3D shooting movement in the underwater by using Vitrima lens
จัดทำโดย จิรายุ พึ่งจะงาม;พีรณัฐ ฉายยา
หลักสูตร เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตภาพเคลื่อนไหวใต้น้ำแบบสามมิติเพื่อทาการศึกษาการเกิดภาพเคลื่อนแบบสามมิติใต้น้ำโดยใช้อุปกรณ์ Vitrima Lens ในการทดสอบในวีดีโอตัวนี้ ซึ่งในการศึกษาได้ดำเนินการผลิตภาพเคลื่อนไหวใต้น้ำแบบสามมิติ จำนวน 1 เรื่อง และประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำ จำนวน 3 ท่าน
วัตถุประสงค์
เพื่อทดสอบอุปกรณ์ถ่ายภาพสามมิติเคลื่อนไหวใต้น้าโดยใช้กล้องGoproในการถ่ายทา และใช้เครื่องมือในการช่วยถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบสามมิติ Vitrima Lens และ การตัดต่อลาดับภาพเคลื่อนไหวแบบสามมิติโดยใช้โปรแกรม Final cut Pro
ขอบเขตการวิจัย
ในการวิจัยการถ่ายภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบสามมิติใต้น้า ดาเนินการถ่ายทาด้วยกล้อง Gopro รุ่น Hero4 และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการสร้างภาพสามมิติ Vitrima Lens ถ่ายใต้น้า 1ชุด แล้วนามาทาให้เป็นภาพสามมิติด้วยโปรแกรม Final cut pro เพื่อที่จะสามารถประมาณได้ว่าอุปกรณ์ Vitrima Lens นี้สามารถทาภาพเคลื่อนไหวแบบสามมิติได้มากน้อยเพียงใด และมีปัจจัยใดบ้างที่ทาให้ไม่เกิดภาพเคลื่อนไหวแบบสามมิติ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถรับรู้ถึงการทำภาพเคลื่อนไหวแบบสามมิติโดยใช้อุปกรณ์ Vitrima Lens และนำมาตัดต่อให้โปรแกรม Final cut pro เพื่อดูผลลัพธ์ โดยชี้ให้เห็นถึง ขนาดภาพ สี วีดีโอที่เป็นแบบ 3มิติ โดยการใช้อุกปรณ์ Vitrima Lens เพียงชิ้นเดียวในการถ่ายทำภาพเคลื่อนไหวแบบสามมิติ และนำมาแสดงผลในแว่น VR
สรุปผลการศึกษา
ในการทำแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญ ผลงานภาพเคลื่อนไหวแบบสามมิติโดยใช้อุปกรณ์ Vitrima Lens ได้ข้อสรุปว่า อุปกรณ์ Vitrima lens สามารถทำภาพเคลื่อนไหวแบบสามมิติได้ และเรื่องสีให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับตามนุษย์ที่มองเห็น ในระดับความลึกไม่เกิน 3 เมตร แต่ยังต้องมีการทำสีของวีดีโอภายหลังเพื่อเพิ่มสีสันในวีดีโอให้ดูดีและมีสีสันที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากนั้นได้นำภาพเคลื่อนไหวสามมิติฉายผ่านแว่นสามมิติ VR โดยผลที่ออกมาแล้วผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นตรงกันว่า อุปกรณ์ Vitrima lens นี้สามารถถ่ายทำภาพเคลื่อนไหวเป็นสามมิติได้ชัดเจน เมื่อแสดงผลในแว่นVR เท่านั้น
ปัญหาในการศึกษา
- ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนการถ่ายทาภาพยนตร์ (Pre-production)
