The Comparison of the Learning Achievement of Secondary 1 ( Grade 7) Students in Thai Dramatic Arts Course of the Male Characters (Khon Phra Na Phat Dance) between the Group of Students Who Studied Using Harrow’s Practical Skill Teaching Model and the Group of Students Who Studied Using Traditional Instruction

โดย ดนัย จันทร์ศรี

ปี 2564


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชานาฏศิลป์ไทยโขนพระ รำหน้าพาทย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานาฏศิลป์ไทย โขนพระ รำหน้าพาทย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มทดลองเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ และกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปะสุพรรณบุรี จำนวน 2 ห้องจากห้องเรียนที่จัดแบบคละความสามารถโดยสุ่มแบบแบ่งกลุ่มเป็นกล่มทดลอง จำนวน 12 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์รำหน้าพาทย์ 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า ที แบบกลุ่มตัวอย่างอิสระ และแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ

ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชานาฏศิลป์ไทยโขนพระ รำหน้าพาทย์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 และ 6 ของกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะปฏิบัติในรายวิชานาฏศิลป์ไทยโขนพระ รำหน้าพาทย์ ของกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนของแฮร์โรว์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


ABSTRACT

This research aimed to compare learning achievement of Secondary 1 (Grade 7) students in Thai Dramatic Arts course of the male characters (Khon Phra Na Phat Dance) using Harrow’s practical skills teaching model between the experimental group of students who studied using Harrow’s practical skill teaching model and the control group of students who studied using traditional instruction.

The sample group consisted of two classes of Secondary 1 (Grade 7) students of Suphanburi College of Dramatic Arts. The students in each group were mixed with various skill levels.They were randomly divided into an experimental group of 12 students and a control group of 12 students. The research instruments were: 1) 8 learning management plans using Harrow’s practical skill teaching model, 2) Na Phat Dance performance test, and 3) practice skill assessment form. The statistics used in data analysis were mean, standard deviation, independent sample t-test, and dependent sample t-test.

The results of the study revealed that the learning achievement of Secondary 1 (Grade 7) students in Thai Dramatic Arts course of the male characters (Khon Phra Na Phat Dance) in the 1st and 6th learning management plans of the experimental group after studying was higher than before studying with the statistical significance at the .001 level and the practical skill achievement of the experimental group using Harrow’s teaching model was higher than the control group studied using traditional instruction with the statistical significance at the .001 level.


Download: The Comparison of the Learning Achievement of Secondary 1 ( Grade 7) Students in Thai Dramatic Arts Course of the Male Characters (Khon Phra Na Phat Dance) between the Group of Students Who Studied Using Harrow’s Practical Skill Teaching Model and the Group of Students Who Studied Using Traditional Instruction