SMT Production Line Capacity & Productivity Improvement; Case Study: Electronics Manufacturing Services

โดย เชาวลิต เทียนสุวรรณ

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการเพิ่มกำลังการผลิตและผลผลิตของสายการผลิต SMT กรณีศึกษาจากโรงงานประเภท Electronics Manufacturing Services แห่งหนึ่ง โดยมีการประยุกต์ใช้หลักการของบางส่วนของ Six Sigma Breakthrough Strategy Concepts และ Lean Manufacturing Concepts เพื่อเป็นแนวทางในการทำ Technological และMethodology Roadmap ในการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ภายในขอบเขตแห่งการศึกษาที่ได้ตั้งเอาไว้

ก่อนการศึกษาพบว่าโรงงานแห่งนี้กำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับกำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าผลิตภัณฑ์ Printed Circuited Board, PCBA1030431 มียอดของการสั่งซื้อที่สูงที่สุดคือ 37 % ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด โดยมียอดการสั่งซื้อโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 49,680 หน่วย ต่อสัปดาห์ เป็น 54,000 หน่วย ต่อสัปดาห์ และมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในอนาคต ดังนั้นเพื่อตอบสนองความความต้องการดังกล่าว ขบวนการและแนวทางในการเพิ่มกำลังการผลิตและผลผลิตของ PCBA 1030431 จึงได้ถูกศึกษาค้นคว้าและนำไปสู่การปฏิบัติในท้ายที่สุด

ผลของการศึกษาจากการประยุกต์ใช้ Six Sigma Breakthrough Strategy Steps และLean Manufacturing Concepts พบว่าการลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นจาก Transferring Time ในขบวนการผลิตสามารถทำได้ โดยการควบรวมขบวนการผลิตและทำการเปลี่ยน SMT Pallet จากSingle SMT Pallet ไปเป็น Mirror SMT Pallet ซึ่งผลที่เกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ทำให้กำลังการผลิตของ PCBA 1030431 เพิ่มขึ้น 24.51 % ผลผลิตเพิ่มขึ้น 32.59 % โดยที่ Labor and Overhead Cost ลดลงจากเดิม 24.49 %

DOWNLOAD