Satisfaction of Service Recipients Towards the Service of Personnel Work in Faculty of Architecture
โดย อทิตยา วิมลเมือง
ปี 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของงานบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มี ต่อการให้บริการของงานบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของ ผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของงานบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สายวิชาการ จำนวน 56 คน และสายสนับสนุน จำนวน 14 คน รวมทั้งหมด 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง โดยผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูล ทางสถิติ ค่าร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ค่าเฉลี่ย (µ) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) วิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของ งานบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยใช้สถิติ Independent Sample t-test ใช้ทดสอบ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระที่มีการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม และค่า One-way ANOVA ใช้ทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระ ซึ่งจำแนกออกเป็นตั้งแต่ 3 กลุ่ม ขึ้นไป และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี Scheffe เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95%
จากการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 – 40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาโท อายุราชการ 6 – 10 ปี เป็นผู้รับบริการสายวิชาการ ส่วนใหญ่ติดต่อ รับบริการเวลา 13.00 – 16.30 น. จะติดต่อรับบริการประเภทงานการลาทุกประเภท โดยระยะเวลา ในการติดต่อรับบริการตั้งแต่ 10 – 30 นาที
2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของงานบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า ผู้รับบริการมีความ พึงพอใจต่อการให้บริการของงานบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน คือ ด้านระยะเวลา ในการให้บริการ ด้านระบบการบริการ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านกระบวนการบริการ และด้านสภาพแวดล้อมในการบริการ ตามลำดับ
3. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของงานบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามลักษณะ ทางประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้รับบริการที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ กลุ่มสายการทำงาน และระยะเวลาในการติดต่อรับบริการที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อ การใช้บริการของงานบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ABSTRACT
The research objectives on satisfaction of service recipients towards the service of personnel work in Faculty of Architecture were to 1) study the satisfaction of users toward the service of personnel work in order to improve the service of personnel work and 2) to know the personal factors of users towards the service of personnel work.
The sample group was total 70 persons including 56 faculties and 14 staffs of Faculty of Architecture, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The questionnaire was designed to collect the information and its was analyzed by statistical method: percentage, mean (µ) and standard deviation (σ) to interpret the users group satisfaction. Meanwhile, the independent sample t- test was used to compare the mean of two groups of independent variables. One-way ANOVA also was applied to test and compare the mean of the independent variables among 3 groups at significance level of 0.05 with a confidence level of 95%.
The results were :
1. The general information of respondents were mostly female aged 31-40 years which a master’s degree, 6 – 10 years’ experiences. The faculties used mainly service at 1.00 pm – 4.30 pm by contacting the personal work on a vacation type about 10 – 30 minutes of consulting.
2. The satisfaction of users towards the service of personnel work of the Faculty of Architecture, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, found that they were overall satisfied with the service of the personnel work at a high level. The highest satisfaction was personnel service and following of a aspects at high level namely service time, service system, service quality, facilities service, service process and the service environment, respectively.
3. The result of comparative satisfaction of service recipients towards the service of personnel work in Faculty of Architecture, Rajamangala University of Technology Thanyaburi by demographic characteristics was found that sex, age, education level, faculties group, staff group, length of time services showed indifferent of personal service at the significance level 0.05
Download: Satisfaction of Service Recipients Towards the Service of Personnel Work in Faculty of Architecture