The Production of Stop Motion “Chance”
จัดทำโดย เปรมฤทัย แก้วคีรี
สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ (Abstract)
ความพิการเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่ต้องการ แต่ในบางครั้งก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะการเป็นคนพิการเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่อย่างไรก็ตามก็มีผู้พิการหลายคนที่สามารถเอาชนะความบกพร่องทางร่างกายและประสบความสำเร็จได้ แต่ยังมีผู้พิการอีกมากมายที่ไม่ได้รับโอกาสจากบุคคลรอบข้างดังนั้นผู้วิจัยจึงเกิดความคิดในการผลิตสื่อเพื่อกระจายให้บุคคลทั่วไป ยอมรับและให้โอกาสกับผู้พิการ จึงนำเสนอออกมาในรูปแบบของสื่อสต๊อปโมชั่น (Stop Motion) ผู้วิจัยจึงได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนภาพลักษณ์สังคมและดึงดูดความสนใจกลุ่มเยาวชนให้เข้าถึงสภาพปัญหาของคนพิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง “โอกาส (Chance)” เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง “โอกาส (Chance)”
กลุ่มตัวอย่างในการประเมิน เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อายุระหว่าง 18 – 25 ปี จำนวน 30 คน ได้แก่คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย สื่อแอนิเมชั่นเทคนิคสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) แบบประเมินคุณภาพสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) สำหรับผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) สำหรับกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน พบว่า คุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.30 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ 4.42 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มาก
คำสำคัญ: สต๊อปโมชั่น, โอกาส, คนพิการ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การศึกษางานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อผลิตสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)
- เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้สื่อสต๊อปโมชั่นที่มีคุณภาพ
- ได้ทราบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)
- ได้แนวทางการพัฒนาสื่อเทคนิคสต๊อปโมชั่น ที่สะท้อนปัญหาของคนพิการ
นิยามศัพท์
นิยามศัพท์ที่ใช้ในโครงการวิจัยมีดังนี้
- ความพิการ (Disability) หมายถึง ข้อจำกัด หรือไม่มีความสามารถซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายทำให้การควบคุมการทำงานอวัยวะส่วนนั้นมีขีดจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ความบกพร่อง ความพิการบางชนิดอาจจะเกิดขึ้นชั่วคราว บางชนิดถาวร แต่ความพิการบางชนิดกลับมาเป็นใหม่ได้และบางชนิดสามารถรักษาได้ เมื่อคนที่มีความบกพร่องต้องเผชิญกับสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคมที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่ส่งเสริมให้สามารถดำรงชีวิตอิสระ และแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ ทำให้คนที่ความบกพร่องต้องเชิญกับสภาพความพิการเป็นคนที่ไร้ความสามารถซึ่งเป็นผลพวงจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคนั่นเอง
- ความบกพร่อง (Impairment) หมายถึง ความบกพร่อง ความสูญเสีย ความผิดปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ และสูญเสียความสามารถในการควบคุมหรือมีข้อจำกัดในการทำงานของอวัยวะและสติปัญญา ซึ่งรวมถึงการมีโครงสร้างของอวัยวะร่างกายไม่ครบ หรือมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นความบกพร่องจึงเป็นเรื่องเฉพาะของบุคคลไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
- การสูญเสียโอกาส (Handicap) หมายถึง ผลพวงจากความบกพร่อง ความพิการ และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ขัดขวางการทำงาน การปฏิบัติหน้าที่ ที่คนทั่ว ๆ ไปพิจารณาว่า เป็นสิ่งปกติสำหรับมนุษย์ ดังนั้น การสูญเสียเสียโอกาส (handicap) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนพิการ (person with disability) กับสิ่งแวดล้อม ประเพณี วัฒนธรรม และสิ่งสำคัญที่สุด คือ สิ่งกีดขวาง (barrier) ทางกายภาพและสังคมในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (build environment) ระดับของความได้เปรียบเสียเปรียบจึงค่อนข้างจะมีความสัมพันธ์โดยตรงหรือแปรตามระดับของปัญหาจากสภาพแวดล้อม
- สต๊อปโมชั่น (Stop Motion) หมายถึง แอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และต้องขยับรูปร่างท่าทาง ของส่วน ประกอบเหล่านั้นทีละนิด ๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรม ๆ
- พิกซิลเลชั่น (Pixilation) หมายถึง สต็อปโมชั่นที่ใช้คนจริง ๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้งหุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุก
ขอบเขตของการวิจัย
- ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื่องจากสังคมในปัจจุบันมีการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลพิการ ทำให้คนพิการสูญเสียการทำงาน สูญเสียโอกาสในการใช้ชีวิตในสังคม เนื้อหาภายในสื่อสต๊อปโมชั่นสะท้อนปัญหาถึงโอกาสและความฝันของคนพิการที่อาจจะทำตามความฝันไม่ได้ ด้วยเทคนิคสต๊อปโมชั่น (Stop Motion) เรื่องโอกาส จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นในมุมมองของผู้พิการที่อยู่ในสังคม โดยสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่องนี้ยังแฝงข้อคิดเกี่ยวกับความฝันของผู้พิการ โดยมีความยาว 2 นาที - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี - กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling)
- ประชากร
- เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
- สื่อแอนิเมชั่นเทคนิคสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)
- แบบประเมินคุณภาพสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
- แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) สำหรับกลุ่มตัวอย่าง
- ด้านเทคนิค
เทคนิคในการจัดทำการผลิตสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง “โอกาส (Chance)” ประกอบด้วยเทคนิคดังต่อไปนี้- นำภาพที่ถ่ายไว้ นำมาตกแต่งและปรับขนาด สี ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop Lightroom 5.7.1
- ออกแบบวาดภาพกราฟิกใส่ในสื่อ ด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator CS6
- นำภาพที่ถ่ายตกแต่งปรับสีแล้วมาเรียงให้เคลื่อนไหวและตัดต่อวิดีโอ ด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS6
- นำภาพที่เรียงเป็นวิดีโอที่สมบูรณ์แล้วมาใส่เอฟเฟคและภาพกราฟิกให้ดูน่าสนใจมากขึ้นในโปรแกรม Adobe After Effect CS6
สรุปผลประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ผู้เชี่ยวชาญ
ผลสรุปการศึกษาคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอภาพและเสียง ด้านเทคนิคสต๊อปโมชั่น ได้ผลสรุปการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) โดยจำแนกออกเป็น 3 หัวข้อได้ดังต่อไปนี้
ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา
จากการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ในด้านเนื้อหาพบว่า อยู่
ในระดับคุณภาพดี สรุปได้ว่า เนื้อหาและข้อมูลของสื่อครบถ้วนมีความถูกต้อง เนื้อหาเหมาะสมกับโอกาสของคนพิการ มีการลำดับขั้นตอนการน าเสนอที่ดี เข้าใจง่าย และเนื้อหาในแต่ละตอนมีความสอดคล้องกับเรื่องราว
ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการนำเสนอภาพและเสียง
จากการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ในด้านการนำเสนอภาพ
และเสียง พบว่า ในหัวข้อภาพกราฟิกผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก ในหัวข้อการลำดับภาพสอดคล้องกับเนื้อหา อยู่ในระดับคุณภาพดี ส่วนในด้านเสียง พบว่า ในหัวข้อเสียงประกอบมีความน่าสนใจ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก โดยผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำเพิ่มเติมในเรื่องของเสียง และความต่อเนื่องของภาพ
ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเทคนิคสต๊อปโมชั่น
จากการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ในด้านเทคนิคการ
เคลื่อนไหว สต๊อปโมชั่น พบว่า ในหัวข้อคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นมีความคมชัด อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก และในหัวข้อความเหมาะสมของสื่อสต๊อปโมชั่นและเทคนิค อยู่ในระดับคุณภาพดี ซึ่งสรุปได้ว่า การเคลื่อนไหวมีความต่อเนื่อง เพลิดเพลิน และการเคลื่อนไหวสามารถสื่อสารได้ชัดเจน เข้าใจง่าย เชื่อมโยงภาพกราฟิกได้ดี โดยผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำเพิ่มเติมในเรื่องของการเคลื่อนไหวบางช่วงยังช้าและขาดไป
สรุปผลประเมินความพึงพอใจต่อสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) กลุ่มตัวอย่าง
ผลสรุปการศึกษาความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) จากกลุ่มตัวอย่าง
ที่เป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample random sampling) ได้สรุปการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) โดยการแบ่งหัวข้อการประเมินความพึงพอใจเป็น 2 หัวข้อ ดังต่อไปนี้
ผลสรุปข้อมูลทั่วไปของผู้ประเมินในกลุ่มตัวอย่าง
จากการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) จากกลุ่มตัวอย่าง
ทั้งหมด 30 คน นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน พบว่าส่วนใหญ่จะมีอัตราส่วนระหว่างเพศชายและเพศหญิงที่ต่างกันไม่กี่เปอร์เซ็นต์และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่า เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มากที่สุด และแบ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรปกติ และหลักสูตรเทียบโอน
ผลสรุปการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง
จากการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) จากกลุ่มตัวอย่าง
พบว่าในหัวข้อภาพกราฟิกมีความเหมาะสมกับเนื้อหา ดูน่าสนใจ และหัวข้อผู้ชมสื่อสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย ทางกลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ส่วนในหัวข้อเนื้อหามีความกระชับเข้าใจง่าย หัวข้อเนื้อหาความเหมาะสมในการนำไปเผยแพร่ หัวข้อรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของสื่อมีความน่าสนใจ หัวข้อภาพกราฟิกมีความสวยงามน่าสนใจ หัวข้อความเหมาะของสี แสงและเงาภาพ หัวข้อเสียงประกอบมีความเหมาะสมกับเนื้อหา หัวข้อสื่อสต๊อปโมชั่นมีความสอดคล้องกับเนื้อหา หัวข้อสื่อสามารถกระตุ้นให้ตระหนักถึงการให้โอกาสของบุคคลพิการ หัวข้อเทคนิค สต๊อปโมชั่น สามารถทำให้สื่อความหมายของสื่อได้ดียิ่งขึ้น มีความสารถดึงดูดผู้ชม ทางกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี โดยสรุปค่าเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างออกมาอยู่ในระดับดี ทางกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดว่า ควรจะทำให้เสียงบรรยาย และช่วงต้นเรื่องน่าสนใจกว่านี้
