The Contentment of Using Serves a Dormitory from the Rajamangala University of Technology Thanyaburi’s Student

โดย พาณาวรรณ ภู่สี

ปี     2549

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ต่อการใช้บริการหอพัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชากรนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทั้ง 9 คณะ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้ทดสอบค่าที (Independent t-test) กับกลุ่มตัวอย่างที่มี 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า2 กลุ่ม ถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows

ผลการวิเคราะห์ทางด้านประชากรศาสตร์ส่วนมากเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 21 – 23 ปี มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 5,000 บาท มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง โดยส่วนใหญ่นักศึกษาศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 และคณะที่ศึกษาคือคณะบริหารธุรกิจ

ประสบการณ์ในการใช้บริการหอพัก พบว่ากลุ่มตัวอย่างพักอาศัยอยู่ในหอพักสหมากกว่าหอพักชายและหอพักหญิง มีระยะเวลาในการพักอาศัย 1 ปี – 2 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด โดยส่วนใหญ่บุคคลที่แนะนำคือ กลุ่มเพื่อน นอกจากนั้นข้อมูลระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด สามารถสรุปผล ได้ดังนี้

ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด ระดับความพึงพอใจโดยรวมที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร ด้านราคา ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 , 3.57, 3.45 , 3.41 , 3.33 , 3.28 และ 3.03
ผลการวิเคราะห์สมมติฐาน
          ด้านเพศ อายุ และชั้นปีที่กำลังศึกษา ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจไม่แตกต่างกันส่วนรายได้ต่อเดือน ภูมิลำเนา และคณะที่กำลังศึกษาอยู่ ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
          ด้านประเภทหอพักที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความพึงพอใจ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
          ด้านระยะเวลาในการพักอาศัย พบว่านักศึกษาที่มีระยะเวลาในการพักอาศัยแตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้บริการหอพัก ด้านราคาและด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
          ด้านสาเหตุในการใช้บริการ นักศึกษาที่มีสาเหตุในการใช้บริการแตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้บริการหอพักแตกต่างกันด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
          ด้านผู้แนะนำในการใช้บริการ นักศึกษาที่มีผู้แนะนำให้มาใช้บริการแตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้บริการหอพักแตกต่างกันด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

DOWNLOAD

Comments are closed.