Instructional Package on Health and Physical Education in Taking Care of Hygiene of Various Body Organs for Primary School Teachers

โดย เฉลิมชัย ใจคง

ปี 2563


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การดูแลรักษาสุขอนามัยอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสำหรับครูระดับประถมศึกษา 2) ศึกษา ความพึงพอใจของครูระดับประถมศึกษาที่มีต่อการใช้ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา เรื่อง การดูแลรักษาสุขอนามัยอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสำหรับครูระดับประถมศึกษา และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนจากชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การดูแลรักษาสุขอนามัยอวัยวะต่างๆ ของร่างกายสำหรับครูระดับประถมศึกษา

กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูระดับประถมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ลพบุรี จังหวัดลพบุรี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา แบบประเมินความพึงพอใจของครูระดับประถมศึกษา และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่อิสระ

ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การดูแลรักษาสุขอนามัยอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสำหรับครูระดับประถมศึกษา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80.83/80.00 ความพึงพอใจของครูระดับประถมศึกษาที่มีต่อการใช้ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การดูแลรักษาสุขอนามัยอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายสำหรับครูระดับประถมศึกษา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 และเมื่อได้นำชุดการสอนไปทดลองใช้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 2.88 และมีค่า SD. เท่ากับ 1.24 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 8 มีค่า SD. เท่ากับ 1.19 มีค่าการทดสอบค่าที ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 6.58 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ABSTRACT

The purposes of this research were to: 1) gain the effectiveness of the instructional package on health and physical education in taking care of hygiene of various body organs for primary school teachers, 2) study the satisfaction of primary school teachers, and 3) compare the pretest-posttest and achievement of primary school students with intellectual disabilities who learned through the Health Education and Physical Education teaching group on organ hygiene maintenance.

The samples were 30 teachers and 30 students at Assumption Convent School in Lop Buri province, Thailand. They were selected for the purposive sampling. The research instruments used in this research were an instructional package, an achievement test, and a questionnaire. This statistical tools used in this research were percentage, mean, standard deviation, and t-test for dependent samples.

The research results indicated that the efficiency of the instructional package criteria E1/E2 was 80.83/80.00. The primary school teachers’ satisfaction towards the instructional package was at a high level with mean at 4.49. The pretest mean score was 2.88 with SD. 1.24. and the posttest mean score was 8 with SD. 1.19, and the t-test for pretest and posttest was 6.58. The learning achievement after the experiment was higher than before the experiment at the statistical significance level of 0.05.


Download: Instructional Package on Health and Physical Education in Taking Care of Hygiene of Various Body Organs for Primary School Teachers