The Academic Leadership of School Administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1

โดย พุฒินันท์ แสงสิริวัฒน์

ปี 2564


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 312 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ เชิงลึกได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาปทุมธานีเขต 1โดยรวมอยู่ในระดับมาก2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1 ได้แก่ (1) ด้านการกำหนดภารกิจของ โรงเรียน มีการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน บริหารงานโดยมีคณะกรรมการ สถานศึกษามีส่วนร่วมในรูปแบบคณะทำงานและทีมงาน เพื่อกำหนดทิศทาง ภารกิจในการพัฒนาด้านวิชาการ และการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์(2) ด้านการจัดการเรียนการสอน มีการส่งเสริม ให้ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำงานวิจัยในชั้นเรียน การผลิตสื่อและนวัตกรรมในการ เรียนรู้ โดยการส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรม สัมมนา เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางวิชาการทั้งในและนอกสถานศึกษา (3) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ มีการจัดกิจกรรม ทักษะวิชาการภายในโรงเรียน การเข้าร่วมการสอบประเมินในระดับต่างๆ เพื่อดูพัฒนาการของนักเรียน ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนเข้าร่วมการอบรมทางวิชาการต่างๆ เช่น ค่ายวิชาการ (4) ด้านการบริหารหลักสูตร และการสอน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์ในการทำงานร่วมกัน (5) ด้านการกำหนดเป้าหมายและพันธกิจของโรงเรียน มีการกำหนดขอบเขต ของงานหรือกำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์การ ตามโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียน โดยใช้บริบทของ โรงเรียนน ามาวิเคราะห์ SWOT Analysis (6)ด้านการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอน มีการประเมิน ผลการปฏิบัติงานโดยใช้ตัวชี้วัดผลงานหลัก กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนรายงานความก้าวหน้าผลการ ปฏิบัติงาน การประเมินผลการทำงานของครู ควรใช้การประเมินหลายๆ รูปแบบ


Abstract

This research aimed to: 1) investigate the academic leadership of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1, and 2) explore the practical approach of the academic leadership of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1.

The research samples consisted of 312 teachers under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1, derived from cluster sampling. The key informants for the in-depth interview included five school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1, obtained from purposive sampling. The instruments were a questionnaire and an interview form. To analyze the data, the researcher conducted the statistics consisting of frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis for the qualitative research.

The research result revealed that: 1) the overall academic leadership of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1 showed a high level. 2) The practical approach of the academic leadership of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1 consisted of six areas: (1) The school’s mission determination should be a clear set of goals and directions of operations. The school committee managed and participated as a working group and team to arrange the desirable direction, academic development mission, and the learner’s development. (2) Teaching and learning should be encouraged to provide the teachers and personnel with knowledge and understanding of classroom research with media production and innovation in learning. The teachers should be encouraged to attend training, and seminars by inviting the speakers to educate and exchange academic learning both inside and outside the school. (3) To promote the academic environment, the academic skills activities should be organized within the school by participating in the different-level assessment exams to observe the student development. The teachers and students should be engaged in academic training including academic camps. (4) Curriculum and teaching administration should be arranged in an educational quality development plan and promote collaborative learning as a team to achieve the collaborative vision process. (5) The mission and goal determination of the school should include the scope of work or the role of the organization based on the structure of the school administration. The school context should employ the SWOT Analysis. (6) The supervision of teaching and learning management should be assessed using key performance indicators. All officers were assigned to report on their performance progress. The evaluation of teacher performance should utilize a variety of assessments.


Download : ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1