Innovative typographic design of the five buddhist precepts

โดย วิจิตรา พุทธิสิริพร

ปี 2564


บทคัดย่อ

งานวิจัยการออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีล เป็นการต่อยอตนวัตกรรมการออกแบบต่อการรับรู้เรื่องเบญจศีล มีขึ้นเพื่อการพัฒนาหลักคำสอนในรูปแบบเดิม การออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายของเบญจศีลจากหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา สำหรับสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบการจัดวางตัวอักษร 2) สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีล 3) สื่อสารความหมายของเบญจศีลให้กับคนไทยในปัจจุบัน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคคลทั่วไป อายุ 18 ปี ขึ้นไป ไม่จำกัดเพศ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามปลายปิด การสร้างสรรค์ผลงานการ

ออกแบบการจัตวางตัวอักษรจากเบญจศีล จำนวน 5 ผลงาน ต่อยอตผลงานสู่นวัตกรรมในสื่ออื่น ๆ เช่น การทำผลงานให้เป็นรูปแบบ AR : Augmented Reality Technology หรือเทคโนโลยีเสมือนจริงสามารถใส่เสียง ขยับภาพบางส่วนเพื่อเพิ่มอรรถรสในการซมผลงาน เครื่องมือหลักในการใช้งานคือโทรศัพท์มือถือ นับว่าเป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วม และเข้าถึงเรื่องราวได้ง่ายยิ่งขึ้น

ผลการวิจัยพบว่า หลักคำสอนตามหลักพุทธศาสนาสร้างความเข้าใจได้ด้วยการออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีล ทั้งหมด 5 ผลงาน ซึ่งเป็นการบอกเรื่องราวของศีลทั้ง 5 ข้อ สร้างความน่าสนใจและการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายได้ดี ผลงานที่สื่อสารออกมามีทั้งการใช้ขนาดที่แตกต่างกันของตัวอักษร การใช้สีเพื่อสื่ออารมณ์ และภาพประกอบที่แตกต่างกันซองศีลในแต่ละข้อ โดยมีการผสมผสานเทคนิคของการออกแบบกราฟิกและความเชื่อทางพุทธศาสนาเพื่อสร้างผลงานที่เข้าถึงได้ง่ายกับกลุ่มคน ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยเป้าประสงค์เพื่อการสื่อสารความหมายเรื่องราวของศีลแต่ละข้อที่สามารถนำมาปรับใช้ไต้กับชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม


Download : การออกแบบการจัดวางตัวอักษรจากเบญจศีล