สามารถทำให้ตัวเกมมีความน่าสนใจได้ดี มีการนำเทคโนโลยีอื่นมาใช้ในเกม
คำสำคัญ : เกมสามมิติ, เทคโนโลยีเสมือนจริง
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”
- เพื่อผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”
- เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”
ขอบเขตการศึกษา
- ด้านเนื้อหา
การผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” โดยจะนำเสนอในรูปแบบของมุมมองบุคคลที่หนึ่ง สามารถเลือกด่านได้ โดยจะมีให้เลือก 3 ด่านด้วยกัน เริ่มด่านโดยที่แต่ละด่านจะให้ผู้เล่นหาสิ่งของตามที่กาหนด โดยที่จะมีเวลาให้ 5 – 10 นาที ตามด่านไปและ ณ จุดต่าง ๆ ของเกมจะมีการ Jump scary ทำให้ผู้เล่นเกิดความตื่นตกใจโดยรายละเอียดของแต่ละด่านได้ดังนี้- ด่านที่ 1 : ด้านเกิดขึ้นในห้องเก็บของห้องโทรทัศน์ มีของให้เก็บของ ทั้งหมด 5 ชิ้นมีเวลาให้ทั้งหมด 05.00
- ด่านที่ 2 : ของอยู่ในโรงหนังซึ่งจะมีของให้เก็บทั้ง 10 ชิ้น มีเวลาให้ทั้งหมด 10 นาที
- ด่านที่ 3 : จะให้ผู้เล่นหาของในสตูดิโอภาพนิ่งมีของให้เก็บทั้งหมด 10 ชิ้น มีเวลาให้ทั้งหมด 12 นาที
- ด้านเทคนิค
ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตเกม 3 มิติมาใช้ในการออกแบบ และนำเสนอออกมาในลักษณะของเกมที่ใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง มีเสียงดนตรีและเสียงประกอบอื่น ๆ สามารถเล่นผ่านคอมพิวเตอร์ โดยใช้อุปกรณ์เสริม คือ แว่น Oculus Rift ในการรับชม โดยการสร้างและเคลื่อนไหวตัวละครในโปรแกรม MAYA ลงสีและตกแต่งภาพประกอบในโปรแกรม Adobe Photoshop บันทึกและปรับแต่งเสียงโดยใช้โปรแกรม Adobe Auditions ทำการ Composite และเขียนโค้ดโปรแกรมด้วยภาษา C# และ Java ในโปรแกรม Unity3D และประมวลผลออกมากเป็นไฟล์สกุล.EXE สำหรับเล่นในคอมพิวเตอร์ - ด้านประชากรกลุ่มตัวอย่าง
- ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
- กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จานวน 30 คน
นิยามศัพท์เฉพาะ
- เกมสามมิติ หมายถึง ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อความบันเทิงชนิดหนึ่งในรูปแบบของการนำเอาภาพสามมิติมาประยุกต์เล่นในคอมพิวเตอร์โดยใช้ภาษาต่าง ๆ มาเขียนตามแนวทางของผู้สร้างเกมว่า สร้างให้เสมือนจริงหรือสร้างแบบเน้นกราฟิก การสื่อด้วยเทคนิคด้านภาพที่สมจริงโดยใช้ภาพแอนิเมชั่น เป็นต้น ลักษณะทั่วไปของเกมสามมิติ คือ เป็นการจำลองสถานการณ์เพื่อให้ผู้เล่นแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมที่สมจริง
- เทคโนโลยีเสมือนจริง หมายถึง เทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมจริงและในจินตนาการขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้จำลองเพียงภาพและเสียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประสาทสัมผัสด้านอื่นด้วย โดยการใส่อุปกรณ์ เช่น VR Glasses ถุงมือ เมาส์ จอยส์ เป็นต้น
- ฮิดดัน สตูดิโอ (Hidden Studio) หมายถึง แนวเกมพัซเซิล (Pazzle) แอบมีความหลอนเข้ามาด้วย ซึ่งเป็นเกมที่จะให้เราหาของตามเวลาที่กาหนดแล้วผ่านด่านไปเรื่อย ๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้รับความรู้จากการศึกษาการผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”
- ได้เกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริงที่มีคุณภาพ
- ได้ทราบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ” ที่มีคุณภาพ
- ได้รับความเพลิดเพลินในการเล่นเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน สตูดิโอ”
- เป็นข้อมูลให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้ เพื่อนาผลไปใช้ในการศึกษาอ้างอิงต่อไป
สรุปผลการศึกษา
การจัดทำปริญญานิพนธ์เรื่อง การผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง “ฮิดดัน
