Room Temperature Reduction by using Automatic Ceiling Hot-Air Ventilation

โดย นิติพงศ์  ปานกลาง, ศิริชัย  แดงเอม, กฤษณ์ชนม์  ภูมิกิตติพิชญ์ และบุญยัง  ปลั่งกลาง

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยนี้ นำเสนอ การพัฒนาระบบระบายอากาศร้อนเหนือฝ้าเพดานแบบอัตโนมัติช่วยในการลดการสะสมความร้อนที่เกิดขึ้นภายในช่องใต้หลังคา อันเนื่องมาจากการส่งผ่านความร้อนจากวัสดุมุงหลังคาลงได้ระบบระบายอากาศร้อนเหนือฝ้าเพดานแบบอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้น การควบคุมการทำงานทำโดยไมโครคอนโทลเลอร์ dsPIC30F2010 ที่มีความแม่นยำและความรวดเร็วในการคำนวณ การวัดอุณหภูมิอาศัยไอซีวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล DS1621 ซึ่งจะทำการวัดและแปลงค่าอุณหภูมิให้เป็นข้อมูลดิจิตอล 9 บิต เพื่อส่งข้อมูลผ่านบัส ณ2ฉ ให้กับไมโครคอนโทลเลอร์ dsPIC30F2010 นอกจากนั้น ระบบระบายอากาศร้อนเหนือฝ้าเพดานแบบอัตโนมัติจะทำงานโดยอาศัยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็ก เซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้มีขนาดพิกัดแรงดัน 12V กำลังไฟฟ้า 40W ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอให้กับระบบระบายอากาศร้อนเหนือฝ้าเพดานแบบอัตโนมัติให้ทำงานตลอด 7 วัน วันละ 24 ชั่วโมง ระบบระบายอากาศร้อนเหนือฝ้าเพดานแบบอัตโนมัติได้ถูกติดตั้งใช้งานจริง ณ บ้านดิน ของภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากการติดตั้งใช้งานและเก็บข้อมูลอุณหภูมิความชื้นสัมพันธ์และอุณหภูมิจุดน้ำค้างภายใต้ช่องหลังคาเหนือฝ้าเพดาน พบว่า ก่อนการติดตั้งระบบระบายอากาศร้อนแบบอัตโนมัติอากาศใต้หลังค่ามีอุณหภูมิสูงสุดเท่ากับ 33.5˚C  โดยระยะเวลาที่มีอุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่เวลา 13.09 น. จนถึงเวลา 13.46 น. หรือเท่ากับ 37 นาที ก่อนการติดตั้งระบบระบายอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอด 24 ชั่วโมงเท่ากับ 29.55 ˚C หลังการติดตั้งระบบระบายอากาศร้อนแบบอัตโนมัติ อากาศใต้หลังคามีอุณหภูมิสูงสุดเท่ากับ 33 ˚C ณ เวลา 14.47 น. จนถึงเวลา 15.17 น. หรือประมาณ 30 นาที อุณหภูมิที่ลดลงคิดเป็น 1.5% และระยะเวลาที่เกิดอากาศร้อนสะสมลดลง 19% อุณหภูมิเฉลี่ยตลอด 24 ชั่วโมงลดลงเหลือเท่ากับ 28.55 ˚C หรือลดลงประมาณ 3.4%

DOWNLOAD : การลดอุณหภูมิในอาคารด้วยระบายอากาศร้อนเหนือฝ้าเพดานแบบอัตโนมัติ