- เรื่องงบประมาณซึ่งบางที่ต้องใช้งบประมาณมากเกินความจำเป็น
- ติดต่อหาสถานที่ ทำให้ล่าช้าในการทำงาน
- เนื่องจากช่วงการถ่ายทำเป็นช่วง High season ทำให้นักท่องเที่ยวมากกว่าปกติจึงทำให้ผู้ศึกษาไม่สามารถเลือกวันถ่ายทำตามพยากรณ์อากาศได้
- เรื่องการติดต่อประสานงาน เนื่องจากผู้ศึกษาต้องการดำน้ำประเภท Scuba ในระดับความลึกไม่เกิน 3 เมตร จึงเป็นเรื่องยากที่จะประสานงานได้ เพราะในแต่ละที่ในระดับความลึกไม่เกิน 3 เมตร ทางสถานที่ไม่อนุญาตให้ดำน้ำประเภท Scuba ได้
- ขั้นตอนการผลิต (Production)
- เนื่องจากสภาพอากาศไม่ดี พายุเข้า ทำให้การดำน้ำลดจำนวน Dive จาก 4 Dive เหลือเพียง 2 Dive ทำให้ผู้ศึกษาได้ footage มาค่อนข้างจำกัด
- เนื่องจากที่พายุเข้าทำให้กระแสน้ำค่อยข้างแรงมากทำให้ Dive แรกที่ลงไปถ่ายไม่ค่อยได้ Footage ที่น่าพอใจนัก
- ขณะถ่ายทำการ์ดกล้องมีการ Error
- ผู้ศึกษาไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของสิ่งรอบข้างได้จึงเป็นเรื่องยากที่จะสามารถได้ shot ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
- เนื่องจากสถานที่ที่ผู้ศึกษาได้ไปทำการถ่ายทำไม่สามารถดำน้าประเภท Scuba ได้จึงจำเป็นต้องดำน้ำแบบตัวเปล่า (Free dive) แทนจึงทำให้กลั้นหายใจไม่ได้นานมาก ทำให้เหนื่อยมากขณะถ่ายทำ
- ขั้นตอนหลังการผลิต (Post-Production)
- เนื่องจากผู้ศึกษาได้ทำการถ่ายทำ Footage มาไม่มากนักจึงเป็นเรื่องยากในการตัดต่อลำดับภาพในวีดีโอ
- ในระหว่างการถ่ายทำผู้ศึกษาไม่มี Color checker ทำให้การ Balance สีในโปรแกรมต้องใช้ตาของผู้ศึกษาในการช่วยหา Balance สีแทน
ข้ออภิปรายผลการศึกษาจากการสรุปผล
- ผลการศึกษาที่พบว่า การทำภาพสามมิติ จำเป็นที่จะต้องทำภาพให้ซ้อนกัน ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายด้วยกล้อง 2 ตัว หรือกล้อง 1 ตัวโดยใช้อุปกรณ์ Vitrima lens ซึ่งสอดคล้องกับ กิตติ แตรผ่องแผ้ว และ ชาญณรงค์ รัตนะ ( 2547 : 3) กล่าวว่า หลักการง่าย ๆ ของการมองภาพให้เกิด 3 มิตินั้น คือ การที่มนุษย์เรามี 2 ตา การที่เราสามารถมองเห็นภาพต่าง ๆ เป็น 3 มิติได้นั้นเกิดจากมุมมองของสายตาที่เห็นภาพของวัตถุ เมื่อเรามองวัตถุด้วยตาข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียวจะไม่สามารถมองให้เป็น 3 มิติได้ เพราะจะขาดส่วนลึกของภาพอีกด้านหนึ่งไป
- ผลการศึกษาที่พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ หลังจากได้รับชมวีดีโอภาพเคลื่อนไหวสามมิติแล้ว มีความรู้สึกอึดอัด และรู้สึกปวดตามาก เนื่องจากการเคลื่อนกล้องวีดีโอ และอุปกรณ์ฉายภาพสามมิติ แว่นสามมิติ VR ซึ่งเป็นอุปกรณ์สมัยใหม่ที่ถูกออกแบบมาให้ฉายในรูปแบบแว่นตาไว้สวมใส่ทำให้จอฉายภาพกับตาผู้ชมอยู่ไม่ไกลกันมากนั้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่รับชมเป็นเวลานานรู้สึกปวดตาได้
