An Empirical Study on Personal Factors Affecting Topographical Distribution of EMG Activity in the Upper Trapezius Muscle While Operating the Open System Rubber Two – roll Mill Mixer Machine

โดย ลัดดา โม้วงษ์

ปี 2563


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลทางการยศาสตร์ คือ ส่วนสูง น้ำหนัก แรงบีบมือ ท่าทางการทำงานส่วนคอ และท่าทางการทำงานของแขนส่วนบน ที่มีความสัมพันธ์กับคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสบน ของนักศึกษาฝึกทักษะการทำงานบนเครื่องผสมยางสองลูกกลิ้งระบบเปิด

ขั้นตอนการดำเนินงาน ได้แก่ 1) ประยุกต์ใช้แบบประเมินความเสี่ยง อาการผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและกระดูกเพื่อเก็บผลและวิเคราะห์หากลุ่มตัวอย่าง 2) ทดสอบคุณภาพเครื่องมือของแบบประเมินที่ประยุกต์ใช้เพื่อหาความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม 3) หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ค่าอัลฟ่าครอนบาช 4) เก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง อาการผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและกระดูก 5) เก็บผลจากการวัดด้วยคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสบน เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อ 6) ประเมินท่าทางการการทำงานด้วยวิธี Repid Entire Body Assessment (REBA) เพื่อประเมินท่าทางการทำงานในส่วนคอและแขนส่วนบน 7) วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยโปรแกรมมินิแท็ป โดยสถิติที่เลือกใช้ในงานวิจัยนี้มี 2 สถิติ ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Correlation Coefficient, r คือ ค่าที่หาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร ด้วยวิธีการ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติ two-sample t-test เพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยค่าเฉลี่ยสำหรับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม

ผลการวิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ส่วนสูง ท่าทางการทำงานส่วนคอ และท่าทางการทำงานแขนส่วนบน มีความสัมพันธ์กับคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสบน (% MVC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพัน์ (r) เท่ากับ 0.906 0.888 และ 0.948 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับสูงมาก หมายความว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ส่วนสูง ท่าทางการทำงานส่วนคอ และท่าทางการทำงานแขนส่วนบน เพิ่มขึ้น จะมีคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสบน (% MVC) เพิ่มขึ้นในระดับสูงมาก และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านน้ำหนัก มีความสัมพันธ์กับคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสบน (% MVC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ -0.888 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามในระดับสูง หมายความว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านน้ำหนักเพิ่มขึ้น จะมีคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสบน (% MVC) ลดลงในระดับสูง จากการวิเคราะห์ผลควรมีการปรับปรุงตำแหน่งยืนให้มีระดับความสูงเหมาะสมทางด้านการยศาสตร์


Abstract

The purpose of this research was to investigate personal ergonomic factors, e.g., height, weight, grip strength, neck movement, and upper arm movement affecting topographical distribution of EMG activity in the upper trapezius muscle of male student trainees during the operation of open system rubber two-roll mill mixer machine.

The procedures of the experiment were: 1) modifying risk assessment checklist for musculoskeletal disorders in order to collect and analyze data and identifying samples, 2) evaluating validity of modified questionnaire, 3) evaluating reliability of questionnaire by analyzing Cronbach’s alpha, 4) collecting data of the samples using risk assessment checklist for musculoskeletal disorders, 5) collecting EMG data of trapezius muscle in order to analyze the maximum voluntary muscle contractions, 6) evaluating postures of upper arm and neck with Repid Entire Body Assessment (REBA), and 7) analyzing data using Minitab. Two statistical analysis techniques used in this research were Pearson’s correlation implemented to measure correlation coefficient through; r and the two-sample t-test if two population means are equal.

The results revealed that there was significant relationship between (height, neck movement, and upper arm movement) and topographical distribution of EMG activity in the upper trapezius muscle (% MVC) of male student trainees for a statistically significance level of .05 whereas r values were 0.906, 0.888 and 0.948 respectively. Thus, it could be interpreted from this result that increasing the impact of height, neck movement, and upper arm movement tended to increase the topographical distribution of EMG activity in the upper trapezius muscle. Concerning weight factor, there was a significant relationship with topographical distribution of EMG activity in the upper trapezius muscle (% MVC) for a statistically significance level of .05 whereas r values were -0.888 meaning that when the impact of weight factor was increased, the topographical distribution of EMG activity in the upper trapezius muscle would highly be lessen. In conclusion, the results indicated for a strong ergonomics integration to prevent injuries and increase productivity of user during operating the Open System Rubber Two-roll Mill Mixer Machine, appropriate standing posture of user should be improved.


Download : An Empirical Study on Personal Factors Affecting Topographical Distribution of EMG Activity in the Upper Trapezius Muscle While Operating the Open System Rubber Two – roll Mill Mixer Machine