A Study of New-skill Re-skill and Up-skill Development Needs of Alumni of Rajamangala University of Technology Thanyaburi 2019

โดย สุวรรณี ประดิษฐ

ปี 2562


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองในเรื่องของการพัฒนา ทักษะใหม่ การสร้างทักษะใหม่ และการเสริมสร้างทักษะเดิมที่มีอยู่ของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรีประจำปี 2562 จำแนกตาม เพศ อายุ คณะ/วิทยาลัย และ ระดับการศึกษา ประชากรที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 12 ปีย้อนหลัง มีจำนวน ทั้งสิ้น จำนวน 66,665 คน จึงใช้สูตรยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และยอมรับให้มี ความคลาดเคลื่อนได้ 0.05 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม ค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) โดยการทดสอบเอฟ (F-test) และความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบเป็นรายคู่โดย วิธีการของเชฟเฟ่ (Schaffer’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาพรวมการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองในเรื่องของการพัฒนาทักษะใหม่ การสร้างทักษะใหม่ และการเสริมสร้างทักษะเดิมที่มีอยู่ของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2562 อยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ = 4.22, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ศิษย์เก่าต้องการพัฒนา New-Skill สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต มีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.47, S.D. = 0.62) รองลงมา ศิษย์เก่าต้องการพัฒนา Up-Skillคือ การเสริมสร้างทักษะเดิมที่มีอยู่ให้ยังสามารถ ใช้กับโลกยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.45, S.D. = 0.64) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ศิษย์เก่าต้องการพัฒนาทักษะสำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotic and AI) ( x̄ = 3.91, S.D. = 1.06) 2. เมื่อเปรียบเทียบความต้องการในการตนเองในเรื่องของการพัฒนาทักษะใหม่ การสร้าง ทักษะใหม่ และการเสริมสร้างทักษะเดิมที่มีอยู่ของศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2562 จำแนกตาม เพศ อายุ คณะ/วิทยาลัย ระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

Abstract

The study aims to investigate needs of New-skill Re-skill and Up-skill Development of Alumni of Rajamangala University of Technology Thanyaburi 2019 distinguished by gender, age, faculty / college, and education levels. The population was 66,665 alumni 12 years ago. The sample size will calculate using Taro Yamane for the reliability level of 95% and the standard errors at 0.05. The samples were 400 participants. The instrument was a questionnaire with Index of Consistency 0.96. The statistic used for data analysis were mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, f-test significantly distinctive and Scheffe’s method of multiple comparison tests. Results indicated that 1) all needs for New-skill Re-skill and Up-skill of RMUTT 2019 alumni were at the average level ( x̄ = 4.22, S.D. = 0.55). Each questionnaire was considered from the highest level; the participants need to improve New-skill to the future need ( x̄ = 4.47, S.D. = 0.62). The participants need to improve up-skill to strengthen old skills being able to use in the modern world effectively ( x̄ = 4.45, S.D. = 0.64). The participants needed to up-skill for Robotic and AI industry ( x̄ = 3.91, S.D. = 1.06). 2) comparing needs in new-skill, re-skill, and up-skill of RMUTT 2019 alumni by gender, age, college, faculties, and the education level had no statistical significantly difference at the level .05.


Download: A Study of New-skill Re-skill and Up-skill Development Needs of Alumni of Rajamangala University of Technology Thanyaburi 2019