PRODUCTION OF ADVERTISING BY SPECIAL EFFECTS FOR SMOKING CESSATION CAMPAIGN
จัดทำโดย สุพจน์ บุญช่วยเจริญพร;ธนัท พฤฒากรณ์ และ อาภาศิริ ผายรัศมี
หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ (ABSTRACT)
ปริญญานิพนธ์เล่มนี้ได้จัดทำขึ้นตามหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยผู้จัดทำปริญญานิพนธ์ เรื่องการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1)เพื่อการผลิตสื่อโฆษณาให้รับรู้โทษของบุหรี่และผลเสียที่จะเกิดขึ้นของนักศึกษาช่วงอายุ 18-22 ปี ในพื้นที่คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2)เพื่อประเมินคุณภาพสื่อการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่
วิธีการศึกษาทำโดย ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตสื่อโฆษณาการรณรงค์ และข้อมูลเกี่ยวกับ การเลิกสูบบุหรี่ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre – Production) ขั้นตอนที่2 ขั้นตอนการผลิต (Production) และขั้นตอนที่3 ขั้นตอนหลังการผลิต (Post – Production) หลังจากนำสื่อที่เสร็จเรียบร้อยไปประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 4 ท่าน โดยแบ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค จำนวน 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาจำนวน 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเสียงจำนวน 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสิทธิภาพของสื่อ จำนวน 1 ท่าน และประเมินผลความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย
ผลการศึกษาสรุปว่า ผลการวิเคราะห์คุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค อยู่ในระดับ ดี มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 4.30) ด้านเนื้อหา (X̅= 3.68) ด้านเสียง (X̅= 3.75) และด้านประสิทธิภาพของสื่อ (X̅= 3.93) และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน อยู่ในระดับ ดี ในด้านเทคนิค (X̅= 4.14) ด้านเนื้อหา (X̅= 3.67) ด้านเสียง (X̅= 4.06) และด้านประสิทธิภาพของสื่อ (X̅= 3.97)
คำสำคัญ: สื่อโฆษณา, การรณรงค์, การเลิกสูบบุหรี่
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อการผลิตสื่อโฆษณาให้รับรู้โทษของบุหรี่และผลเสียที่จะเกิดขึ้นของนักศึกษาช่วงอายุ 18-22 ปี ในพื้นที่คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- เพื่อประเมินคุณภาพสื่อการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่
- เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้กาหนดขอบเขตการศึกษา ดังนี้
- ขอบเขตด้านเนื้อหา
การศึกษาการรับรู้โทษของบุหรี่ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในกลุ่มวัยรุ่นที่ติดเกม เที่ยวกลางคืน นักฟุตบอลที่สูบบุหรี่ เพื่อให้รู้ถึงโทษของการสูบบุหรี่โดยใช้การผลิตสื่อโฆษณาที่นาเสนออย่างเข้าใจได้ง่ายและเกิดประสิทธิภาพ - ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี - ขอบเขตด้านเทคนิค
เพื่อศึกษาพัฒนาโฆษณาเพื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่โดยการศึกษาจากนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเพื่อมาโดยใช้เทคนิคการใช้โปรแกรม Adobe Premiere Pro ผสมผสานกับโปรแกรม Adobe after Effect เพื่อให้เกิดผลงานเกี่ยวกับการโฆษณาเชิงรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ - ระยะเวลาของการวิจัย
เป็นการใช้วิธีประเมินผลจากการนาผลงานโฆษณาที่ทาให้ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน เพื่อรับชมแล้วทำแบบสอบถามว่า มีทัศนคติอย่างไรเมื่อได้รับชมโฆษณา และใช้วิธีนำผลงานโฆษณาเพื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ให้ผู้เชียวชาญพิจารณา
นิยามศัพท์เฉพาะ
- สื่อโฆษณา
สื่อโฆษณาถือว่าเป็นสื่อที่ทุกคนให้ความสาคัญอยู่ในอันดับต้น ๆ เพราะเป็นสื่อที่มีเนื้อหาที่เค้าโครงมาจากเรื่องจริงเป็นส่วนใหญ่และมีระยะเวลาที่ใช้ไม่นานมาก เลยมีจุดที่น่าสนใจและเป็นการดึงดูดคนดูได้ดี - การรณรงค์
การรณรงค์หมายถึงโครงการในแผนแผนหนึ่งที่ทำการสื่อสารบ่อยครั้ง มีความถี่สูงในช่วงระยะหนึ่งโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสื่อสารในประเด็นสำคัญประเด็นเดียวหรือเน้นบอกเรื่องราวกับกลุ่มเป้าหมายเพียงประเด็นเดียวเพื่อให้จดจำง่ายโดยจะมีการสร้างสรรค์ข้อความ ภาพและเสียง หรือเรื่องราวที่จะบอกกล่าวอย่างโดดเด่นและเนื้อหาสาระที่นำเสนอจะเป็นสิ่งที่ผู้วางแผนรณรงค์ต้องการให้เกิดการรับรู้หรือผลตามเป้าหมายอย่างรวดเร็วอาจกล่าวได้ว่า การรณรงค์จะถูกวางแผนให้ฉีกออกมาจากแผนหลักทางการสื่อสารปกติขององค์กรทั้งในเรื่องของวัตถุประสงค์และการนำเสนอ - บุหรี่และยาสูบ
บุหรี่และยาสูบอื่น ๆ เป็นสาเหตุหลักชองการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งปอด (ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่) นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของโรคปอดอื่น ๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่ มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และเด็กที่คลอดออกมาอาจมีน้าหนักน้อยกว่าปกติ การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสของอาการหัวใจวาย และโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ผู้สูบบุหรี่อาจดูแก่กว่าปกติเนื่องจากควันบุหรี่จะเพิ่มรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนังเนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม ดังนั้นอาจส่งผลให้ผู้สูบบุหรี่มีน้าหนักลดลง - เทคนิคพิเศษ
เทคนิคพิเศษนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ เทคนิคกลไก (Mechanical Effects) และเทคนิคพิเศษทางภาพ (Visual Effects) เช่น การสร้างเทคนิคไฟไหม้นั้นจากเดิมจะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ทำไฟไหม้ให้เกิดขึ้นจริง โดยมีวิธีการเผาสิ่งของจริงโดยอุปกรณ์ทั้งหมดถ้าเผาแล้วเกิดความเสียหายและไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก ถ้าหากมีการถ่ายซ้าจะต้องสร้างขึ้นใหม่โดยจะใช้เวลานานและเสียเวลาเป็นอย่างมาก อีกทั้งการทำไฟไหม้โดยการเผาจริงก่อให้เกิดความอันตรายขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ผู้กำกับจึงหาวิธีแก้ไขเพื่อให้นักแสดงปลอดภัยที่สุดและมีความสะดวกมากขึ้น เมื่อเข้าสู่ในยุคโลกาภิวัตน์ คอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทมาก จึงทาให้ผู้กำกับได้ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำภาพยนตร์โดยการใช้เทคนิคพิเศษเข้ามาช่วยเพื่อให้การถ่ายทาง่ายขึ้นและไม่มีความเสี่ยงต่อนักแสดง และเทคนิคพิเศษนั้นยังสามารถสร้างสรรค์ภาพยนต์ให้มีความหลากหลายขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- งานวิจัยนี้ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้เยาวชนในวัยอุดมศึกษาได้รู้ถึงโทษที่ร้ายแรงของมันและได้ทราบถึงโทษของบุหรี่ การเลิกบุหรี่เป็นสิ่งที่ยากสำหรับเยาวชนหลาย ๆ คนที่เคยเลิกแล้วทำไม่ได้ แต่มันต้องมีขั้นตอนของมันที่สามารถลดจากสูบเยอะเป็นน้อย จากน้อยก็จะมีวิธีต่อไป เพื่อให้เราได้เลิกบุหรี่ได้เพื่อกับมารักสุขภาพของตัวเราเองและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
- ปัญหาของการสูบบุหรี่นั้นมันไม่ได้ส่งผลถึงคนที่สูบอย่างเดียวมันเป็นการส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างได้มากกว่าคนที่สูบเอง เราควรให้ความสำคัญถึงสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างเพราะบุหรี่ไม่มีทางทำให้ชีวิตเราดีขึ้นมีแต่ทำลายสุขภาพ และถ้าเราสูบนานไปเรื่อย ๆ บุหรี่ก็จะทำลายสุขภาพเราและคนรอบข้างไปมากขึ้น ๆ เช่นกัน
สรุปผลการศึกษา
- สรุปผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ
จากผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ด้าน สรุปได้ว่า ด้านเทคนิค อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 4.30) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.17) ด้านเนื้อหา พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 3.68) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.03) ด้านเสียง พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 3.75) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0) และด้านประสิทธิภาพของสื่อ พบว่าโดยรวมแล้วอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 3.93) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.39) - สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง
จากผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ด้านเทคนิค พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 4.14) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.14) ด้านเนื้อหา พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 3.67) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.07) ด้านเสียง พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 4.06) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.08) และด้านประสิทธิภาพของสื่อ พบว่า โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (X̅= 3.97) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 0.07)
อภิปรายผลการศึกษา
ในการศึกษาการผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ มีประเด็นที่น่าสนใจมาอภิปรายดังต่อไปนี้
การผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ ผ่านการตรวจทานปรับปรุงแก้ไขจากอาจารย์ที่ปรึกษา และการประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านเทคนิค ด้านเนื้อหา ด้านภาพและเสียง และประสิทธิภาพของสื่อ และได้นำสื่อไปทดสอบกับจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นนำผลการประเมินคุณภาพของสื่อมา วิเคราะห์ พบว่า ด้านเทคนิค การใช้เทคนิคที่เหมาะสม การจัดมุมกล้อง การเคลื่อนไหวมีความต่อเนื่องอยู่ในระดับที่ดี ด้านเนื้อหา มีการลำดับเรื่องได้น่าสนใจและมีความเหมาะสม อยู่ในระดับดี ด้านเสียง เสียงดนตรีประกอบเสียงในแต่ละฉากเข้ากับสื่อ อยู่ในระดับที่ดี และด้านประสิทธิภาพของสื่อ สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ชม ผู้ชมมีความคล้อยตามกับสื่อ อยู่ในระดับที่ดี
ปัญหาและอุปสรรค
การผลิตโฆษณาโดยใช้เทคนิคพิเศษเพื่อการรณรงค์ การเลิกสูบบุหรี่ ตลอดจนการประเมินคุณภาพ จากผู้เชี่ยวชาญ และประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างได้พบ ปัญหาและอุปสรรคดังนี้
- การถ่ายทำสื่อค่อนข้างมีอุปสรรคเรื่องการถ่ายทำในแต่ละฉากที่ต้องแสดงการสูบบุหรี่
- การหาเลือกเทคนิคพิเศษหรือเอฟเฟคที่จะมาเล่ากับสื่อค่อนข้างยาก
- การหาเสียงประกอบสื่อยาก
- การจัดมุมหรือแสงยากเพื่อให้เข้ากับแต่ละตอนในสื่อรณรงค์
ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเทคนิคพิเศษ
การตัดต่อเอฟเฟคยังไม่เนียนเท่าไหร่และการต่อเนื่องของภาพยังไม่มีความต่อเนื่องกัน - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านเทคเสียง
เสียงประกอบบางฉากยังไม่เข้ากับสื่อ