Construction of a Model Cart for theCommunity’s Income Generation

โดย บุญเรือง สมประจบ

ปี 2548

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยเรื่อง การสร้างเกวียนจำลองพื้นบ้านภาคกลาง เพื่อการสร้างงานและรายได้ในชุมชนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบเกวียนพื้นบ้านภาคกลาง และเพื่อสร้างเกวียนจำลองพื้นบ้านภาคกลางประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ รูปแบบเกวียนพื้นบ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 20 จังหวัดของประเทศไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่และค่าร้อยละผลการวิจัยพบว่า เกวียนพื้นบ้านภาคกลางของประเทศไทยมีจำนวน 8 รูปแบบ ดังนี้ (1.) เกวียนรอยต่อพระนครศรีอยุธยาต่อสระบุรี มีลักษณะหัวโค้งสูงใหญ่ แม่กำพองโค้งงอน 90 องศา แปรกตรง ท้าวแขนแอ่นงอน (2.)เกวียนควายใหญ่สุพรรณบุรีมีลักษณะทูป 2 ชิ้น หัวป้าน ท้าวตรง แม่กำพองยาวตรง แปรกตรง (3.) เกวียนเล็กกะแทะพระนครศรีอยุธยา ใช้ควายตัวเดียวลากเป็นเกวียนขนาดเล็ก มีลักษณะทูปไม่ประกบติดกันแม่กำพองยาวตรงมีท้าวแขนอ่อนงอน (4.) เกวียนหัวแหลม ลพบุรี-ชัยนาท ลักษณะทูปเป็นไม้ท่อนเดียวปลายแหลมงอนขึ้นแม่กำพองชี้ขึ้น แปรกตรง ท้าวแขนงอน (5.) เกวียนกาญจนบุรี – สุพรรณบุรี มีลักษณะทั้งหัวแหลมและหัวป้าน ทูปประกบกัน แม่กำพองตรง ท้าวแขนอ่อนช้อย ปะแหรกตรง มีประทุนทรงกลมยาวตลอดเรือนเกวียน (6.) เกวียนราชบุรี มีลักษณะหัวแหลม แม่กำพองแอ่นขึ้น ปะแหรกตรงมีขนาดใหญ่ ท้าวแขนงอน(7.) เกวียนนครสวรรค์-พิษณุโลก มีลักษณะพิเศษคือ มีไม้ท้าวแขนยื่นออกไปยันไม้ขวางทางทั้ง 2 ด้านแม่กำพองงอนขึ้น (8.) เกวียนเพชรบุรี มีลักษณะมีส่วนหัวเพิ่มขึ้นมาให้สามารถบรรทุกได้มากขึ้น ทูปเป็นไม้ท่อนเดียว หัวงอนโค้งอ่อนไม้ท้าวแขนงอน มีคำยัน 2 ด้าน

Download