แผนธุรกิจบริษัท S.J.S BANANA EXPORT จำกัด

โดย จีรนันท์ เอกอำนวยกุล

ปี      2548

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

แนวคิดของธุรกิจ
บริษัท S.J.S BANANA EXPORT จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยตั้งอยู่ที่ ตำบลโพธิแทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีทุนจดทะเบียนจำนวน 13,000,000 บาท บริษัทได้มีแผนทำการส่งออกกล้วยหอมทองเข้าสู่ตลาดประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท มีกำลังการผลิต 5,800กิโลกรัมต่อไร่ มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 1,117 ไร่ ที่เหลือ 83 ไร่ จัดเป็นโรงบรรจุผลิตภัณฑ์ โรงทำปุ๋ยชีวภาพ และอื่น ๆ ลักษณะการทำธุรกิจเป็นการเกษตรที่มีแบบแผนในรูปแบบของอุตสาหกรรมการเกษตรกล้วยหอมทองที่ใช้การพัฒนาระบบการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีผสมผสานกลับการพึ่งพิงธรรมชาติโดยปราศจากการทำร้ายธรรมชาติด้ายสารเคมีอย่างเช่นในปัจจุบัน โดยมีการวางแผนการจัดการที่เป็นระบบทั้งในด้านการจัดการผลิต การจัดจำหน่าย การจัดการองค์กร ทั้งหมดจะกำหนดมาเป็นแผนการเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้การจัดการที่เน้นการที่เน้นผู้บริโภคเป็นสำคัญ

การส่งออกกล้วยหอม ตลาดสำคัญของโลกมี 3 ตลาด ได้แก่ ตลาดยุโรป ตลาดในสหรัฐอเมริกา และตลาดญี่ปุ่น แต่ตลาดยุโรป และตลาดในสหรัฐอเมริกาจะเป็นตลาดขนาดใหญ่แต่มีปัญหาทางด้านการขนส่งกล้วยหอมสด บริษัท S.J.S BANANA EXPORT จำกัด จึงศึกษาตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากมีการเปิดการค้าเสรี ไม่จำกัด โควตาเหมือนทางยุโรป ตลาดกล้วยหอมในประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียมียอดนำเข้า 944,300 ตัน ด้วยมูลค่า 468.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การขนส่งจะมีเวลาสั้น เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าตลาดยุโรป และอเมริกา ลักษณะการขายเป็นแบบขายตรงกับบริษัทผู้นำเข้าสินค้าผักผลไม้ของประเทศญี่ปุ่นการกำหนดราคาขายกล้วยหอมทองกิโลกรัมละ 18 บาท บริษัทมีเป้าหมายการดำเนินโครงการ 10 ปี มีเป้าหมายทางการตลาดเท่ากับ0.05% ของปริมาณการนำเข้าในตลาดประเทศญี่ปุ่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทเป็นบริษัทผู้นำเข้าสินค้าผลไม้ของประเทศญี่ปุ่น และบริษัทผู้ส่งออกสินค้าผลไม้ของประเทศไทย โดยใช้สื่อทางอินเทอร์เน็ต และการออกบูททั้งในและต่างประเทศรวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายกับกรมส่งเสริมการส่งออก และการให้บริการหลังการขายที่เน้นการหาสาเหตุของปัญหา และร่วมแก้ไขกับลูกค้าอย่างมีความรูปธรรมม เช่น การรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหายกับสินค้า

การปลูกกล้วยหอมทองจะต้องมีการวางแผนการปลูกล่วงหน้า เนื่องจากการปลูกกล้วยหอมทองใช้ระยะเวลาในการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 12 เดือน โดยแบ่งเป็น 3 เดือนแรก เป็นการเตรียมดินและเวลาอีก 9 เดือน การเพาะปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต การเริ่มการปลูกกล้วยหอมของบริษัทจะเริ่มในช่วงเดือนเมษายน ของปีแรก เพื่อให้กล้วยหอมทองสามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนมกราคมของปีถัดไป เนื่องจากเป็นเดือนที่ทางตลาดมีความต้องการกล้วยหอมทองสูง และต้องการหลีกเลื่องลมในช่วงเดือนเมษายน และบริษัทจะมีรายได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่ 2 จนกระทั่งปีที่ 10 ซึ่งเป็นระยะเวลา 9 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2558

ส่วนการขนส่งนั้นทางบริษัทจะส่งกล้วยหอมทองทางเรือซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการเดินทาง17 วันในการเดินทางถึงประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกล้วยหอมทองจะสามารถอยู่ในตู้เย็นได้นาน 30 วัน ในอุณหภูมิ 13-15 องศาเซลเซียส

จากการประเมินโครงการโดยใช้เครื่องมือทางการเงิน คือ NPV และ IRR ซึ่งค่าที่ได้ NPVเท่ากับ 80,062,346.19 และ IRR เท่ากับ 36% เป็นค่าที่มากกว่า WACC เป็นผลให้โครงการนี้สามารถดำเนินการได้ประกอบกับการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงกรณีราคาขายลดลงร้อยละ 20 การเปลี่ยนแปลงกรณีผลผลิตลดลงร้อยละ 20 และการเปลี่ยนแปลงกรณีต้นทุนลดลงร้อยะ 20 โดยใช้ NPV และ IRR ผลการศึกษาพบว่าค่า NPV มากกว่า ศูนย์ และ ค่า IRR ยังมากกว่า WACC ซึ่งสามารถสุรปได้ว่าโครงการนี้ก็ยังสามารถดำเนินการได้

DOWNLOAD

Comments are closed.