อภิปรายผล
ผลจากการศึกษาค้นคว้าสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
- ผลการอภิปลายจากการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance)
โดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยพัฒนาสื่อไปใช้ในการรณรงค์ เนื่องจากมีระดับคะแนนเฉลี่ยวิเคราะห์คุณภาพความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน ประกอบไปด้วยด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอภาพและเสียง และด้านเทคนิคสต๊อปโมชั่น ผลประเมินคุณภาพในด้านเนื้อหา ในหัวข้อเนื้อหามีความน่าสนใจ และผลประเมินคุณภาพในด้านเทคนิค ในหัวข้อภาพกราฟิกมีความเหมาะสมกับเนื้อหา และหัวข้อความสอดคล้องของเนื้อหากับสื่อสต๊อปโมชั่น มีค่าเฉลี่ยที่เท่ากัน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี เนื่องจากผู้วิจัยได้เรียบเรียงเนื้อหาให้มีความเข้าใจง่าย ทำให้เกิดความน่าสนใจ และในด้านเทคนิคและในส่วนของภาพกราฟิกมีความสอดคล้องกับเนื้อหาได้ดี อีกทั้งยังสามารถสื่อให้ผู้ชมเข้าใจง่าย และมีความสวยงามน่าสนใจอีกด้วย - ผลการอภิปลายจากการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส
(Chance) โดยกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผลประเมินความพึงพอใจทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอภาพและเสียง ด้านเทคนิคสต๊อปโมชั่น และด้านประสิทธิภาพของสื่อ มีระดับการรับรู้สื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ความพึงพอใจอยู่ในระดับดี โดยเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ขึ้นไป สื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ที่อยู่ในระดับความพึงพอใจที่เท่ากัน เนื่องจากผู้วิจัยได้มีการเรียบเรียงเนื้อหาได้ดีมีความเหมาะสม เรียบเรียงภาพและปรับระดับความคมชัดได้เหมาะสม ในส่วนของภาพกราฟิกมีความน่าสนใจ และสามารถนำสื่อไปเผยแพร่ได้ - ผลการอภิปลายจากการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่น โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
4 ด้าน และการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่น โดยกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 30 คน ในส่วนของการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่น โดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยที่ไม่ต่างกันมาก โดยผลการประเมินคุณภาพของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) โดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.30 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพดี ในส่วนของการประเมินความพึงพอใจของสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) โดยกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 4.45 ซึ่งความพึงพอใจอยู่ในระดับดี เนื่องจากว่า ผู้วิจัยได้มีการวางแผนก่อนการทำงานเป็นอย่างดี และมีการวางแผนงานก่อนลงมือทำ เช่น การหาข้อมูลพื้นฐานของคนพิการ การลงพื้นที่ก่อนถ่ายจริง การติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่ขอสถานที่ในการถ่ายทำ การร่างสตอรี่บอร์ด(Storyboard) การร่างฉากต่าง ๆ การวางแผนการถ่าย การวางแผนการตัดต่อ
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาการผลิตสื่อสต๊อปโมชั่นเรื่อง โอกาส (Chance) ตลอดจนการประเมินด้านต่าง ๆ จนได้ผลสรุปการศึกษาที่เสร็จสมบูรณ์ จึงได้เกิดข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการทำการศึกษาครั้งต่อไปหรือการปรับปรุงผลงานการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น ดังต่อไปนี้
- ผลสรุปข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
- ความต่อเนื่องของเนื้อหาบทสถานการณ์ยังไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควร
- การใช้ฟอนต์ยังไม่ดีพอ ควรมีข้อความภาษาอังกฤษแปลด้านล่างด้วย
- การสื่ออารมณ์ของภาพที่นำเสนอยังไม่สื่ออารมณ์เท่าที่ควร
- ควรมีเนื้อหาที่ชัดเจนกว่านี้หรือเพิ่มเติม
- ควรมีการปรับเสียงบรรยายให้มีน้ำหนักความดังให้เท่ากัน
- ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่าง
- ควรมีการปรับเสียงบรรยายให้มีน้ำหนักความดังให้เท่ากัน
- การสื่ออารมณ์ของภาพยังไม่สื่อเท่าไหร่
- สี แสง เงา ของภาพยังไม่น่าสนใจ
- ข้อเสนอแนะจากประธานและคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
- ควรมีการปรับเสียงบรรยายให้มีน้ำหนักความดังให้เท่ากันและชัดเจน
- ความต่อเนื่องของภาพและอารมณ์ของนักแสดงยังไม่เด่นชัด
- การเลือกใช้ฟอนต์ยังไม่เหมาะสม
- ข้อเสนอแนะจากผู้วิจัย
- ปรับเนื้อหาของสื่อสต๊อปโมชั่นให้กระชับเข้าใจ
- ควรพัฒนาความต่อเนื่องของภาพให้สื่อชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อความเข้าใจของผู้รับชม
สื่อ