An Application of Activity-Based Costing for the Effectiveness of Unit Cost Analysis

โดย : นนตา เศวตเมธิกุล

ปี : 2560


บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการปันส่วนจากต้นทุนกิจกรรมไปยังต้นทุนผลผลิต 2) สร้างโมเดลการปันส่วนจากต้นทุนกิจกรรมไปยังต้นทุนผลผลิต 3) คำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตและเปรียบเทียบผลระหว่างระบบต้นทุนแบบเดิมและระบบต้นทุนฐานกิจกรรม

การศึกษานี้ ใช้การวิเคราะห์ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบตามโครงสร้างการบริหารงานและสัมภาษณ์/สังเกตการณ์ เพื่อกำหนดกิจกรรม ตัวผลักดันต้นทุน เกณฑ์มาตรฐานในการปันส่วน มีหน่วยงานสนับสนุนแต่ละหน่วยงานเป็นผู้จดบันทึกกิจกรรมการให้บริการเพื่อนามาจัดทำเป็นสัดส่วนการให้บริการ ผลการวิจัยพบว่า 1) กำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการปันส่วน มีจำนวน 33 กิจกรรม ตัวผลักดันต้นทุน จำนวน 23 รายการ และผลผลิต 5 ผลผลิต 2) โมเดลการปันส่วนจากต้นทุนกิจกรรมไปยังต้นทุนผลผลิต ใช้วิธีการปันส่วนซึ่งกันและกัน (Reciprocal Method of Allocation) ด้วยเทคนิคการกระจายต้นทุนพร้อมกันตามสมการ Simultaneous Equation Method และสร้างเมทริกซ์การกระจายต้นทุนด้วยวิธีสมการเชิงเส้น (Linear Algebra Method) 3) การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต แบ่งกลุ่มสาขาวิชาได้ 9 กลุ่ม พบว่า กลุ่มสาขาวิชาที่มีต้นทุนสูงที่สุด 3 ลำดับแรก ประกอบด้วย กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เท่ากับ 186,287 บาทต่อคน/ปี กลุ่มสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ 131,461 บาทต่อคน/ปี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ 97,104 บาทต่อ/ปี ส่วนกลุ่มสาขาวิชาที่มีต้นทุนต่าที่สุด ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาบริหาร 51,518 บาทต่อคน/ปี จากการศึกษา ดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตระหว่างระบบต้นทุนแบบเดิมกับระบบต้นทุนฐานกิจกรรม พบว่า การคำนวณด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรมจะรับการปันส่วนมากน้อยตามสัดส่วนการใช้บริการ โดยที่กลุ่มสาขาวิชาใดใช้บริการในกิจกรรมนั้นมากจะรับการปันส่วนต้นทุนมาก ส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตสูง หากใช้บริการน้อยจะรับการปันส่วนต้นทุนน้อย ส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตต่ำ ในขณะที่ระบบต้นทุนแบบเดิม จะรับการปันส่วนมากน้อยตามปริมาณนักศึกษาเต็มเวลา (FTES)

ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ คือ การปรับโครงสร้างการบริหารงานและภาระงานของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบันเป็นเรื่องที่สาคัญ เพื่อกำหนดกิจกรรม ตัวผลักดันต้นทุนและเกณฑ์มาตรฐานการปันส่วนสัมพันธ์กับงานที่ให้บริการ และควรบันทึกกิจกรรมการให้บริการซึ่งกิจกรรมดังกล่าวอาจมีความยุ่งยากและเพิ่มภาระงานในระยะต้น หากแต่การให้ความร่วมมือดังกล่าวส่งผลดีในระยะยาว อันส่งผลให้การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตมีความถูกต้อง สะท้อนความเป็นจริงและใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการโดยเป็นข้อมูลที่สาคัญประกอบการตัดสินใจและการบริหารงานให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Abstract

The objectives of this research were: 1) to determine standard allocation criteria for allocating cost of each activity to final product, 2) to create allocation criteria model for allocating cost of each activity to final product and, 3) to estimate unit cost of output using activity-based costing and compare the results of the activity-based costing method with those of the traditional costing system.

In this study, workload of staff based on organization structure was employed by interview and observation to define activities, cost drivers, and allocation criteria, in which supporting offices recorded their service activities in order to determine the proportion of service provision. The results showed that 1) standard allocation criteria were determined covering 33 activities, 23 cost drivers, and 5 outputs, 2) the reciprocal method along with the simultaneous equation method and the linear algebra method were employed for the allocation model from the cost of each activity to final product or output, 3) regarding unit cost per output for 9 academic disciplines, it showed the top-three highest costs were, respectively, health science subject at 186,287 THB per person per year, architecture subject at 131,461 THB per person per year, and physical science and biology subject at 97,104 THB per person per year. While the lowest cost was administration subject at 51,518 THB per person per year. Comparing the results from the ABC method with the Traditional Costing System, it showed that estimated costs using the activity-based costing model significantly varied by proportion of service provision. That is, the high-cost allocation belonged to the subject receiving service provision in each activity, whereas the estimated cost using the Traditional Costing System was varied by full-time equivalent student.

Research recommendations include keeping the organization’s structure and workload up-to-date. Those are useful pieces of information to completely define activities, cost drivers, and standard allocation criteria. In addition, service activities should be recorded by each office. Although it is complicated and increases workload in the beginning, valid results could be yielded over the long term in terms of accuracy of unit cost, reflection of actual cost, and support for decision-making. Particularly, it provides useful information for efficiency management.


Download: An Application of Activity-Based Costing for the Effectiveness of Unit Cost Analysis