Sales Forecasting Trend of the Companies in Agribusiness Sector, On the Stock Exchange of Thailand

โดย เจริญธรรม เหลืองประดิษฐ์

ปี      2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การพยากรณ์แนวโน้มยอดขายของบริษัทหมวดธุรกิจการเกษตร ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองของการพยากรณ์ยอดขายของบริษัทหมวดธุรกิจการเกษตร เพื่อพยากรณ์แนวโน้มยอดขาย และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มของยอดขายของบริษัทในหมวดธุรกิจการเกษตรจากวิธีการถดถอยพหุคูณ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ เป็นข้อมูลรายไตรมาสของยอดขาย ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ ข้อมูลอัตราการใช้กำลังการผลิต และข้อมูลดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2543 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2550 จำนวนทั้งสิ้น 30 ข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Excell for Windows และ SPSS Version 11โดยใช้สถิติ Pearson Correlation และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์โดยใช้ One-Sample t-test

ผลการวิเคราะห์แบบจำลองในการพยากรณ์โดยวิธีอนุกรมเวลา พบว่า แบบจำลองที่มีค่า MAD น้อยที่สุด คือ Seasonal Model โดยมีค่า MAD อยู่ที่ 2,473.628 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์พบว่า แบบจำลองสามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์ยอดขายได้ โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน4,500 ล้านบาท ส่วนผลการพยากรณ์แนวโน้มยอดขายในไตรมาสที่ 1-4 ปี พ.ศ. 2551 พบว่ายอดขายที่ได้จากการพยากรณ์เท่ากับ 57,436.534 64,123.493 71,682.508 และ 68,767.647 ล้านบาทโดยในไตรมาสที่ 3 ปีพ.ศ. 2551 มียอดขายสูงที่สุด

ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ ยอดขายกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)อัตราการใช้กำลังการผลิต ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม มีระดับความสัมพันธ์ที่สูงมาก และอัตราเงินเฟ้อ มีระดับความสัมพันธ์ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01ผลการวิเคราะห์แบบจำลองในการพยากรณ์โดยวิธีการถดถอยพหุคูณ พบว่า แบบจำลองของยอดขายของบริษัทหมวดธุรกิจการเกษตร มีความสัมพันธ์กับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 0.05 และสมการที่ได้จากการคำนวณ สามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์ยอดขาย โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 4,500 ล้านบาท

        Y = -7949.702 + 380.672 (ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม)

เมื่อ   Y = ยอดขายของบริษัทหมวดธุรกิจการเกษตร

DOWNLOAD