Analyzing Graduate Production Costs of Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย ศิริวรรณ วิบุลศิลป์

ปี     2551

บทคัดย่อ (Abstract)

การคำนวณต้นทุนการผลิตเป็นหนึ่งในมาตรฐานการจัดการทางการเงินที่สำคัญของภาครัฐในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ข้อมูลต้นทุนการผลิตนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดสรรงบประมาณ การจัดสรรวงเงิน การควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณและเพื่อการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงานแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนผลผลิตในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิตแต่ละคณะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยรวบรวมจากเอกสารและรายงานต่างๆ ตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิต และทำการปันส่วนค่าใช้จ่ายจากหน่วยต้นทุนสนับสนุนลงสู่หน่วยต้นทุนหลักนำต้นทุนที่ได้รับจากการปันส่วนไปรวมกับค่าใช้จ่ายจริงและค่าเสื่อมราคาในหน่วยต้นทุนหลักแล้วทำการคำนวณต้นทุนการผลิตบัณฑิตของแต่ละคณะในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผลการวิจัยพบว่า ในปี 2549 มีต้นทุนต่อหน่วยการผลิตบัณฑิตของคณะต่างๆ เรียงจากมากไปหาน้อย1ได้แก่ คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร180,176.101บาท คณะศิลปกรรม75,685.881บาท1คณะศึกษาศาสตร์164,659.401บาท1คณะวิศวกรรมศาสตร์ 52,094.921บาท1คณะนาฎศิลปและดุริยางค์145,651.991บาท1คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม145,103.801บาท1คณะคหกรรมศาสตร์42,042.13 บาท1คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน138,345.821บาท1คณะวิทยาศาสตร์136,197.271บาทคณะศิลปศาสตร์134,812.481บาท1คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์130,674.52 บาท1วิทยาเขตปทุมธานี 22,146.881บาท1และคณะบริหารธุรกิจ120,550.721บาท1ตามลำดับ1โดยมีต้นทุนเฉลี่ยรวมต่อหน่วยเท่ากับ 37,588.07 บาท1ในปี 2550 มีต้นทุนต่อหน่วยการผลิต บัณฑิตของคณะต่างๆ เรียงจากมากไปหาน้อย1ได้แก่1คณะเทคโนโลยีการเกษตร152,442.941บาท1คณะศิลปกรรมศาสตร์151,542.191บาทคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ 29,892.801บาท1คณะวิศวกรรมศาสตร์127,850.131บาท1คณะศิลปศาสตร์ 24,458.601บาท1คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม120,834.531บาท1คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 20,519.991บาท1คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์119,176.611บาท1คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน 18,245.811บาท1และคณะบริหารธุรกิจ112,619.021บาท1ตามลำดับ1โดยมีต้นทุนเฉลี่ยรวมต่อหน่วยเท่ากับ 22,666.76 บาท

โดยสรุป ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สำหรับการจัดทำงบประมาณประจำปีและนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจเพื่อการวางแผนและควบคุมการบริหารงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการการจัดการทางการเงินของภาครัฐ นอกจากนี้ หน่วยงานและมหาวิทยาลัยต่างๆ ยังสามารถนำต้นทุนการผลิตบัณฑิตไปเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาระบบบริหารงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมหาวิทยาลัยและประเทศชาติต่อไป

DOWNLOAD : Analyzing Graduate Production Costs of Rajamangala University of Technology Thanyaburi