A Study of Student Happiness in Faculty of Engineering Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย อรอุมา นิลาพันธ์, กุลฉัตร กิ้มซ้าย และ ละอองทิพย์ ยุวรรณศรี

ปี 2565


บทคัดย่อ

การศึกษาความสุขของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสุขของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสุข 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสุข ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 369 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามให้ตอบด้วยตนเอง เปรียบเทียบความสุขของนักศึกษากับภูมิหลังจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้สถิติ Dependent t-test และ One-way ANOVA วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของนักศึกษากับภูมิหลังตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสุขของนักศึกษา ใช้สถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธี Stepwise กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 67.80 ศึกษาอยู่ชั้นปี 1 ร้อยละ 31.40 ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ ร้อยละ 13.30 ส่วนมากมีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 65.00 ความสุขรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ =3.49 , S.D.= 0.45) เมื่อเปรียบเทียบความสุขของนักศึกษาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ชั้นปี ภาควิชา ภูมิลำเนา รายได้ครอบครัว/เดือน ที่พักอาศัย การมีทุนการศึกษา จากการกู้ยืมเพื่อการศึกษา การเคยได้รับทุนการศึกษา และการเดินทางโดยใช้ยานพาหนะ ต่างกันจะมีระดับความสุขแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของนักศึกษากับภูมิหลังจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ภูมิลำเนา รายได้ครอบครัว/เดือน และที่พักอาศัยของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับความสุขโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสุขของนักศึกษา พบว่า รายได้ครอบครัว/เดือน ภูมิลำเนา การได้รับทุนการศึกษา ค่าใช้จ่าย/เดือน เพศ และการมีทุนการศึกษาจากการกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นปัจจัยทำนายระดับความสุขของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งตัวแปรทั้ง 6 ตัว สามารถอธิบายการผันแปรความสุขภาพรวมของได้ร้อยละ 14.8 (R2=0.148)


ABSTRACT

The research “A Study of Student Happiness in Faculty of Engineering Rajamangala University of Technology Thanyaburi” is quantitative research. It aimed 1) to determine the happiness level of undergraduate students 2) to compare the differences between personal factors and happiness level and 3) to study factors affecting happiness level of students in Faculty of Engineering RMUTT. The sample group was 369 undergraduate students in Faculty of Engineering RMUTT in academic year 2021. Data was collected by using a self-answered questionnaire. Compare the happiness of students with their backgrounds classified by personal factors. The Dependent t-test and One-way ANOVA were used to analyze the relation between students’ happiness and personal background. The Pearson’s Product moment correlation was used to analyze the factors affecting students’ happiness. In addition, multiple regression analysis was used at the significance level 0.05.

The results showed that 67.80% of respondents are male and 31.40% are studying in the first year. About 13.30% of sample group are from Department of Chemical and Materials Engineering. Most of the respondents live in the central region of Thailand (65.0%). The overall happiness of students is at moderate level (X̅ =3.49 , S.D.= 0.45 ). The results revealed that students with different personal backgrounds including year of studying department habitat monthly income residence scholarship transport had significantly different happiness level (P<0.05). The results also showed that personal factors significantly related with students’ happiness. Habitat, monthly income and residence significant involved with students’ happiness (P<0.05). Moreover, it is found that monthly income, habitat, scholarship, monthly expenses, gender, and funding were significant predictive factors to students’ happiness at 14.8% (R2=0.148).


Download: A Study of Student Happiness in Faculty of Engineering Rajamangala University of Technology Thanyaburi