The process of making Thai musical instruments: a case study of Thai musical instrument makers in Nakhonnayok.

โดย สุภาสิรีร์ ปิยะพิพัฒน์

ปี 2552

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยเรื่อง กระบวนการผลิตเครื่องดนตรีไทย กรณีศึกษา ช่างทำเครื่องดนตรีไทยในจังหวัดนครนายก มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลช่างทำเครื่องดนตรีไทย ประวัติและผลงานตลอดจนกระบวนการผลิตเครื่องดนตรีไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ช่างทำเครื่องดนตรีไทยในจังหวัดนครนายก จำนวน 3 ราย คือ 1) นายพิบูลย์ นิลวิไลพันธ์ บ้านเลขที่ 42/1 หมู่ 8 ตำบลศรีนาวา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก (โรงงานกลึงลูกฆ้อง) และบ้านเลขที่ 57/3 หมู่ 3 ถนน 304 วังทะลุ ตำบลกรอกสมบูรณ์ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี (โรงงานหล่อลูกฆ้อง) ทำการผลิตลูกฆ้องไทยและมอญ 2) นายมานพ อยู่สวัสดิ์ บ้านเลขที่ 36 หมู่ 1 ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ทำการผลิตผืนระนาดเอกและระนาดทุ้ม 3) นายสมหวัง คำวัจนังบ้านเลขที่ 123 หมู่ 12 ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ทำการผลิตอังกะลุงแบบเขย่า และอังกะลุงราวแบบใช้ลวดสปริงและกดปุ่มแทนการเขย่าผลการวิจัยกระบวนการผลิตเครื่องดนตรีไทย กรณีศึกษา ช่างทำเครื่องดนตรีไทยในจังหวัดนครนายก พบว่า กระบวนการผลิตฆ้องหล่อ สามารถจำแนกขั้นตอนในการผลิตออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการหล่อลูกฆ้อง 2) ขั้นตอนการกลึงลูกฆ้อง 3) ขั้นตอนการเทียบเสียง 4) ขั้นตอนการเจาะรูลูกฆ้อง กระบวนการผลิตผืนระนาดเอก สามารถจำแนกขั้นตอนในการผลิตออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการแบ่งขนาดลูกระนาด 2) ขั้นตอนการทำหลังลูกระนาด 3) ขั้นตอนการวัดขนาดผืนระนาด 4) ขั้นตอนการบากท้องลูกระนาด 5) ขั้นตอนการเจาะรูร้อยเชือกลูกระนาด 6) ขั้นตอนการเทียบเสียง กระบวนการผลิตผืนระนาดทุ้ม สามารถจำแนกขั้นตอนในการผลิตออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการแบ่งขนาดลูกระนาด 2) ขั้นตอนการวัดขนาดผืนระนาด 3) ขั้นตอนการบากท้องลูกระนาด 4) ขั้นตอนการเจาะรูลูกระนาด 5) ขั้นตอนการเทียบเสียง 6) ขั้นตอนการร้อยเชือกลูกระนาด กระบวนการผลิตอังกะลุงแบบเขย่า และอังกะลุงราว สามารถจำแนกขั้นตอนในการผลิตออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการทำกระบอกอังกะลุง 2) ขั้นตอนการทำไม้ดิ้วอังกะลุง 3) ขั้นตอนการทำรางอังกะลุง 4) ขั้นตอนการประกอบอังกะลุงจากการรวบรวมข้อมูลช่างทำเครื่องดนตรีไทยในจังหวัดนครนายก ตลอดจนศึกษากระบวนการผลิตเครื่องดนตรีไทย เป็นการส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในรูปแบบการศึกษาที่เชื่อมโยงสู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งนับว่าเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ของช่างทำเครื่องดนตรีไทยในจังหวัดนครนายกสู่สังคมและประเทศชาติ

The research on the process of making Thai musical instruments: a case study of Thai musical instrument makers in Nakhonnayok has an objective to gather information about Thai musical instrument makers’ life and work, as well as the process of making Thai musical instruments. The population of this research are three Thai musical instrument makers in Nakhonnayok: 1) Mr. Piboon Nilvilaipan who owns a gong-shaping factory located at 42/1 Moo 8, Tambon Srinawa, Amphur Muang, Nakhonnayok, and a gong-pouring factory located at 57/3 Moo 3, 304 Wangtalu Road, Tambon Kroksomboon, Amphur Sri Mahapho, Prajeenburi; 2) Mr. Manop Yusawad who makes ranad-ek and ranad-toom sheets, living at 36 Moo 1, Tambon Pikul-aug, Amphur Banna, Nakhonnayok; 3) Mr. Somwang Kamwajjanung who makes shaking angalung and row angalung with spring-assisted keyboard mechanism, living at 123 Moo 12, Tambon Pikoon-org, Amphur Banna, Nakhonnayok. The research findings reveal the method employed for making each of the following musical instruments. The process of making a gong comprises of 4 major steps: 1) pouring; 2) shaping; 3) tuning; and 4) drilling holes into the gong. The process of making a ranad-ek sheet comprises of 6 major steps: 1) classifying a ranad bar size; 2) smoothing and polishing the bars; 3) measuring the size of ranad sheet; 4) chiselling out the underside of the bars; 5) drilling holes into the bars for rope threading; and 6) tuning the bars. The process of making a ranad-toom sheet comprise of 6 major steps: 1) classifying a ranad bar size; 2) measuring the size of ranad sheet; 3) chiselling out the underside of the bars; 4) drilling holes into the bars; 5) tuning the bars; and 6) threading the bars with rope. The process of making a shaking angalung and a row angalung comprises of 4 major steps: 1) making angalung tubes; 2) making angalung sticks; 3) making angalung row; and 4) assembling angalung In conclusion, this research has encouraged Thai people to pursue a lifetime of learning associated with community-based education, which is an efficient means to conserve the practice of making Thai musical instruments, and to disseminate knowledge and information related to Thai musical instrument makers in Nakhonnayok to the public.

DOWNLOAD : กระบวนการผลิตเครื่องดนตรีไทย กรณีศึกษา ช่างทำเครื่องดนตรีไทยในจังหวัดนครนายก