- ผลการศึกษาที่พบว่า ผู้เชี่ยวชาญสังเกตเห็นการแตกต่างของสีในวีดีโอได้ ทั้งก่อนและหลัง เพราะใต้น้ำนั้นในระดับความลึกที่มากขึ้นสีสันมักจะหายไปเรื่อย ๆ จึงจำเป็นที่ต้องใช้ filter ช่วยในการนำสีสันที่หายไปกลับคืนมา หรือทำในส่วนโพสโปรดั่กชั่น คือ การเกรดดิ้งเพื่อทำสีให้สดใสและเติมสีที่หายไปให้กลับมาเป็นสีที่สดใสสวยงาม ซึ่งสอดคล้องกับ เสริมศักดิ์ อุชชิน กล่าวว่า Red Filter มีผลอย่างไรต่อใต้น้า – Red Filter ก็คือ Filter สีแดง ที่ช่วยแก้ไขภาพใต้น้ำ ภาพที่เราเห็นจากใต้ท้องทะเลนั้นเกิดจากแสงที่ผ่านน้ำลงมา และน้ำมีคุณสมบัติดูดกลืนสี แต่สีที่หายไปมาก คือ สีแดง ยิ่งลึกก็ยิ่งเพิ่มแดงจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ละผู้ผลิตทำสีแต่ละความลึกออกมาครับ ดังนั้น “Red filter” จึงมีประโยชน์เหมาะกับนักดำน้ำ Scuba ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขสีใต้น้ำให้ถูกต้อง
- ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญ มีความพึงพอใจมากเกี่ยวกับการทำงานของตัวอุปกรณ์ Vitrima Lens เนื่องจากมีการดีไซน์ที่สวยงามสามารถทำภาพสามมิติได้ ช่วยลดขั้นตอนการทำภาพเคลื่อนไหวสามมิติได้หลายขั้นตอน
- ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญ มีความพึงพอใจมากเพราะได้ภาพที่สวยและเห็นเป็นแบบสามมิติ และสามารถช่วยลดขั้นตอนการทำภาพสามมิติได้ในหลายขั้นตอนรวมทั้งการตัดต่อทำโพสโปรดั่กชั่นอีกด้วย ทาให้ผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจมากกับอุปกรณ์ Vitrima lens
ข้อเสนอแนะ
- อุปกรณ์ Vitrima Lens สามารถดำน้ำลึกได้ 3 เมตร ซึ่งในการทดลองครั้งนี้ ในระยะ 3-5 เมตร ผู้ศึกษายังไม่ได้ทำการทดลองในระดับความลึกที่มากกว่า ดังนั้น ควรจะมีการทดสอบอุปกรณ์เพื่อจะได้เพิ่มโอกาสในการสร้างสรรค์ได้มากขึ้น
- อุปกรณ์ Vitrima Lens ผู้ศึกษาไม่ได้ใส่ฟิลเตอร์เพื่อช่วยให้สีสันใต้น้ำถูกต้องเท่าที่ควร การใส่ฟิลเตอร์จึงเป็นเรื่องยากเพราะตัวอุปกรณ์ Vitrima Lens นั้น ยังไม่สามารถสวมใส่ฟิลเตอร์หน้าเลนส์ได้
- การดำน้ำถ่ายทำ ควรมีอุปกรณ์ช่วยหายใจเพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการถ่ายทำมากยิ่ง และมีความปลอดภัยขณะถ่ายทำมากขึ้นด้วย
- อุปกรณ์ แว่น VR เมื่อดูไปนาน ๆ แล้วจะเกิดอาการปวดตาเนื่องจากมีการเคลื่อนไหวของกล้องมาก ควรจะมีภาพที่มีการเคลื่อนไหวน้อย ๆ ลง หรือกล้องตั้งนิ่ง เพื่อลดอาการปวดตาได้บ้าง