Study of alumni satisfaction with the service of Rajamangala University of Technology Thanyaburi Year 2019
โดย สุวรรณี ประดิษฐ
ปี 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของศิษย์เก่าต่อการให้บริการ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีประจำปี 2562 2.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการรับบริการ ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2562 จำแนกตาม เพศ อายุ คณะ/วิทยาลัย และระดับการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี 12 ปีย้อนหลัง มีจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 66,665 คน จึงใช้สูตรยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และยอมรับให้มีความคลาดเคลื่อนได้ 0.05 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ของแบบสอบถามค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation ) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (Oneway ANOVA) โดยการทดสอบเอฟ (F-test) และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาพรวมความพึงพอใจของศิษย์เก่าต่อการให้บริการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2562 อยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ = 3.37, S.D. = 1.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการรับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อศิษย์เก่า ( x̄ = 3.29, S.D. = 1.06) รองลงมาด้านการเพิ่มพูนความรู้ให้อย่างต่อเนื่อง ( x̄ = 3.12, S.D. = 1.11) ด้านความสัมพันธ์และ ช่องทางการสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัย/คณะ/หลักสูตรกับศิษย์เก่า ( x̄ = 2.97, S.D. = 1.08) ด้านสิทธิ ประโยชน์จากการเป็นศิษย์เก่า ( x̄ = 2.89, S.D. = 1.14) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ด้านการมีส่วนร่วมกับ เครือข่ายศิษย์เก่า ( x̄ = 2.83, S.D. = 1.03) 2. เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการรับบริการของศิษย์เก่าที่มีต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2562 จำแนกตามเพศ อายุ คณะ/วิทยาลัย ด้านการเพิ่มพูนความรู้ให้อย่างต่อเนื่อง ด้านการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายศิษย์เก่า ด้านสิทธิประโยชน์จากการเป็นศิษย์เก่า และด้านการรับบริการและ สิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อศิษย์เก่า ไม่แตกต่างกันแต่เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ด้านความสัมพันธ์และช่องทางการสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัย/คณะ/หลักสูตรกับศิษย์เก่า พบว่า ระดับ การศึกษาปริญญาตรีมีความพึงพอใจแตกต่างกันกับระดับการศึกษาปริญญาโท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Abstract
The study aims to 1) investigate alumni satisfaction with RMUTT 2019 services, 2) compare RMUTT alumni 2019 satisfaction distinguished by gender, age, faculty, college, and the education level. The population was 66,665 RMUTT alumni 12 years ago. The sample size will calculate using Taro Yamane with the reliability of 95% and the standard errors at 0.05. The samples were 400 participants. The instrument was a questionnaire with Index of Consistency 0.92. The statistic used for data analysis were mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, f-test and Scheffe’s method of multiple comparison tests. Results indicated that 1) alumni satisfaction for 2019 RMUTT service were at the average level ( x̄ = 3.37, S.D. = 1.09). Each point was considered from the highest level; the services and the facility for alumni ( x̄ = 3.29, S.D. = 1.06). The relationship and the media channel between the university/ faculties/ the curriculums with the alumni ( x̄ = 2.97, S.D. = 1.08), the alumni advantages ( x̄ = 2.89, S.D. = 1.14) and the lowest level; the alumni participation ( x̄ = 2.83, S.D. = 1.03), 2) comparing the alumni satisfaction to RMUTT 2019 distinguished by gender, age, faculties, college to brighten the knowledge, the participation, the advantage and the services, and the facilities for the alumni with no distinctively. It was found that BA degree alumni had satisfaction significantly distinctively from MA degree for the education level with the relationship and the media channel between the university, faculties, the curriculums, and the alumni at the level .05.