สตูดิโอ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและผลิตเกมสามมิติร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยมีการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน แบ่งเป็น 5 ด้าน โดยผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบ อยู่ในเกณฑ์ ดี (X = 3.64) ด้านโมเดลสามิติ อยู่ในเกณฑ์ ดี (X =3.89) ด้านการใช้งานเกม อยู่ในเกณฑ์ พอใช้ (X =3.25) ด้านเสียง อยู่ในเกณฑ์ พอใช้ (X =3.24) ด้านเทคนิค อยู่ในเกณฑ์ พอใช้ (X=3.86) และมีกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจจำนวน 30 คน ด้านการออกแบบ อยู่ในเกณฑ์ ดี (X =4.37) ด้านโมเดลสามิติ อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก (X =4.56) ด้านการใช้งานเกม อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก (X =4.55) ด้านเสียง อยู่ในเกณฑ์ ดี (X =4.36) ด้านเทคนิค อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก (X =4.75)
อภิปรายผลการศึกษา
- ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
- ด้านการออกแบบเกม อยู่ในระดับ ดี (X = 3.64) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นว่า ตัวเกมโดยรวมออกแบบมาได้น่าสนใจ ฉากภายในเกมมีความคล้ายสถานที่จริง ทำให้ตัวเกมดูสมจริงมากยิ่งขึ้น การจัดวางตำแหน่งของข้อความในส่วนต่าง ๆ มองเห็นได้ง่าย สีตัวข้อความและตัวอักษรภายในเกมโดดเด่นชัดเจน รูปแบบของฟอนต์ที่ใช้อ่านง่ายเป็นไปในทางเดียวกับรูปแบบเกม
- ด้านโมเดล 3 มิติ อยู่ในระดับ ดี (X =3.89) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า โมเดลสามมิติของฉากมีความสวยงาม สามารถเลือกใช้สีของพื้นผิวได้เหมือนของจริง แต่อาจจะยังมีบางจุดพื้นผิวยืดไปบ้าง โมเดลตัวละครทำออกมาได้น่ากลัวตรงกับรูปแบบเกมมีความสวยงาม
- ด้านการใช้งานเกม อยู่ในระดับ พอใช้ (X =3.25) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า ตัวระบบเกมทำออกมาได้ดี ไม่ซับซ้อน ผู้เล่นใหม่สามารถเข้าใจระบบและวิธีการเล่นได้ง่าย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นที่ดี การหยิบจับสิ่งของเหมือนจริง ตัวเกมแต่ละด่านมีความแตกต่างกันทำให้ไม่เบื่อได้ง่าย ผู้ที่มีประสบการณ์เคยใช้แว่น VR มาก่อนไม่มีอาการมึนงงขณะเล่น ส่วนผู้ที่ไม่เคยสัมผัสเกม VR มาก่อนอาจจะมีอาการมึนหัวในช่วงแรกแต่จะปรับตัวได้ในภายหลัง
- ด้านเสียง อยู่ในระดับ พอใช้ (X =3.24) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า เสียงภายในเกมมีความเหมาะสมตรงกับรูปแบบของเกม เสียงในบางจังหวะสามารถทำให้ผู้เล่นตกใจได้ เสียงประกอบ อาทิ เสียงการกดปุ่ม เสียงเมื่อหาของได้ถูกต้อง มีการใช้เสียงที่เหมาะสมตื่นเต้นไปกับเกม
- ด้านเทคนิค อยู่ในระดับ พอใช้ (X =3.86) ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า มี
การนาเทคโนโลยี VR มาใช้ได้เหมาะสม สามารถดึงความสามารถของอุปกรณ์ Oculus Rift มาใช้ได้ครบถ้วน เพิ่มความแปลกใหม่และความน่าสนใจให้กับตัวเกมทำให้เกมมีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
- ผลการประเมินจากกลุ่มตัวอย่าง
- ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับ ดี (X =4.37) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า สามารถออกแบบฉากได้น่าสนใจดูตื่นเต้นเร้าใจ UI (User Interface) รูปแบบของฟอนต์ และสีของฟอนต์ มีความน่าสนใจ จัดวางได้สวยงามแปลกใหม่ สามารถดึงดูดผู้เล่นให้มีปฏิสัมพันธ์ได้ง่าย
- ด้านโมเดล 3 มิติ อยู่ในระดับ ดีมาก (X =4.56) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความ
