The learning management of project-based learning with critical thinking process to improve digital literacy competency in technology subject for primary 5 (grade 5) students

โดย ชิโนรส กวางแก้ว

ปี 2564


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล รายวิชาเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเปรียบเทียบสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล รายวิชาเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานผสมผสานกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนที่กาลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเฟื่องฟ้าวิทยา สังกัดสานักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี จานวน 69 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผสมผสานกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบทดสอบวัดสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยสรุปได้ว่าสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล รายวิชาเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก และสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล รายวิชาเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผสมผสานกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Abstract

The objectives of this study were to study the level of digital literacy competency in Technology subject of Primary 5 (Grade 5) students and compare the digital literacy competency in Technology subject of the Primary 5 (Grade 5) between the experimental group studying in the project-based learning management with a critical thinking process and the control group studying in a traditional learning management.

Sixty-nine research samples were selected by cluster sampling from Primary 5 (Grade 5) students studying at Fuangfha Wittaya School, under the Pathum Thani Provincial Education Office. Research instruments were 1) traditional learning management lesson plans, 2) project-based learning management with the critical thinking process lesson plans, and 3) a digital literacy competency test. Mean, Standard Deviation, t-test (Independent Samples) were used for data analysis.

The results showed that the digital literacy competency of the experimental group was at a high level and the digital literacy competency of the experimental group was higher than the control group with statistical significance at the level of .05.


Download : การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผสมผสานกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการรู้เท่าทันดิจิทัล รายวิชาเทคโนโลยี สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5