คิดเห็นว่า โมเดล 3 มิติที่นำมาใช้มีลักษณะคล้ายกับของในสถานที่จริง นักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เคยใช้สถานที่จริงมาก่อนจึงคุ้นเคยได้ง่ายสามารถผ่านด่านได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่เคยใช้สถานทีจริง โมเดลตัวละครมีความน่ากลัวทำให้ตกใจได้ง่าย - ด้านการใช้งานเกม อยู่ในระดับ ดีมาก (X =4.55) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า มีระบบการเล่นที่แปลกใหม่ แต่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป ผู้เล่นใหม่สามารถเข้าใจได้ง่าย แต่ผู้เล่นที่ไม่เคยเล่นเกมหรือสัมผัสประสบการณ์ VR มาก่อนอาจจะมีอาการมึนหัวเล็กน้อยในช่วงแรกแต่จะสามารถปรับตัวได้ในภายหลัง
- ด้านเสียง อยู่ในระดับ ดี (X =4.36) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า เสียงภายในเกมมีความเหมาะสมตรงกับรูปแบบของเกม เสียงในบางจังหวะสามารถทำให้ผู้เล่นตกใจได้ เสียงประกอบ อาทิ เสียงการกดปุ่ม เสียงเมื่อหาของได้ถูกต้อง มีการใช้เสียงที่เหมาะสมตื่นเต้นไปกับเกม
- ด้านเทคนิค อยู่ในระดับ ดีมาก (X =4.75) กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นว่า อุปกรณ์ Oculus Rift มีความแปลกใหม่ ผู้เล่นส่วนใหญ่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนอาจจะมีอาหารมึนหัวในช่วงแรก แต่เมื่อปรับตัวได้แล้วจะทาให้ตัวเกมน่าสนใจมากขึ้นการหยิบจับสิ่งของดูสมจริง มีการใช้ปุ่มที่คล้ายกับการกำมือหยิบของทำให้ผู้เล่นคุ้นชินได้ง่าย
ข้อเสนอแนะในการวิจัย
- ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ
- ด้านการออกแบบ ผู้เล่นสามารถเข้าใกล้ฉากได้มากเกินไปทำให้มีอาการไม่สบายตา และวัตถุจมพื้นซึ่งสาเหตุมาจากการสร้าง Collider ที่ชิดและพอดีกับพื้นหรือกำแพงมากเกินไปทำให้ไม่มีขอบเขตระหว่างผู้เล่นกับกำแพง และ UX (User experience) UI (User interface) ทำให้ผู้เล่นใช้งานได้ยาก รวมถึงการใช้ Font ของปุ่มอ่านยาก วิธีเล่นควรเปลี่ยนตำแหน่ง และเพิ่มคำอธิบาย
- ด้านโมเดลสามมิติ แอนิเมทตัวละครโดยจะแก้เรื่อง Timeline ให้เคลื่อนไหวได้ลื่นไหลมากยิ่งขึ้น UV ของโมเดลบางจุดยังมีข้อบกพร่อง การนำโพรีกอนเข้ามาในโปรแกรม Unity จะต้องเอาเข้ามาในรูปแบบ Soft edge เพื่อให้โมเดลมีความโค้งมน
- ด้านการใช้งานเกม โดยรวมแล้วผู้เล่นไม่รู้ว่า ตัวเกมให้ทำอะไร ซึ่งผู้เล่นส่วนมาก เมื่อเข้าเกมแล้วมักจะไม่หันไปดูรอบ ๆ ทำให้ไม่เห็นสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้ชัดเจน เรื่องเวลาในการเล่นอาจจะนานเกินไปทำให้ผู้เล่นที่ไม่เคยใช้อุปกรณ์จะมีอาการมึนงงในขณะเล่นและหลังจากเล่น
- ด้านเสียง ช่วงท้ายเกมควรเพิ่มเสียงเข้าไปเพื่อเป็นตัวช่วยในการบ่งบอกเวลา
- ด้านเทคนิค ปรับเรื่องของเลขเวลาหน่วยวินาที จากเดิมเป็นหลักเดียวให้เป็น 2 หลัก รวมไปถึงปิดช่องโหว่ของโมเดล และทำการเพิ่มให้การเก็บของมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น รวมไปถึงการเลือกใช้ปุ่มบนจอยให้เปลี่ยนมาใช้เป็นปุ่มเดียวเพื่อให้ผู้เล่นไม่งงต่อการเล่น
- ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง
- ด้านการออกแบบ คำแนะนำภายในเกมยังไม่ชัดเจน ผู้เล่นยังเข้าไม่เข้าใจมากนักว่า ตัวเกมให้ทำอะไร ควรเพิ่มเสียงบรรยาย หรือคำอธิบายให้จัดเจนกว่านี้
- ด้านโมเดลสามมิติ พื้นผิวของโมเดลบางชิ้นเมื่อมองใกล้ ๆ พื้นผิวยืดยังไม่ชัดเจน
- ด้านการใช้งานเกม ปุ่มกดสำหรับหยิบของกดไม่ถนัด ควรใช้ปุ่มเดียวกับปุ่มเลือกเมนู และผู้ทดสอบเกมส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางสายตา ทำให้มองไม่ค่อยชัดแต่ยังสามารถเล่นได้ เพราะตัวแว่นของ Oculus Rift ไม่สามารถปรับเพื่อรองรับค่าสายต่อของผู้เล่นแต่ละคนได้
- ด้านเสียง ควรเพิ่มเสียงเตือนเมื่อเวลาใกล้หมด เพื่อให้ผู้เล่นทราบขณะหาของภายในเกมอยู่
- ด้านเทคนิค ปรับเรื่องของการแสดงเลขนับเวลาถอยหลังให้ชัดเจนขึ้น